ด้านความสามารถในการแข่งขันลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามการจัดลำดับของ WEF โดยรวมอยู่ในลำดับที่ 28 เท่ากับปี 2549 จากจำนวน 131 เขตเศรษฐกิจ แต่ยังมีจุดอ่อนด้านจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากต่อประชากรเทียบกับประเทศที่มีความพร้อมมากกว่าประเทศไทยในการเข้าสู่สังคมฐานความรู้ในอนาคต แหล่งข้อมูล :มติชนรายวัน 16 มกราคม 2551 : 20
TOP TEN Rank 10 Country การจัดลำดับจาก 131 ประเทศของ WEF : World Economic Forum
US American Competitiveness Initiative
Switzerland
Denmark
Sweden
Germany
Finland
Singapore
Japan
UK
Netherlands
ภาวะสังคม
สังคมไทยมีโครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดบริการทางสังคมในทุกรูปแบบ สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนจากร้อยละ 10.71 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 12.02 ในปี 2554 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้ต้องเตรียมความพร้อมของคนและระบบต่างๆ อาทิ บริการทางการแพทย์ เนื่องจากแบบแผนการเกิดโรคเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับอนาคตเพื่อการชราภาพ เป็นต้น
ด้านแรงงาน
การจ้างงานรวมยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่แรงงานไทยยังคงมีปัญหาการทำงานต่ำกว่าระดับและมีสมรรถนะค่อนข้างต่ำ แรงงานเกือบร้อยละ 60 ยังมีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาที่มีทักษะฝีมือต่ำ และมีความขาดแคลนกำลังคนระดับกลางที่มีคุณภาพ
ขณะที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงเพื่อสร้างและจัดการองค์ความรู้สนับสนุนและเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แหล่งข้อมูล
สภาพัฒน์รายงานภาวะศก.-สังคมปี"50 คุณภาพชีวิตคนไทยดี...สมรรถนะแรงงานต่ำ
โครงการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย NECTECอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
สถิติการใช้อินเตอร์เน็ตของวัยรุ่น
ในปี 2546 จำนวนครัวเรือนทั่วประเทศที่มีInternet ต่อ 100 ครัวเรือน คิดเป็น 4.4 (6 ล้านคน) ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร (2 ล้านคน) ในขณะที่ประชากรไทยมีประมาณ 60 ล้านคน แหล่งข้อมูล
สรุปข้อมูล IT พื้นฐานที่สำคัญของไทย Internet Map of Thailand