Tuesday, December 29, 2009

จัดหาก๊าซธรรมชาติปี 2552-2558

ที่ประชุมบอร์ด กพช. เห็นชอบ แผน จัดหาก๊าซธรรมชาติปี 2552-2558 รองรับความต้องการที่ขยายตัวทั้งภาคไฟฟ้า อุตสาหกรรมและขนส่ง

วันที่ 28 ธ.ค. นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า กพช. เห็นชอบแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ปี 2552-2558 เพื่อรองรับความต้องการก๊าซธรรมชาติ ที่จะเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของไทย จะอยู่ที่ 5,142 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2558 จากภาคการไฟฟ้า ตามแผนกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2551-2564 (พีดีพี 2007ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) โดยประมาณจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่จะเข้าระบบในปี 2552-2558 ประมาณ 6,890 เมกกะวัตต์ รวมถึงแผนการขยายการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งในภาคอุตสาหกรรม ที่อัตราเติบโตเฉี่ย 11% ต่อปี ภาคการขนส่ง อัตราเติบโตเฉลี่ย 23% ต่อปี และ การก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 รวมทั้งการก่อสร้างโรงแยกก๊าซอีเทนของ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ปตท. มีแผนจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากอ่าวไทย และนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งมีแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี)

นพ.วรรณรัตน์​ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งซอติก้าจากประเทศพม่า ซึ่งสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติในเชิงพาณิชย์ ได้ประมาณ 300 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แบ่งเป็นขายในประเทศพม่า 60 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเป็นสัญญาซื้อขายกับไทยในปริมาณที่เหลือ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยจะพัฒนาและพร้อมผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป นอกจากนี้ได้เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) การรับซื้อไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 3 จากประเทศลาว ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 440 เมกกะวัตต์ โดยได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำร่างเอ็มโอยู ที่เห็นชอบแล้วไปลงนามร่วมกับผู้ลงทุนต่อไป อีกทั้งเห็นชอบการเดินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดยให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ที่ครบวาระ 2 ปี ยังคงบริหารงานกองทุนฯ ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ตามระเบียบการส่งเงินและการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ทั้งนี้การดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปภายใต้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าซึ่งอยู่ในกำกับดุแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งอยู่ระหว่างร่างระเบียบคาดแล้วเสร็จเดือน ก.พ. 2553
แหล่งข้อมูล

Sunday, December 27, 2009

กูเกิลในไทย

เว็บไซต์ในไทย เทียบกับประเทศอื่นยังไม่เยอะ แต่คนที่เข้ามาทำคอนเทนต์มีความต้องการคอนเทนต์ดี ๆ อีกมาก สังเกตจากเวลาค้นหาข้อมูลจะหาคำตอบสักเรื่อง เว็บไซต์ที่จะให้บริการข้อมูลดีไม่ค่อยมี เราพยายามสร้างตรงนี้เป็นกูเกิลกูรูกลายพันธุ์จากตัวฟอรั่ม อย่างเว็บพันทิปก็มีข้อมูลดี ๆ แต่เวลาเสิร์ชไม่ค่อยพบ เพราะพันทิปไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ เรามองว่าเมืองไทยต้องการข้อมูลตรงนี้เพิ่มขึ้น กูรูเป็นอีกเครื่องมือที่มาตอบโจทย์ตรงนี้

การเลือกว่าจะนำบริการอะไรเข้ามาในไทย อย่างบริการกูรู เราวิเคราะห์ว่าจำนวนเว็บ จำนวนคอนเทนต์ของประเทศเป็นอย่างไร ซึ่งในไทยมีเว็บไม่มาก และเว็บที่มีประโยชน์จริง ๆ ก็ยังมีไม่มากเช่นกัน

ประเทศไทยถือเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ในการพัฒนา อยู่ในกลุ่มภาษาที่มีการพัฒนา 40 ภาษาแรก ที่มีการแปลเพื่อรองรับลูกค้า
อ่านรายละเอียด
สถิติเว็บไทย

Sunday, August 30, 2009

IBC101 2009

IBC101 Access to Library and Information Systems
NEXT CLASS is 30 November, 11.30 AM - 6.00 PM

Instructor
: Assoc.Prof.Dr.Namtip Wipawin
Contact address: nwipawin@gmail.com, Website: http://dekkid.blogspot.com IBC101 or http://dekkid.blogspot.com/search?q=IBC101

Objective:
The primary objective of the course is to develop students who are aware of the complex nature of the information environment and who can skillfully navigate their way through the information technology environment. This course will allow students to be able to identify information they need, to critically evaluate information, to organize information and to use information effectively.

Contents:
Chapter 1 : Data, Information, Knowledge, Wisdom
Exercise 1: Learning skills, How to use information to solve a problem.
1.What do you just read?
2.Why imagination is more important than knowledge?
3.Why do you seek for information?
4.What topic do you know best?Why?
5.What websites do you like most? Why?
Chapter 2: Information Literacy Skills.
Exercise 2: Using Big 6 skills
Chapter 3 : Sources of knowledge, libraries, etc.Exercise 3: Visit the library , how to use information.
1.Journal & Magazine
Give examples
2.DC & LC Classification
3. access the Library website : What is the Call number?
4.What are sources of knowledge? Identify as much as you know.
5.What do you read this week?
Chapter 4 : Reference sources
Exercise 4 : The difference of reference sources
Chapter 5 : Online catalog and databases
Exercise 5 : How to use online catalog and databases
Hotel database
Library Catalog
OPAC
e-Book, e-Journal
Chapter 6 : Report writing and citation
Exercise 6 : Write report and citation
Chapter 7 : Internet and useful websites
Exercise 7 : Pro. and Con. of Internet
Chapter 8 : Search engines and search tools
Exercise 8 : Comparing search tools
Web search engines
Web subject directories
Meta-Search engines

Chapter 9 : Evaluating Sources of Information
Methods:
Here are some methods of evaluation and testing:

Interview
Questionnaire
Observation
Discussion
Survey
Analysis of records and data
Evaluation: A practical guide to methods
Exercise 9 : Better information sources
Rubric Assessments
Chapter 10 : Information Technology
ICT Systems
ICT in education
IT tutorials
Information Age: Exercises
Exercise 10 : How to use IT to imporove learning skills
Chapter 11 : Information Systems
Exercise 11 : Examples of information systems
Go to the library database:
http://library.spu.ac.th/e-library/database.html
Find the case study of
Information Technology
Information System
Knowledge Management
Copyright & Fair Use
Bring the one case in your web blog to discuss with your teacher.
Chapter 12 : Knowledge Management
Exercise 12 : How to build a knowledge community
Chapter 13: Copyright and Fair Use
Exercise 13 : Case of copyright and fair use.
Chapter 14 : Information Packaging and Presentation.
Exercise 14 : Using information for good presentation skills

Evaluation: Exercises+Blog 20 marks, Midterm 20 marks, Final 60 marks.
Chapter 1 Data, Information, Knowledge, and Wisdom

DIKW
Information & Knowledge
Skills and Strategies for Effective Learning
Problem-Solving Skills
Learning skills
Chapter 2
What is Information Literacy? And why should I care?
Definition of IL

“Knowledge is of two kinds: We know a topic for ourselves, or we know where we can find information upon it”. – Dr. Samuel Johnson 1775

“To know where you can find anything that in short is the largest part of learning”. - Anonymous
Big6 Skills

Chapter 3 Sources of Knowledge
SPU Library
The purposes of the library are for information,education, research, inspiration, and recreation.
OPAC searching

What is OPAC?
An Online Public Access Catalog or OPAC is a computerized online catalog of the materials held in a library, or library system. The library staff and the public can usually access it at computers within the library, or from home. OPAC terminals began to replace card catalogs in many libraries in the 1980s. Since the mid-1990s, these systems have increasingly migrated to Web-based interfaces. OPACs are often part of an integrated library system. Source.
Library Classification
1.Library of Congress Classification (L.C.)

A -- GENERAL WORKS
B -- PHILOSOPHY. PSYCHOLOGY. RELIGION
C -- AUXILIARY SCIENCES OF HISTORY
D -- WORLD HISTORY AND HISTORY OF EUROPE, ASIA, AFRICA, AUSTRALIA, NEW ZEALAND, ETC.
E -- HISTORY OF THE AMERICAS
F -- HISTORY OF THE AMERICAS
G -- GEOGRAPHY. ANTHROPOLOGY. RECREATION
H -- SOCIAL SCIENCES
J -- POLITICAL SCIENCE
K -- LAW
L -- EDUCATION
M -- MUSIC AND BOOKS ON MUSIC
N -- FINE ARTS
P -- LANGUAGE AND LITERATURE
Q -- SCIENCE
R -- MEDICINE
S -- AGRICULTURE
T -- TECHNOLOGY
U -- MILITARY SCIENCE
V -- NAVAL SCIENCE
Z -- BIBLIOGRAPHY. LIBRARY SCIENCE. INFORMATION RESOURCES (GENERAL)
2. Dewey Decimal Classification (D.C.or DDC.) Compare L.C. and D.C.
The system is made up of ten main classes or categories, each divided into ten secondary classes or subcategories, each having ten subdivisions of its own. For a more detailed list, see List of Dewey Decimal classes.

000 – Computer science, information, and general works
100 – Philosophy and psychology
200 – Religion
300 – Social sciences
400 – Language
500 – Science
600 – Technology
700 – Arts and recreation
800 – Literature
900 – History and geography

Call number :An identification number, which identifies and locates material within a library.
Understanding Call number
a sample call number: QE534.2.B64



Exercises
Kate
Repeeporn
Sunisa
Varun
Suchada
**
***
Mantana
Nongnooch
Paphat
Witsanu
Bhumipat
Holger
Hooman
Sasima
Pattarakanda
Tamita
Thita
Vachareeya
Siriwan
Phanupong
Nitchuwan
Panpimol
Meradee
Nittaya
Sitthichok
Suttasinee
Rapeeporn
Sunisa
Emma
Vivian
Anna
Borpit
Watinee
Chalatda
Miranda
jinny
Bee Panida
Mac
Sutat
Panadda
Wirada
Pitima
Prabsuok
Prabsuok




Library Classification

Dewey Decimal Class
Library of Congress Class

The chart includes all ninety-nine second level (two-digit) DDC classes (040 is not assigned), and should include all second level (two-digit) LCC classes. Where a class in one system maps to several classes in other system, it will be listed multiple times (e.g. DDC class 551).

Dewey Decimal Classification -- high level categories, with links to lower level categories
Library of Congress Classification -- high level categories

ChartDDC LCC Description
000 A Generalities
010 Z1001-8999 Bibliography
020 Z665-718.8 Library & information sciences
030 AE General encyclopedic works
050 AI General serials & their indexes
060 AM111-160 General organization & museology
070 AN News media
070 PN4699-5650 Journalism
070 Z278-549 Publishing
080 AC General collections
090 Z105-115.5 Manuscripts
090 Z1019-1033 Rare books
100 B Psychology & Philosophy

Saturday, August 15, 2009

การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ

มติคณะรัฐมนตรี -- พฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2009 15:43:58 น.
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการส่งเสริมการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ
2. กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็นวันรักการอ่าน
3. กำหนดให้ปี พ.ศ. 2552 — 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน
4. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม
การส่งเสริมการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีสาระสำคัญดังนี้
1. วิสัยทัศน์ คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาความสามารถและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น ด้วยบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านเพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. พันธกิจ
(1) ปลูกฝังคุณค่าการอ่านทุกรูปแบบ เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้ และเรียนรู้ตลอดชีวิต แก่คนไทยทุกวัย
(2) พัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียน และสื่อสารเชิงคิด วิเคราะห์ของคนไทยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(3) พัฒนาสื่อ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างพื้นที่การอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
3. เป้าหมาย คนไทยได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ ภายในปี พ.ศ. 2555 โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
(1) ประชากรวัยแรงงานที่เป็นผู้รู้หนังสือในระดับใช้งานได้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 97.21 เป็นร้อยละ 99.00
(2) ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สามารถอ่านออกเขียนได้มีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95.00
(3) ค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือของคนไทยเพิ่มขึ้นจากปีละ 5 เล่ม เป็นปีละ 10 เล่มต่อคน
(4) แหล่งการอ่านได้รับการพัฒนาและเพิ่มจำนวนให้สามารถจัดบริการได้ครอบคลุมทุกตำบล/ชุมชน อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(5) การสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์
(1) พัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในด้านการอ่าน โดยรณรงค์การอ่านเขียนภาษาไทย ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย รวมทั้งบริหารจัดการและสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาความสามารถในด้านการอ่านของคนไทย
(2) พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน โดยปลูกฝังและสร้างทัศนคติคนไทยให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่านหนังสือและสื่อทุกรูปแบบ ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเป็นภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน และกำหนดมาตรการจูงใจให้ภาคีเครือข่ายร่วมส่งเสริมการอ่านในสังคมไทย
(3) สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่าน โดยแสวงหาภาคีเครือข่ายในการ เสริมสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม พัฒนาและเพิ่มจำนวนแหล่งการเรียนรู้ให้สามารถจัดบริการได้ครอบคลุมทุกตำบล/ชุมชน อย่างทั่วถึง ทันสมัย และมีคุณภาพ เพื่อทำให้การอ่านเป็นที่สนใจมากขึ้น
5. งบประมาณ
(1) งบประมาณสนับสนุนจากโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ
(2) งบประมาณปกติของหน่วยงานและภาคีเครือข่าย

แหล่งข้อมูล

งานมหกรรมรักการอ่านเฉลิมพระเกียรติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 ส.ค.) ที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นฮอลล์ เซ็นทรัลลาดพร้าว มีการจัดงานมหกรรมนวัตกรรมการอ่านเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านในเด็กและเยาวชนไทย จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติมหาราชินี โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. และที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ใน 75 จังหวัด พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งมหกรรมรักการอ่านที่จัดขึ้นนี้ จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอนจนประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากการสำรวจเรื่องนิสัยรักการอ่าน ปี 2551 พบว่า เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียน แต่เป็นหนังสือนอกเวลาเฉลี่ย 39 นาที และคนไทยทั่วประเทศอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อปี ดังนั้น การจัดกิจกรรมรักการอ่านหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะช่วยเพิ่มและสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นกับคนไทยได้อย่างทั่วถึง

นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทาน 10 กลวิธี สร้างนิสัยรักการอ่าน ได้แก่ 1.ใช้เวลาสบาย ๆ ของครอบครัว เพื่อส่งเสริมการอ่าน 2.เลือกหนังสือดีที่เด็กสนุก 3.ให้เด็กได้รู้เรื่องราวหลากหลายจากพหุวัฒนธรรม 4.มีกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด 5.ใช้ทักษะนาฎการในการเล่า 6.ใช้กิจกรรมศิลปะเชื่อมโยงกับการอ่าน 7.สอนให้รู้จักสกัดความรู้ และจับใจความสำคัญ 8.ต่อยอดจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 9.นำเด็กสู่โลกวรรณคดี และ 10.พัฒนาทักษะไพรัชภาษาพาสู่โลกกว้าง เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้นำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน สมเด็จพระราชินีฯ ยังได้ทรงพระราชวิจารณ์หนังสือไทยที่น่าอ่านสำหรับเด็กและเยาวชนไทย 6 เรื่อง ประกอบด้วย พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ทั้งนี้ ศธ.จะน้อมนำหนังสือที่พระองค์ได้ทรงพระราชวิจารณ์ จัดซื้อเข้าห้องสมุดประชาชน และห้องสมุดของ กศน.ทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้อ่านหนังสือดีที่มีคุณค่า.
แหล่งข้อมูล

Wednesday, July 22, 2009

สุริยุปราคา

สุริยุปราคา 2552
พ.ศ. 2552 มีอุปราคาเกิดขึ้นทั้งหมด 6 ครั้ง เป็นสุริยุปราคาสองครั้งและจันทรุปราคาสี่ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคากับสุริยุปราคาอย่างละสองครั้ง ครั้งสุดท้ายเกิดในคืนวันส่งท้ายปี 2552
สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดในช่วงสายของวันพุธที่ 22 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย เส้นทางสุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มต้นที่อินเดีย ผ่านประเทศจีน เกาะเล็ก ๆ ทางใต้ของญี่ปุ่น และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานกว่า 6 นาที ณ กึ่งกลางคราส (เปรียบเทียบกับสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยเมื่อปี 2538 ที่นานประมาณ 2 นาที) นับว่ายาวนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นสุริยุปราคาชุดซารอสเดียวกันกับสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2498 ซึ่งเห็นได้ในกรุงเทพฯ และสุริยุปราคาที่พาดผ่านเกาะฮาวายเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2534
เงามืดของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกตรงบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของประเทศอินเดียเมื่อเวลาประมาณ 7.53 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว ผ่านพื้นที่บางส่วนของเนปาล บังกลาเทศ ภูฏาน และตอนเหนือสุดของพม่า เข้าสู่ประเทศจีน ผ่านเฉิงตูในมณฑลเสฉวน และเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้
แหล่งข้อมูล
ประมวลภาพสุริยุปราคาทั่วโลก

Sunday, July 19, 2009

โครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิต


เรื่องนวัตกรรมห้องสมุด: บรรณารักษ์ยุคใหม่สร้างได้ในชาตินี้ วิทยากร:รศ ดร น้ำทิพย์ วิภาวิน

ห้องสมุดประชาชนเหล่านี้มีชีวิต

Tuesday, July 14, 2009

"พันธบัตรไทยเข้มแข็ง"

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 21:24:02 น. มติชนออนไลน์

"พันธบัตรไทยเข้มแข็ง"เกลี้ยงในพริบตา ผู้สูงอายุรอคิวแต่ไก่โห่ "มาร์ค"ถกครม.เพิ่มโควต้าขายคนทั่วไป

ขายหมดเร็วเกินคาดพันธบัตร"ไทยเข้มแข็ง" เกลี้ยง 3 หมื่นล้านบาท เพิ่มอีกเท่าตัวยังไม่พอ ผู้สูงอายุแห่จองแต่เช้ามืด สบน.แจงเหตุผิดพลาดทำคนต่อคิวเร็วอดซื้อ เพราะสาขาป้อนคำสั่งเข้าส่วนกลางช้าเลยไม่ได้ "อภิสิทธิ์"เล็งคุยครม.เพิ่มโควต้าขายคนทั่วไป

ผู้สูงอายุซื้อพันธบัตร3หมื่นล.เกลี้ยง
จากกรณีที่รัฐบาลกำหนดขายพันธบัตรไทยเข้มแข็ง 5 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ล็อต โดยล็อตแรกวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทขายให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป วันที่ 13-14 กรกฎาคม ล็อตที่ 2 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทเปิดขายให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปวันที่ 15-16 กรกฎาคม โดยทั้งสองล็อตจะกำหนดให้ซื้อขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท และไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนล็อตที่ 3 วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เปิดให้ประชาชนทั่วไป วันที่ 17-21 กรกฎาคม โดยไม่กำหนดเพดานการซื้อ แต่ปรากฏว่าการเปิดขายวันแรก 1.5 หมื่นล้านบาทสำหรับผู้สูงอายุหมดเกลี้ยงอย่างรวดเร็ว จนต้องนำวงเงินในส่วนล็อตที่ 3 มาสมทบ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็ขายหมดอย่างรวดเร็วเช่นกัน

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการเปิดจำหน่ายพันธบัตรไทยเข้มแข็งวันที่ 13 กรกฎาคมเป็นวันแรกว่า ได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก กระทรวงการคลังจึงตัดสินใจเพิ่มวงเงินอีกเท่าตัวคือ 1.5 หมื่นล้านบาท เป็น 3 หมื่นล้านบาท โดยโยกจากวงเงิน 2 หมื่นล้านบาทที่เตรียมขายให้กับประชาชนทั่วไปในวันที่ 17-21 กรกฎาคมนี้ และพบว่าจำหน่ายได้หมดทั้ง 3 หมื่นล้านบาทเช่นกัน โดยมีผู้สูงอายุทั่วประเทศ 4 หมื่นรายได้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งนี้ เฉลี่ยรายละ 6-7 แสนบาท อ่านรายละเอียด

Thursday, July 02, 2009

ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

คมชัดลึก : ศธ.ทุ่มกว่าหมื่นล้าน อัดฉีดมหาวิทยาลัยชั้นนำ 7-10 แห่ง ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เงื่อนไขต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอยู่ใน 500 อันดับแรกของ Time ระบุต้องผลิตงานวิจัยสนองพัฒนาชาติให้มากขึ้น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แถลงข่าวโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research Universities) ว่ากระทรวงต้องการเร่งพัฒนามหาวิทยาลัยไทยให้มีศักยภาพการทำวิจัยเพิ่มขึ้น จึงขอใช้งบเงินกู้กระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 (2553-2555) ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท อัดฉีดให้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีศักยภาพด้านวิจัย 7-10 แห่ง ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่มีขีดความสามารถระดับโลก (World-Class University) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า โครงการนี้จะสนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยที่ได้รับเลือก ไปดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของตัวเอง เพื่อเพิ่มสมรรถนะการผลิตผลงานวิจัยและผลิตบุคลากรด้านวิจัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ ตั้งเป้าไว้ว่า มหาวิทยาลัยที่เข้าโครงการต้องเบียดเข้าไปอยู่ใน 500 อันดับแรกของการจัดลำดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกโดย Times Higher Education-QS หรือหากมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ใน 500 อันดับแรกอยู่แล้ว ก็ต้องเลื่อนขั้นอยู่ในตำแหน่งดีขึ้น มหาวิทยาลัยต้องมีศูนย์วิจัยที่ได้รับการยอมรับอย่างน้อย 3 ด้าน

“โครงการนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านการทำวิจัยของมหาวิทยาลัย ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับรับแผนพัฒนาประเทศเป็นศูนย์กลางการศึกษาของ อีดูเคชั่น ฮับ ของภูมิภาคนี้“ รมว.ศึกษาธิการกล่าว

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า เปิดรับสมัครมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1-10 กรกฎาคม ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องติดอยู่ใน 500 อันดับแรกของ Times Higher Education-QS ประจำปี 2008 หรือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยในฐานะข้อมูลระดับนานาชาติไม่ต่ำกว่า 500 เรื่องใน 5 ปีล่าสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่นอย่างน้อย 2 ใน 5 สาขาของ Times Higher Education-QS และต้องมีสัดส่วนอาจารย์จบปริญญาเอกมากกว่า 40% จะประกาศคัดเลือกเดือนสิงหาคมนี้

ด้าน ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุดของ Times Higher Education-QS นั้น มีมหาวิทยาลัยติดอันดับ 7 แห่งจากทั้งหมด 165 แห่ง จุฬาฯ อันดับที่ 166 ม.มหิดล อันดับที่ 251 ม.เกษตรศาสตร์ อันดับที่ 400 ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ อยู่ในอันดับ 400-500 แหล่งข้อมูล

อนามัยโลกยันไข้หวัด2009 ยังรักษาได้ด้วย"ทามิฟลู"

อนามัยโลกยันหวัด2009 ยังรักษาได้ด้วย"ทามิฟลู"
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน นายดิ๊ก ทอมป์สัน โฆษกประจำสำนักงานองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังคงรักษาได้ด้วยยาทามิฟลู (โอเซลทามิเวียร์) ที่ผลิตโดยบริษัทโรช ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แม้จะมีรายงานก่อนหน้านี้ว่า มีผู้ป่วยชาวเดนมาร์กรายหนึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาดังกล่าวนี้ ก็ยังถือว่าเป็นกรณีดื้อยาที่เกิดขึ้นเพียงรายเดียว ยังไม่ส่งผลถึงกับทำให้ องค์การอนามัยโลกต้องเปลี่ยนแปลงคำแนะนำในการเยียวยาอาการของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่อย่างใด และไม่ได้แสดงให้เห็นว่าภาวะของโรคดังกล่าวในเวลานี้เลวร้ายลงกว่าเดิมเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกยังคงเตือนให้ทุกฝ่ายต้องระมัดระวังจับตาวิวัฒนาการของไวรัสเอช 1 เอ็น 1 ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ทุกเวลา

สถาบันเซรุ่มแห่งรัฐของทางการเดนมาร์กแถลงก่อนหน้านี้ว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวได้รับยาทามิฟลูเข้าไปและไม่ได้แสดงอาการตอบสนองต่อยาใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น จึงคาดว่าผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่กลายพันธุ์เป็นดื้อยาทามิฟลูไปเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยรายดังกล่าวยังคงตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาพ่นทางจมูก รีเลนซ่า (ซานามิเวียร์) และหายเป็นปกติดีแล้วในขณะนี้

อนึ่ง โรชประกาศในเวลาต่อมาว่า เตรียมเปิดโครงการผลิตและเก็บตุนทามิฟลูไว้ให้เพียงพอสำหรับการใช้ในประเทศกำลังพัฒนาโดยจะจำหน่ายให้ในราคาถูกเป็นพิเศษคือครึ่งหนึ่งของราคาจำหน่ายปกติในเวลานี้ ที่ราว 6 ยูโรต่อ 10 แค็ปซูล จากราคาปกติ 12 ยูโรต่อ10 แค็ปซูล (รอยเตอร์/เอเอฟพี)แหล่งข้อมูล

ประเทศไทยโดยองการเภสัชกรรม หรือ GPO ได้ผลิตยาโอเซลทามิเวียร์(Oseltamivir) ได้แล้วในประเทศไทย“โอเซลทามิเวียร์” เป็นชื่อสามัญ มีบริษัทโรชเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และผลิตยาตัวนี้ขายในชื่อการค้าว่า “ทามิฟลู” โดย อภ.ได้รับอนุญาตให้ผลิตยาต้านไวรัสตัวนี้ได้ในชื่อการค้าว่า “จีพีโอ-เอ-ฟลู” (GPO-A-Flu) ในราคาเม็ดละประมาณ 70 บาท หากสั่งซื้อจากต่างประเทศจะมีราคาเม็ดละ 100 กว่าบาท แต่การผลิตจีพีโอ-เอ-ฟลูต้องทำภายใต้สิทธิบัตรของบริษัทโรช และต้องจำหน่ายภายในไทยเท่านั้น เนื่องจาก 2 -3 ปีที่แล้วบริษัทโรชเห็นว่าไทยอยู่ในกลุ่มประเทศเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของ เชื้อไข้หวัดนก แหล่งข้อมูล

Wednesday, June 10, 2009

สาระสำคัญของงบประมาณปี 2553

เปิด"9ยุทธศาสตร์"งบฯปี"53

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจกจ่ายเอกสารร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 จำนวน 1.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ลดลงจากงบประมาณปี 2552 จำนวน 251,700 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 ซึ่ง ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 17 มิถุนายน

สาระสำคัญของงบประมาณปี 2553 อยู่ที่การวางยุทธศาสตร์ในการใช้งบประมาณใน 9 ด้าน ประกอบด้วย

1.ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นและการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ 144,591 ล้านบาท โดยจะเร่งดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและเอกชน โดยการสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีของคนในชาติ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การปฏิรูปการเมืองให้มีเสถียรภาพและมีธรรมาภิบาล การแก้ปัญหาความไม่สงบ โดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในสายตาโลก เป็นต้น

2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐ จำนวน 173,192 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เทิดทูน และพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตจำนวน 506,640 ล้านบาท เพื่อดำเนินการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ เพิ่มโอกาสการศึกษาให้กับประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยและต่อเนื่องตลอดชีวิต พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ เพิ่มโอกาสการมีงานทำของประชากรทุกกลุ่มทุกวัย จัดสวัสดิการสังคมให้ประชาชนมีคุณภาพที่ดี เป็นต้น

4.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวให้อย่างมีเสถียรภาพ จำนวน 158,707 ล้านบาท ภายใต้กรอบการดำเนินงานของกระทรวงการคลัง รักษาเสถียรภาพภาคการเงินและตลาดทุน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้านเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว บริการการตลาด การค้า และการลงทุน เป็นต้น

5.ยุทธศาสตร์การบริหารจักการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแเวดล้อมจำนวน 29,719 ล้านบาท เพื่อให้ทรัพยากธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการจัดการให้เกิดความสมดุล

6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 11,960 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิตและให้บริการได้อย่างเพียงพอ

7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 7,357 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ ในระดับอาเซียน รวมทั้งบทบาทไทยในเวทีโลก

8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 241,228.3 ล้านบาท ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมความเข้มแข็งของกลไกลการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

9.รายการค่าดำเนินการของรัฐ จำนวน 426,602 ล้านบาท เพื่อรับรองเหตุการณ์ในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น ร่วมทั้งการบริหารบุคลากรภาครัฐ
แหล่งข้อมูล

Sunday, April 19, 2009

การให้ทาน

การให้ทาน สูตรสำเร็จแห่งชีวิตคือทาน
โบราณจารย์ท่านสอนว่า การให้ทานมี 3 ลักษณะคือ ให้เพื่อสงเคราะห์ ให้เพื่ออนุเคราะห์ และให้เพื่อทำบุญ
การให้เพื่อสงเคราะห์และอนุเคราะห์ เรียกอีกอย่างว่า ให้แบบทำบุญ เพราะเป็นการให้เพื่อบุญคุณ หรือหวังผลตอบแทน เช่น เราให้ของขวัญ ให้รางวัล เลี้ยงข้าว เลี้ยงเหล้า แก่ใคร เราก็ว่าเราให้โดยไม่หวังผลตอบแทนอะไร แต่ในส่วนลึกแห่งดวงใจเรายังทวง "บุญคุณ" อยู่เงียบๆ อย่างน้อยก็อยากให้เขารู้สึกขอบบุญขอบคุณในน้ำใจไมตรีของเรา ลองคิดดีๆ จะเห็นเองครับ ถ้าเราไม่เข้าข้างตัวเองเกินไป
การให้อะไรแก่ใครแล้วหวังผลตอบแทน ไม่ถือว่าให้เพื่อทำบุญ ไม่ช่วยให้จิตใจสูงหรือสะอาดขึ้น เพราะแทนที่จะกะเทาะความโลภให้หลุดไปจากจิตสันดานกลับพอกให้หนาขึ้น ทำไปทำมา นักทำบุญแบบนี้จะกลายเป็นนักลงทุนหรือนักค้าบุญไปโดยไม่รู้ตัว อ่านรายละเอียด

Thursday, April 09, 2009

คุณภาพเด็กไทยโอเน็ตตกต่ำ

ศธ.ตื่นแก้คุณภาพเด็กไทยโอเน็ตตกต่ำ [8 เม.ย. 52 - 06:12]

จากการประกาศผลสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต ซึ่งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้เปิดให้นักเรียนยื่นเรื่องขอดูกระดาษคำตอบได้ในวันที่ 7 เม.ย.นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดช่วงเช้าวันที่ 7 เม.ย. มีนักเรียน ม.6 เดินทางมายื่นคำร้องขอดูกระดาษคำตอบอย่างต่อเนื่องประมาณ 200 คน ซึ่งผู้ที่ยื่นเรื่องในวันนี้ จะดูกระดาษคำตอบได้ในวันที่ 9 เม.ย.

ด้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สทศ. กล่าวว่า สทศ.จัดให้เด็กมาดูกระดาษคำตอบได้วันละ 400 คน และคาดว่าคงมีนักเรียนมาดูคะแนนประมาณ 400 คน นอกจากนี้ สทศ.ได้รับบัตรสนเท่ห์ว่า ในการสอบโอเน็ตนักเรียน ป.6 มีบางโรงเรียนครูบอกคำตอบเด็ก ซึ่ง สทศ.ก็ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบ และเมื่อผลการสอบออกมา หากพบว่ามีโรงเรียน 10 โรง ซึ่งคะแนนในปีนี้สูงแบบพรวดพราดและค่าคะแนนกระจุก ไม่กระจาย ซึ่งน่าสงสัยว่าจะมีการบอกคำตอบ สทศ.ได้ทำหนังสือถึง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาแล้ว และคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ได้ขอดูข้อมูลดังกล่าวด้วย

ด้านคุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการกพฐ. กล่าวว่า สาเหตุที่เด็กทำคะแนนโอเน็ตได้น้อย คือ 1. ความตั้งใจของเด็กที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย 2. เด็กยังไม่คุ้นเคยกับข้อสอบแนวคิดวิเคราะห์ 3. คุณภาพการเรียนการสอนของครูและสื่อการสอนยังไม่ดีพอ ในวันที่ 8 เม.ย. ทาง สพฐ.จะประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหานี้

ส่วนนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ยอมรับว่าคะแนนของเด็กไทยตกเกณฑ์และต้องได้รับการพัฒนา โดยในวันที่ 9 เม.ย.นี้ จะประชุมร่วมกับคณะกรรมการการเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนการสอน รายวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย โดยได้เพิ่มวิชาภาษาอังกฤษและสังคม เพื่อสรุปและเสนอให้ที่ประชุม ศธ.พิจารณาต่อไป ด้าน ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กล่าวว่า รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาคุณภาพครู ตั้งแต่กระบวนการผลิตโดยคัดเลือกคนดีคนเก่งมาเรียนครู ส่วน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คงถึงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะต้องลงมาดูแลคุณภาพการศึกษาด้วยตนเองแล้ว. แหล่งข้อมูล

Friday, April 03, 2009

G 20 มีมติอัดฉีดเงิน5ล้านล้าน$ กู้วิกฤติเศรษฐกิจ

บรรดาผู้นำโลกทั้ง 20 ประเทศในที่ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ 20 ประเทศ (จี20) ได้เสร็จสิ้นการประชุมร่วมกัน ด้วยการให้คำมั่นสัญญา อัดฉีดเงินก้อนใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จำนวน 5 ล้านล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องร่วมมือกันปราบปรามแหล่งหลบเลี่ยงภาษี และเข้าถึงระบบการจ่ายเงินของภาคธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมสุดยอดจี 20 ระบุว่า จะเพิ่มเติมเงินให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสถาบันการเงินหรือหน่วยงานด้านการค้าอื่นๆ จำนวนกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อให้นำไปช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระบุว่า ภายในปี 2553 กลุ่มจี20 จะใช้เงิน 5 ล้านล้านดอลลาร์รับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจ พร้อมทั้งชื่นชมว่าดำเนินการครั้งนี้คือการเริ่มต้นสร้างระเบียบโลกใหม่ และว่า บรรดาผู้นำทั้ง 20 ประเทศ สามารถตกลงกันได้ใน 6 ประเด็นใหญ่ๆ คือ การปฏิรูประบบธนาคาร, การแก้ปัญหาหนี้เสียของธนาคาร, การฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจโลก, การคุมเข้มด้านการตรวจสอบภาคการเงินทั่วโลก การช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ, การช่วยเหลือประเทศยากจนและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังเห็นพ้องให้มีการคุมเข้มในการตรวจสอบกองทุนเฮดจ์ฟันด์, ใช้มาตรฐานระบบบัญชีระหว่างประเทศ, ดำเนินการเพื่อปราบปรามแหล่งพักพิงของพวกหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่ยอมแจ้งข้อมูลเมื่อได้รับการร้องขอ

"โอบามา"ยกย่องสร้างจุดเปลี่ยนฟื้นศก.โลก

นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ยกย่องการประชุมสุดยอดจี 20 โดยกล่าวว่าการที่บรรดาผู้นำในที่ประชุม ต่างเห็นชอบในข้อตกลงต่าง ๆ ที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจ และป้องกันไม่ให้วิกฤติที่รุนแรงเช่นครั้งนี้เกิดขึ้นอีก ถือเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญนั้นใหญ่หลวง และจะนำมาซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจโลก และยังชื่นชมผู้นำประเทศในการประชุมจี 20 ที่ต่อต้านนโยบายกีดกันทางการค้า และสามารถประสานความแตกต่างทางความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ประธานาธิบดีโอบามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ข้อตกลงในที่ประชุมจี 20 บรรลุผล โดยเฉพาะการแก้ไขความเห็นที่แตกต่างกันของฝรั่งเศสและจีน เกี่ยวกับประเด็นการจัดการปัญหาเรื่องแหล่งหลบซ่อนภาษี

ฝรั่งเศส-เยอรมนีร่วมชื่นชมผลสำเร็จจี20

นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งก่อนหน้านี้เคยออกมาขู่จะเดินออกจากที่ประชุม หากผลการประชุมออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ ยอมรับว่าการประชุมครั้งนี้บรรลุผลอย่างน่าพอใจกว่าที่เขาคาดคิดไว้ และว่าหมดเวลาแล้วที่การดำเนินการของธนาคารและสถาบันการเงินจะเป็นความลับที่ไม่สามารถตรวจสอบได้อีกต่อไป

ขณะที่นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวว่า ที่ประชุมจี 20 ครั้งนี้ นำมาซึ่งการบรรลุข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ ที่ประชุมกลุ่มจี 20 เห็นชอบในมาตรการรับมือวิกฤติเศรษฐกิจร่วมกันมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มทุนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ อีก 2 เท่า เป็น 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ วางกฎระเบียบกับสถาบันการเงิน รวมถึงกิจกรรมของกองทุนเก็งกำไรต่าง ๆ ให้เข้มงวดมากขึ้น และดำเนินมาตรการเข้มงวดกับประเทศต่าง ๆ ที่ถูกใช้เป็นแหล่งหลบภาษี
แหล่งข้อมูล

Saturday, March 28, 2009

การบินไทยปิดฉากดอนเมือง (อีกครั้ง)

การบินไทยปิดฉากดอนเมือง

พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า เที่ยวบินสุดท้ายที่จะให้บริการที่สนามบินดอนเมืองวันที่ 28 มี.ค.2552 นี้คือเที่ยวบินทีจี 1047 จากขอนแก่น-ดอนเมือง โดยออกจากขอนแก่นเวลา 19.45 น. ถึงบินดอนเมือง เวลา 20.40 น. ส่วนเที่ยวบินสุดท้ายที่จะออกจากสนามบินดอนเมืองคือเที่ยวบิน ทีจี 1124 เส้นทางดอนเมือง-เชียงใหม่ ออกจากสนามบินดอนเมืองเวลา 22.15 น. ถึงสนามบินเชียงใหม่เวลา 23.25 น.

ส่วนเที่ยวบินที่เดิมต้องลงที่สนามบินดอนเมืองจำนวน 5 เที่ยวบินได้มีการย้ายมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิได้แก่ ทีจี 1015 เส้นทางอุดรธานี-สุวรรณภูมิ, ทีจี 1141 เส้นทางเชียงราย-สุวรรณภูมิ, ทีจี 1165 เส้นทางพิษณุโลก-สุวรรณภูมิ, ทีจี 1236 หาดใหญ่-สุวรรณภูมิ, ทีจี 1274 เส้นทางสุราษฎร์ธานี-สุวรรณภูมิ
โดยเที่ยวบินแรกที่จะออกจากสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 29 มี.ค. คือทีจี 020 เส้นทางบิน สุวรรณภูมิ-อุบลราชธานี ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 06.00 น. ถึงอุบลราชธานีเวลา 07.05 น.
อ่านรายละเอียด
ปิดดอนเมือง แห่อาลัยแน่น 2549

Wednesday, March 25, 2009

สารสกัด "พญายอ" มีสรรพคุณทำลายเชื้อเริม-งูสงัด

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิจัยพบสารสกัด "ใบพญายอ" มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรคเริม งูสวัด ช่วยแผลตกสะเก็ด หายเร็ว ลดอาการปวด ไม่มีผลข้างเคียง เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ อภ.ผลิตขายทดแทนนำเข้าจากต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรพญายอ ตั้งแต่ พ.ศ.2535 โดยศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบเสลดพังพอน และใบพญายอต่อเชื้อโรคเริม ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่าเฮอร์ปีส์ ซิมเพลกซ์ ไวรัสชนิดที่ 2 หรือเอชเอสวี-2 เปรียบเทียบกับยามาตรฐานและกลุ่มควบคุม สารสกัดจากใบตำลึง พบว่าสารสกัดจากพญายอมีฤทธิ์ทำลายไวรัสเอชเอสวี-2 ได้ แต่สารสกัดจากใบเสลดพังพอนและใบตำลึงไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว

"นอกจากนี้ ได้ทดลองทางคลีนิครักษาผู้ป่วยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ชนิดเอชเอสวี-2 ด้วยยาครีมที่พัฒนาจากสารสกัดจากใบพญายอ โดยทาบริเวณที่เป็นโรค พบว่าครีมพญายอมีประสิทธิภาพดี ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดความเจ็บปวดได้ดี และครีมพญายอไม่ทำให้แสบระคายเคืองที่แผล พร้อมกันนี้ได้ทดลองทางคลีนิคกับผู้ป่วยโรคงูสวัดจากเชื้อไวรัสวาริเซลล่า ซอสเตอร์ หรือวีแซดวี ด้วยยาเดียวกัน พบว่าครีมพญายอสามารถรักษาผู้ป่วยโรคงูสวัดได้ ทำให้แผลตกสะเก็ดหายเร็ว ลดอาการปวดได้ดี และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ จากการใช้ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการแสบระคายเคืองทาแล้วรู้สึกเย็นสบาย" นพ.มานิตกล่าว

นอกจากนี้ นพ.มานิตกล่าวว่า ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตครีมพญายอให้แก่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อผลิตออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมทดแทนยารักษาโรคเริมและงูสวัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ และยังมีโครงการวิจัยสมุนไพรพญายออย่างต่อเนื่อง เพื่อคัดเลือกส่วนสกัดจากพญายอที่บริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น อีกทั้งศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารจากพญายอ เพื่อพัฒนาเป็นยาใช้ภายในต่อไป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมนโยบายการพึ่งพาตนเองด้านสาธารณสุขของประเทศ

สำหรับสมุนไพรพญายอ หรือพญาปล้องทอง เป็นพืชที่หาได้ทั่วไป แพทย์พื้นบ้านใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกเริมและงูสวัด โดยใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเหล้าใช้ทาบ่อยๆ หรือใช้ 2-10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลกนำไปทา หรือพอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แต่ไม่สามารถใช้แก้พิษงูได้ แหล่งข้อมูล

Wednesday, March 11, 2009

คนที่มีระดับไอคิวสูงมีแนวโน้มมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพแข็งแรงกว่า

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก และสภาวิจัยทางการแพทย์ในกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ ได้ติดตามผลกลุ่มตัวอย่าง 7,414 คนทั่วประเทศเป็นเวลา 20 ปี ในการศึกษาที่ตอกย้ำว่าสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วยเช่นกัน
นักวิจัยชี้ว่าเวลาในการตอบสนองของคนเราเป็นมาตรวัดระดับความเฉลียวฉลาด ซึ่งในทางกลับกันถือเป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของร่างกาย หรือการประสานงานของอวัยวะส่วนต่างๆ
“ผลการศึกษาของเราบ่งชี้ว่าเวลาในการตอบสนอง ซึ่งบ่งชี้ถึงระดับสติปัญญา เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ซึ่งรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารอินเทลลิเจนซ์สัปดาห์นี้ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ให้ความสำคัญกับเวลาในการตอบสนองและการเสียชีวิต โดยเปรียบเทียบกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา
ผู้จัดทำรายงานระบุว่ามีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าคนที่มีระดับไอคิวสูงมีแนวโน้มมีชีวิตยืนยาวและสุขภาพแข็งแรงกว่า
แม้ข้อเท็จจริงนี้ส่วนหนึ่งสามารถอธิบายได้จากความแตกต่างของรูปแบบการใช้ชีวิต เนื่องจากคนฉลาดมีแนวโน้มน้อยที่จะสูบบุหรี่และน้ำหนักเกิน แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่มีคำอธิบายข้อแตกต่างอื่นๆ อีกหลายอย่าง
อาสาสมัครในการศึกษานี้ถูกติดตามผลมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 โดยมีการวัดเวลาในการตอบสนองด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับหน้าจอขนาดเล็กและปุ่มตัวเลขห้าปุ่ม
อาสาสมัครต้องกดปุ่มตัวเลขให้ตรงกับตัวเลขที่ปรากฏบนหน้าจอ โดยนักวิจัยจะวัดระยะเวลาในการตอบสนองและคำนวณค่าเฉลี่ยออกมา
นับจากนั้นจนสิ้นสุดการติดตามผลพบว่าอาสาสมัครเสียชีวิต 1,289 ราย ในจำนวนนี้มีสาเหตุจากโรคหัวใจ 568 ราย
จากนั้น นักวิจัยนำเวลาในการตอบสนองของผู้ที่เสียชีวิตและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ น้ำหนักตัว และปัจจัยอื่นๆ
ผลการศึกษาพบว่าคนที่ตอบสนองช้ามีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยด้วยสาเหตุต่างๆ เพิ่มขึ้น 2.6 เท่า การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเดียวที่เชื่อมโยงกับปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเสียชีวิต กล่าวคือทำให้อาสาสมัครมีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยเพิ่มขึ้น 3.03 เท่า
การออกกำลังกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ สัดส่วนเอวและสะโพก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และดัชนีมวลกาย มีผลต่อเรื่องนี้น้อยกว่า
ในบรรดาสาเหตุต่างๆ ของการเสียชีวิต โดยเฉพาะโรคหัวใจ เวลาในการตอบสนองเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดรองจากความดันโลหิต
นักวิจัยเชื่อว่าเวลาในการตอบสนอง ซึ่งเป็นมาตรวัดความเร็วของความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของสมอง อาจเป็นตัวบ่งชี้ระดับความสมบูรณ์ของระบบต่างๆ ในร่างกาย แหล่งข้อมูล

Friday, February 27, 2009

คุณภาพการอ่าน

คุณภาพการอ่าน ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการอ่านเร็วเท่านั้น และไม่สำคัญเท่ากับการที่ผู้เรียนสามารถย่อยแนวคิดด้วยความเข้าใจในเนื้อเรื่องและสามารถถ่ายทอดได้อย่างชาญฉลาด
This assumption indirectly evaluates students on the basis of their reading speed, a quality not necessarily as important as the ability to digest concepts and express them intelligently.
อ่านเพิ่มเติมที่ Assigned reading: quality, not quantity

เว็บค้นหาที่เป็นทางเลือกใหม่

เว็บค้นหาที่เป็นทางเลือกใหม่ (Alternative Search Engine) สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้คุณได้ผลลัพธ์ของสิ่งที่ต้องการค้นหาได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น หารูปก็จะได้รูป หาเพลงก็จะได้ฟังเพลง หาเอกสารก็จะได้ไฟล์ PDF โดยที่ไม่ต้องคลิกสารพัด
ค้นหาเพลง www.songza.com
www.midomi.com
ค้นหารูป www.compfight.com
www.spffy.com
ค้นหาเอกสาร www.data-sheet.net
ค้นหาวิดีโอ www.truveo.com
ค้นหาแบบมีรสชาติ www.viewzi.com
แหล่งข้อมูล

มูลนิธินวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจัดอันดับให้ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการคิดค้นนวัตกรรม

มูลนิธินวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจัดอันดับให้ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการคิดค้นนวัตกรรมและมีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลกประจำปี 2009 ดึงเกาหลีใต้ลงมาอยู่อันดับ 5 เหนือกว่ายักษ์ใหญ่สหรัฐอเมริกาที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 ขณะที่แดนปลาดิบคว้าอันดับ 9 ในครอง

มูลนิธิ Information Technology and Innovation Foundation หรือ ITIF ประกาศอันดับประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยนอกจากสิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ประเทศอื่นๆที่ถูกจัดให้อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลกประจำปี 2009 ได้แก่ อันดับที่ 2 สวีเดน, อันดับ 3 ลักเซมเบิร์ก, อันดับ 4 เดนมาร์ก, อันดับที่ 7 ฟินแลนด์ อันดับที่ 8 อังกฤษ และอันดับที่ 10 คือเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือ North American Free Trade Agreement (NAFTA) ซึ่งคลุมพื้นที่ประเทศแคนนาดา เม็กซิโก และสหรัฐฯ

ประเทศใหญ่ๆในเอเชียแปซิฟิกนั้นถูกจัดอยู่ใน 40 อันดับแรก ได้แก่ ออสเตรเลีย อันดับที่ 19, จีน อันดับที่ 33 ขณะที่อินเดียอยู่ในอันดับที่ 40 โดย 15 ประเทศยุโรปตะวันตกในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือที่เรียกรวมว่า EU-15 นั้นถูกจัดเป็นอันดับที่ 18

ITIF เป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยการจัดอันดับประเทศชั้นนำด้านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นนั้น ITIF พิจารณาจาก 16 ประเด็นก่อนจะนำคะแนนมาคำนวณเป็นดัชนีเพื่อจัดอันดับ ได้แก่ ความสามารถของทรัพยกรบุคคล ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรม การระดมทุน โครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพการจัดการระบบเศรษฐกิจในประเทศ

จุดนี้ ITIF ระบุว่า หากรวบรวมดัชนีคะแนนตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 1999-2009) ประเทศจีนกลับได้คะแนนสูงสุด เหนือกว่าสหรัฐฯที่คิดเป็นลำดับที่ 40 โดยสิงคโปร์จะอยู่ในอันดับ 2 ตามมาด้วยลิธัวเนีย เอสโทเนีย เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ก สโลวาเนีย รัสเซีย ไซปรัส และญี่ปุ่น โดยประเทศอินเดียได้อันดับที่ 14 เกาหลีใต้อยู่ที่ 17 และออสเตรเลียในอันดับที่ 32

ขณะที่ประเทศกลุ่มยุโรป EU-15 นั้นถูกจัดเป็นอันดับที่ 28 หากคำนวณคะแนนตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา

ร็อบ แอดคินสัน (Rob Atkinson) ประธาน ITIF ให้ความเห็นว่า การศึกษาครั้งนี้ยึดหลักพิจารณาความสามารถในการแข่งขันและการคิดค้นนวัตกรรมของแต่ละประเทศโดยใช้ปัจจัยหลายส่วนประกอบกัน ไม่ได้พิจารณาเฉพาะความสามารถด้านเศรษฐกิจหรือนโยบายอย่างเดียว ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากในภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน

แอดคินสันบอกว่า แม้ที่ผ่านมาสหรัฐฯจะมีศักยภาพในทุกด้านดีมากหากเทียบกับประเทศอื่นๆในโลก แต่การศึกษาพบว่ามีประเทศมากมายรวมถึงยุโรปที่มีพัฒนาการรวดเร็วกว่าสหรัฐฯ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เชื่อว่าประเทศในกลุ่ม EU-15 จะสามารถแซงหน้าสหรัฐฯในแง่ความสามารถด้านการแข่งขันเชิงนวัตกรรมได้ภายในปี 2020 หรืออีก 11 ปีข้างหน้า

ไม่ใช่เพียงยุโรป กลุ่ม ITIF ระบุว่า 39 ประเทศที่เหลือใน 40 อันดับสุดยอดประเทศนวัตกรรมล้วนพัฒนาองค์ความรู้และเศรษฐกิจเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เร็วกว่าสหรัฐฯ แน่นอนว่าผลที่เกิดขึ้นคือ ความสามารถในการแข่งขันเชิงนวัตกรรมของสหรัฐฯกำลังจะถึงช่วงขาลงหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป แหล่งข้อมูล

Wednesday, February 25, 2009

โครงการ "ตู้อักษร ซ่อนปัญญา"

นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.มติชน กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ดำเนินกิจการเข้าสู่ปีที่ 32 จึงร่วมมือกับมูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ มูลนิธิ บรรจง พงศ์ศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ และกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม จัดทำโครงการ "ตู้อักษร ซ่อนปัญญา" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือแก่เยาวชน และสนับสนุนหนังสือที่ดีมีคุณภาพแก่ห้องสมุดโรงเรียนที่ขาดแคลน โดยเน้นโรงเรียนที่เกณฑ์การศึกษาต่ำกว่ามาตรฐาน จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งประสาน สพฐ.เพื่อเสาะหาโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เบื้องต้น 100 แห่ง

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน เพื่อซื้อหนังสือและตู้ โรงเรียนละ 1 ตู้ ตู้ละ 25,000 บาทนั้น ล่าสุดมียอดเมื่อวันที่ 24 ก.พ.พบว่ายอดบริจาคสูงถึง 5,664,898 บาท โดยสามารถบริจาคได้ถึง 226 โรงเรียน โดยเบื้องต้นมีความพร้อมในการส่งมอบหนังสือและตู้แก่โรงเรียน 100 แห่งแรก จึงจัดพิธีส่งมอบในวันนี้ก่อน ส่วนโรงเรียนที่เหลือคาดว่าจะได้รับภายในมีนาคมนี้

ด้านนายจุรินทร์ กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกดีใจที่เข้ามาเป็นส่วนร่วมในโครงการ โดยเป็นหนึ่งในผู้บริจาค ซึ่งโครงการนี้นอกจากจะช่วยเหลือการศึกษาและส่งเสริมการอ่านแล้ว ยังเป็นการระดมความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมต่อการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการส่งเสริมการอ่านนั้น ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่ง โดยในสัปดาห์หน้าตนจะลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริงไปตลอดชีวิต

"ขอฝากผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกท่านที่ได้รับหนังสือพร้อมตู้ที่ไปตั้งในสถานที่ศึกษา ให้บริหารจัดการด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะ ทำให้เด็กรักหนังสือ รักที่จะศึกษาหาความรู้และได้รับประโยชน์สูงสุดจาก ตู้อักษร ซ่อนปัญญา นี้ ตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาคและเจ้าของโครงการ" นายจุรินทร์ กล่าว

ขณะที่นายวินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สพฐ.รู้สึกซาบซึ้งในโครงการดังกล่าว จากที่รับบริจาคจนได้เกินกว่าเป้าหมาย เพราะทราบว่าโครงการนี้ เบื้องต้นจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 100 โรงเรียนทั่วประเทศ แต่เมื่อประสานมาทาง สพฐ.เพื่อขอรายชื่อโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ทางเราก็ดำเนินการจนแล้วเสร็จ นอกจากนี้ ขอฝากถึงผู้เกี่ยวข้องขอให้นำสิ่งที่ได้รับบริจาคไปนั้น นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนให้มากที่สุด แหล่งข้อมูล

Monday, February 23, 2009

การประชุมสุดยอดอาเซียน

Asean Summit, Thailand 2009
ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้

มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540
การที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำในปีนี้ จึงเป็นการย้อนรำลึกถึงถิ่นกำเนิดของอาเซียน และเป็นการเริ่มต้นโฉมหน้าใหม่ของอาเซียนหลังจากการมีผลบังคับใช้กฏบัตรอาเซียนตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551

หัวข้อหลักการประชุมของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ "กฏบัตรอาเซียนสำหรับประชาชนอาเซียน" โดยต้องการให้ประชาชนอาเซียนเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งหมายถึงต้องการให้ความร่วมมือในกรอบต่างๆ ของอาเซียนอำนวยประโยชน์ให้กับประชาชน ซึ่งประกอบไปด้วยหัวย่อยอีก 3 หัวข้อ ได้แก่
1. มุ่งสู่การสร้างชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
ไทยจะใช้โอกาสนี้ในการวางรากฐานในการไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยผลักดันกลไกการทำงานในหน้าที่ใหม่ของอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน รวมทั้งการวางรากฐาน 3 เสาหลักของสภาประชาคมอาเซียนและการจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา

ยกร่างการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายในปลายปีนี้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้
เสริมสร้างความเข้มแข็งของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งในแง่งบประมาณและบุคคลากร เพื่อให้อาเซียนสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มความสามารถและเต็มความรับผิดชอบ ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียน
สร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยนายกรัฐมนตรีและผู้นำอาเซียนจะพบปะพูดคุยกับตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ที่มีความหลากหลาย อาทิ ตัวแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ตัวแทนเยาวชน และตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคม
2. การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยคุกคามของโลกประเทศไทยต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามของโลก โดยการสร้างความเข้มแข็ง
ด้านความมั่นคงของมนุษย์ในมิติต่างๆ ในชุมชนอาเซียนเพื่อให้สามารถลดสิ่งที่กระทบความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน รวมถึงการยกประเด็นของความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และการบริหารจัดการภัยพิบัติ

3. การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในภูมิภาคเสริมสร้างความพยายามในการสร้างชุมชนอาเซียน อาเซียนจะสนับสนุนให้อาเซียนเป็นศูนย์กลาง
ในการวิวัฒนาการโครงสร้างของภูมิภาค การประชุมสุดยอดผู้นำจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับอาเซียน ในการแสดงต่อประชาคมโลกว่า อาเซียนยังคงหนักแน่น สมาชิกทั้ง 10 ประเทศเป็นส่วนที่สมบูรณ์ของชุมชนเอเชียตะวันออกที่กว้างขึ้น และยังคงเป็นกลจักรสำคัญของการเติบโตในเศรษฐกิจโลกต่อไป
แหล่งข้อมูล

ธนาคารโลกทำวิจัย 150 ประเทศ วัดดัชนีระบบโลจิสติกส์

เนื่องระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะเป็นระบบที่ผลักดันให้เกิดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น โดยจะช่วยทางด้านต้นทุนในการประกอบการของธุรกิจให้ลดต่ำลง (Cost Reduction) การตอบสนองลูกค้าได้ถูกต้องและรวดเร็ว (Responsiveness & Reliability) ซึ่งจะทำให้ศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศสูงขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านเคลื่อนย้ายสินค้าได้รวดเร็ว นอกจากนี้ อุตสาหกรรมกรรมทางด้านโลจิสติกส์ยังก่อให้เกิดการจ้างงาน และช่วยการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นโดยตรง

ดังนั้นการสร้างระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ภาคธุรกิจของประเทศรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้

ทั้งนี้ การประเมินทางด้านประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ และผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่จำเป็นในกระบวนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เนื่องจาก จะเป็นการบ่งชี้แนวทางการพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ดัชนีชี้วัดทางด้านประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index) หรือเรียกย่อๆว่า LPI จะเป็นมาตราฐานสำคัญที่จะช่วยให้การประเมินการชี้วัดประสิทธิภาพในแต่ละด้านของการพัฒนาให้เป็นไปในทางที่มีมาตรฐานและสามารถนำไปพัฒนาข้อด้อยและปัญหาที่ของระบบโลจิสติกส์ในแต่ละด้านได้ตรงจุด เพื่อประโยชน์ที่ได้รับของการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหน่วยงานใดในประเทศไทยที่กำหนด LPI ของประเทศและ LPI ของผู้ประกอบการทางด้านโลจิสติกส์ในประเทศไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีองค์กรระหว่างประเทศซึ่งได้แก่ ธนาคารโลก (World Bank) ได้จัดทำดัชนีดังกล่าวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2550 โดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องขีดความสามารถทางด้านการแข่งขันของระบบโลจิสติกส์ของ
ประเทศต่างๆ

ธนาคารโลกได้กำหนดปัจจัยต่างๆในการวัด LPI ไว้ 7 ปัจจัย ได้แก่
1) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานพิธีการต่างๆของศุลกากร
2) คุณภาพด้านการขนส่ง ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
3) ความง่ายในการจัดการการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ
4) ความสามารถของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศ
5) ความสามารถในการสืบค้นสินค้าระหว่างมีการขนส่งทางเรือ
6) ต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศ และ
7) การส่งสินค้าถึงที่หมายตรงเวลา

ทั้งนี้ธนาคารโลกได้ทำการวิจัยกับประเทศทั้งหมด 150 ประเทศ และได้ทำการจัดลำดับ LPI ของแต่ละประเทศไว้ได้อย่างน่าสนใจ ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่า เป็นประเทศที่มีศักยภาพทางโลจิสติกส์สูงที่สุดได้แก่ประเทศ
อันดับที่ 1 สิงค์โปร์ โดยหลังจากวัดผลจาก 7 ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศสิงค์โปร์ ได้คะแนนรวม 4.19 จากคะแนนเต็ม 5
อันดับที่ 2 ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้คะแนน 4.18
อันดับที่ 3 ได้แก่ ประเทศเยอรมนี คะแนน 4.10
ตามมาด้วยประเทศ สวีเดน ออสเตรีย โดยได้อันดับที่ 4 และ 5 ตามลำดับ
สำหรับประเทศอื่นในทวีปเอเชียที่ได้คะแนน LPI สูงที่สุดได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 6

เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศยักษ์ใหญ่ซึ่งถือเป็นมหาอำนาจของโลกอย่าง ประเทศสหรัฐอเมริกากลับได้ LPI อยู่ในอันดับที่ 14 โดยประเทศยักษ์ใหญ่อีกประเทศซึ่งได้แก่ ประเทศจีนได้รับการจัดอันดับ LPI จากธนาคารโลกอยู่ในอันดับที่ 30 แต่ก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า ถึงแม้ประเทศจีนจะเป็นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีน กลับยังไม่ทันสมัยเท่าที่ควร กิจกรรมทางโลจิสติกส์ส่วนมาก ยังคงเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการและควบคุมโดยรัฐบาล


ประเทศที่น่าสนใจอีกประเทศคือมาเลเซีย มาเลเซียถือว่าเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกับประเทศไทย โดยที่เราเองก็พยายามที่จะแข่งขันกับมาเลเซียในหลายๆ ด้าน บางครั้งเราอาจจะเห็นหลายหน่วยงานออกมากล่าวว่า ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในด้านต่างๆมากว่า มาเลเซีย แต่ถ้าเราดูจาก LPI ที่ธนาคารโลกจัดอันดับมา จะเห็นได้ว่า มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 27 โดยได้คะแนนรวม 3.48


ในขณะที่ ไทยเรารั้งอันดับที่ 31 โดยได้คะแนนรวม 3.31 ดังนั้น ถ้าสรุปแบบง่ายๆจากอันดับที่ธนาคารโลกจัด อย่างน้อยเราก็มีเรื่องประสิทธิภาพทางโลจิสติกส์อย่างหนึงแล้ว ที่ด้อยกว่าประเทศมาเลเซีย คราวนี้ มาดูในรายละเอียดกันซักนิดนะครับ ว่าคะแนนในแต่ละปัจจัยของประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้างจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน


1. ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงานพิธีการต่างๆของศุลกากรได้ 3.03 คะแนน
2. ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ 3.16 คะแนน
3. ปัจจัยด้านการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศได้ 3.24 คะแนน
4. ปัจจัยด้านความสามารถของอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ภายในประเทศ ได้ 3.31 คะแนน
5. ปัจจัยด้านความสามารถในการสืบค้นสินค้าระหว่างมีการขนส่งทางเรือได้ 3.25 คะแนน
6. ปัจจัยด้านต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศ ได้ 3.21 คะแนน
7. ปัจจัยด้านการส่งสินค้าถึงที่หมายตรงเวลา ได้ 3.91 คะแนน

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้คะแนนในปัจจัยข้อแรกน้อยที่สุด ซึ่งเราอาจจะสรุปได้ว่า ธนาคารโลกมองว่า พิธีการด้านศุลกากรของไทยยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และควรปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยด้านความสามารถในการสืบค้นสินค้า ยังเป็นอีก 2 ปัจจัยที่ธนาคารโลกมองว่าประเทศไทยยังคงต้องพัฒนา โดยต้องมุ่งเน้นพัฒนาทั้งทางด้านการคมนาคม และทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือถือว่ าประสิทธิภาพของระบบลอจิสติกส์ของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ แหล่งข้อมูล

Sunday, February 08, 2009

3 จีเมืองไทยยังคงต้องรอ

3 จีเมืองไทยยังคงต้องรอ 8 กุมภาพันธ์ 2552 กองบรรณาธิการไทยโพสต์

เริ่มมีการส่งสัญญาณที่ดีออกมาในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมบ้างแล้ว เมื่อการประชุมของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.ในวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา

ที่ได้ใช้ระยะเวลาการประชุมถึง 8 ชั่วโมง จนในที่สุดก็ได้เคาะเลือกใช้วิธีการประกวดราคา (ออกชั่น) ในการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาพัฒนาการให้บริการ 3 จี เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่มีความโปร่งใสมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่นอย่างมาก่อนได้ก่อน (First com e first serve) เลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแล้วยื่นประกวดราคา (Beauty Contest) และไฮบริด หรือวิธีผสมระหว่างบิวตี้ คอนเทสต์ และออกชั่น

นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการ กทช.กล่าวว่า กทช. จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะใช้วิธีไหน เพราะแต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เช่น บิวตี้ คอนเทสต์ มีข้อเสียคือ อาจถูกมองว่าลำเอียงหรือคอรัปชั่นได้ง่าย ขณะที่การประมูลนั้นจะเป็นการตีราคาคลื่นเองของผู้ขอใบอนุญาต ซึ่งหากคลื่นมีราคาแพง จะเป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการต้องรับภาระค่าบริการที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ทั้งนี้ หลังจากออกหลักเกณฑ์ต่างๆ แล้ว จะต้องผ่านขั้นตอนการประชาพิจารณ์ และคาดว่าจะสามารถออกใบอนุญาตได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้

ทั้งนี้ เบื้องต้น กทช.จะมอบใบอนุญาต 3 จีเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป โดยผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องมีคุณสมบัติเป็นนิติบุคคลไทยตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ได้กำหนดไว้ แต่รายละเอียดในส่วนต่างๆ เช่น จำนวนผู้ที่จะได้รับใบอนุญาต จากที่คาดว่าจะสามารถให้ใบอนุญาต 4 ราย คือ รายใหม่ 1 ราย ส่วนที่เหลือเป็นรายเก่า โดยแบ่งคลื่นที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 10 เมกะเฮิรตซ์ 3 ราย และ 15 เมกะเฮิรตซ์อีก 1 ราย รวมไปถึงการพิจารณาระยะเวลาของใบอนุญาตให้ชัดเจนมากกว่านี้ แผนการลงทุนของผู้รับใบอนุญาต วีธีการชำระหนี้การประมูล รวมถึงต้นทุนการกำกับดูแล ที่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปออกมา ซึ่งสำนักงาน กทช.คาดใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ข้อมูลดังกล่าวน่าจะครบถ้วน

นอกจากนี้ ขณะนี้สำนักงาน กทช.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกันกับมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยชาร์มเมอร์ สวีเดน เพื่อกำหนดราคาขั้นต่ำของคลื่น 3 จี ซึ่งเรื่องนี้ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช.กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กทช.มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกวิธีจัดสรรคลื่นความถี่ผ่านการประมูล ซึ่งต้องมีการกำหนดราคากลางไม่สูงหรือต่ำไป เพราะจากการศึกษาการกำหนดราคาที่สูงเกินไป หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ผู้ประกอบการก็ต้องคืนใบอนุญาต ผลกระทบก็จะตกอยู่กับผู้บริโภค ในขณะที่ถ้าราคาใบอนุญาตมีราคาต่ำเกินไป รัฐจะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ และตกเป็นข้อครหา ดังนั้น กทช.ต้องคำนวณจากหลายตัวแปร

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจากการตัดสินใจจัดสรรคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิรตซ์ล่าช้าได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการมือถืออย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้นำร่องทดลองบริการ 3 จีบนคลื่นความถี่เดิมย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ในจังหวัดเชียงใหม่และสยามพารากอน ในขณะที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ก็เตรียมพัฒนาให้บริการ 3 จีบนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์เช่นกัน ระหว่างรอ 3 จีบนคลื่นใหม่

ในที่สุดทุกคนยังคงต้องนอนรอ 3 จีคลื่นใหม่อยู่ดี ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับว่า กทช.จะสามารถสรุปรายละเอียดและกรอบต่างๆ ได้เร็วหรือไม่ โดยเฉพาะเอกชนที่คาดหวังไม่น้อย ต่างผิดหวังและบ่นกันอุบถึงผลสรุปของ กทช.ที่ถึงแม้จะมีข้อสรุปโดยเลือกใช้วิธีประมูลก็ตาม แต่รายละเอียดส่วนต่างๆ ก็ยังไม่ชัดเจนทั้งๆ ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาเรื่องดังกล่าวมาไม่น้อย เพราะถ้าพูดถึงข้อดีของการมีบริการ 3 จีในขณะนี้ นอกจากเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์แล้ว ยังส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการที่อยู่ต่างจังหวัดที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ ในระหว่างที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ก็ยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในเมืองและสังคมต่างจังหวัด

สุดท้าย 3 จีจะเป็นไปตามแผนที่ กทช.กำหนดไว้หรือไม่ คือ มอบใบอนุญาตได้ภายในปีนี้ และสามารถให้บริการ 3 จีได้ประมาณปี 2553 คงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่น้อย ประกอบกับถ้า กทช.สามารถพิจารณาเรื่องหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (ไวแมกซ์) และเลขหมายเดียวทุกระบบ (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) เพื่อให้ทันในปีนี้เช่นกัน คงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่น้อย และคงเป็นจุดเปลี่ยนให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไอทีให้กระเตื้องขึ้นอีกรอบหลังจากหยุดนิ่งมานาน.

Friday, January 16, 2009

สุนทรพจน์ประธานาธิบดีสหรัฐ

แผนงานของประธานาธิบดีสหรัฐหลังพ้นตำแหน่ง คือ สร้างห้องสมุด และเขียนหนังสือ
Bush's new to-do list: build library, write memoirs
He plans to open a presidential library and a policy center at Southern Methodist University in Dallas and write his take on the major events that shaped his presidency -- the wars in Iraq and Afghanistan and the Sept. 11, 2001 attacks on the United States.
The planned $300 million Bush Presidential Center at Southern Methodist University, to be designed by Robert A.M. Stern, dean of the Yale University School of Architecture, will be a draw for any historian researching the Bush presidency.

The library itself will be operated by the National Archives, but the library's planned policy center, called the Freedom Institute, has drawn some criticism as a potential mouthpiece for Bush's conservative agenda.(Source)
อ่านรายละเอียด The Bush retirement plan: build library, enjoy perks

สุนทรพจน์ประธานาธิบดี George Bush
George W Bush's final speech: Full transcript
....
In citizens like these, we see the best of our country - resilient and hopeful, caring and strong. These virtues give me an unshakable faith in America. We have faced danger and trial, and there is more ahead. But with the courage of our people and confidence in our ideals, this great nation will never tire … never falter … and never fail.

It has been the privilege of a lifetime to serve as your president. There have been good days and tough days. But every day I have been inspired by the greatness of our country and uplifted by the goodness of our people. I have been blessed to represent this nation we love. And I will always be honored to carry a title that means more to me than any other: citizen of the United States of America.

And so, my fellow Americans, for the final time: Good night. May God bless this house and our next president. And may God bless you and our wonderful country
Source

Thursday, January 15, 2009

จัดอันดับสนามบินที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด

สนามบิน 4 แห่งในเอเชีย "ฮ่องกง-สิงคโปร์-มาเลเซีย-เกาหลีใต้" คว้าสนามบินดีที่สุดในโลก ส่วน"สุวรรณภูมิ"อยู่ในระดับปานกลาง 3 ดาว ขณะที่สนามบินสหรัฐและยุโรป ครองตำแหน่งแย่สุดในโลก ชาร์ลส์ เดอ โกล ของฝรั่งเศสขึ้นชื่อพนักงานหยาบคาย-แผนผังมั่ว-อาหารแพง

ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ในการจัดอันดับสนามบินที่ดีและแย่ที่สุดในโลกประจำปี 2008 จัดโดยสกายแทร็กซ์ บริษัทให้คำปรึกษาการวิจัยชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมการบินและสนามบิน พบว่าสายการบินที่ดีที่สุดในโลก ได้แก่ สนามบินนานาชาติฮ่องกง, สนามบินชางงีของสิงคโปร์, สนามบินอินชอนของเกาหลีใต้, สนามบินกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย และสนามบินมิวนิกของเยอรมนี โดยสนามบินฮ่องกงติดอันดับดีที่สุดติดต่อกัน 10 ปีแล้ว เนื่องจากมีความโดดเด่นตรงที่การตกแต่งสนามบินใช้ศิลปะน้อยชิ้นแต่มีคุณค่า, การออกแบบทันสมัย, มีศูนย์ช็อปปิ้งที่หรูหราและมีบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย ขณะที่สนามบินชางงี มีความโดดเด่นตรงที่ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกผ่อนคลายด้วยสระน้ำบนหลังคา, สวนกล้วยไม้และต้นปาล์มสูง รายงานข่าวเปิดเผยว่า สนามบินอินชอนของเกาหลีใต้มีความโดดเด่นเรื่องอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม, กระบวนการขาออกของผู้โดยสารกินเวลาไม่เกิน 45 นาที ส่วนสนามบินกัวลาลัมเปอร์ที่ออกแบบโดยชาวญี่ปุ่น มีความโดดเด่นเรื่องการออกแบบที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีอนาคตเข้ากับวัฒนธรรมมาเลเซียและทรัพยากรธรรมชาติท่ามกลางป่าเขตร้อนบริเวณกลางอาคารผู้โดยสาร

รายงานข่าวเปิดเผยว่า สำหรับสนามบินที่แย่ที่สุด ประกอบด้วย สนามบินอิรักเพราะเป็นเขตสงคราม, สนามบินอินทิรา คานธีของอินเดีย, สนามบินลุคลาของเนปาลเพราะหวาดเสียวทั้งขึ้นและลง โดยเฉพาะตอนขึ้นนั้นต้องเชิดหัวขึ้นอย่างกะทันหันเพราะสุดทางวิ่งของเครื่องบินคือขอบเหว, สนามบินลีโอโพล เซดาร์ เซงงอร์ ของเซเนกัล, สนามบินลอสแองเจลิสของสหรัฐอเมริกา, สนามบินลอนดอนฮีทโธรว์ของอังกฤษ และสนามบินชาร์ลส์ เดอ โกล กรุงปารีสของฝรั่งเศส โดยสนามบินชาร์ลส์ เดอโกลนั้น ขึ้นชื่อว่าพนักงานมีความหยาบคาย, การวางแผนผังของอาคารและสนามบินมีความสับสนและราคาอาหารแพงเกินเหตุ

รายงานข่าวเปิดเผยว่า สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิของไทยนั้น ถูกจัดอันดับให้อยู่ในระดับปานกลาง ได้รับคะแนนเฉลี่ย 3 ดาว ซึ่งหมายความว่าบริการและผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานตามค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมการบิน แต่ยังมีบางจุดที่ถือว่ายังบกพร่องอ่อนแอหรือบางครั้งต่ำกว่ามาตรฐาน โดยจุดที่อ่อนแอของสนามบินสุวรรณภูมิมีถึง 10 จุด ได้แก่ 1.เว็บไซต์บริการข้อมูลข่าวสาร 2.ระบบการต่อเครื่องบินของผู้โดยสาร 3.เวลาและระยะทางในการเดินทางไปถึงประตูขึ้นเครื่องบิน 4.ป้ายบอกทิศทางรอบสนามบิน 5.ระยะทางที่ผู้โดยสารต้องเดินทั้งตอนขาเข้าและการต่อเครื่องบิน 6.ระยะเวลาในการรอรับกระเป๋า 7.เครื่องเอทีเอ็มสำหรับกดเงินสด 8.ศูนย์ธุรกิจหรือบริเวณทำงาน 9.สิ่งอำนวยเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยทั้ง 9 จุดนี้ได้รับคะแนนเพียง 2 ดาว ซึ่งหมายถึงแย่ ส่วนจุดที่แย่ที่สุดของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยได้รับคะแนนเพียง 1 ดาว คือ สถานที่นัดพบสำหรับผู้โดยสารและผู้มารอรับ-ส่ง

รายงานข่าวเปิดเผยว่า จุดที่สุวรรณภูมิได้รับคะแนนสูง 4 ดาว ประกอบด้วย 1.ความเป็นมิตรของพนักงานตรวจคนเข้าเมือง 2.กระบวนการตรวจคนเข้าเมือง 3.จำนวนเก้าอี้นั่ง 4.ระบบการสแกนกระเป๋าเพื่อตรวจหาอาวุธ 5.จำนวนแท็กซี่บริการ 6.ความสะอาดของอาคาร 7.วิวการมองเห็นเครื่องบินและรันเวย์ 8.แสงธรรมชาติภายในอาคาร 9.สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและสถานที่เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก 10.คุณภาพการบริการของพนักงานตามร้านค้าภายในสนามบิน 11.ความหลากหลายของร้านอาหารและภัตตาคาร 12.ราคาอาหารและเครื่องดื่ม 13.การให้บริการของพนักงานในร้านอาหารและภัตตาคาร 14.สถานที่เล่นสำหรับเด็ก

แหล่งข้อมูล

Monday, January 12, 2009

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ทั้ง 50 เขต

สำหรับผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ทั้ง 50 เขต อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า อันดับ 1 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 2 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 934,602 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.41 อันดับ 2 นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย ได้ 611,669 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 29.72 อันดับ 3 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หมายเลข 8 ได้ 334,846 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 16.27 อันดับ 4 นายแก้วสรร อติโพธิ หมายเลข 12 กลุ่มกรุงเทพฯใหม่ ได้ 144,779 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 7.03 อันดับ 5 นางลีนา จังจรรจา หมายเลข 3 ได้ 9,043 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.44 อันดับ 6 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล หมายเลข 1 ทีมกรุงเทพฯพัฒนา ได้ 6,017 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.29 อันดับ 7 นายเอธัส มนต์เสรีนุสรรณ์ หมายเลข 14 พรรคสุวรรณภูมิ ได้ 4,117 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.20

อันดับ 8 นายวิทยา จังกอบพัฒนา หมายเลข 9 ได้ 3,582 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.18 อันดับ 9 นายกงจักร ใจดี หมายเลข 5 ได้ 2,400 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.12 อันดับ 10 นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์ หมายเลข 11 ได้ 2,222 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.11 อันดับ 11 นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ หมายเลข 4 ได้ 1,875 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.09 อันดับ 12 ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ หมายเลข 6 กลุ่มเมตตาธรรม ได้ 1,431 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.07 อันดับ 13 นายอิสระ อมรเวช หมายเลข 7 ได้ 922 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.04 และอันดับ 14 นายอุดม วิบูลเทพาชาติ ได้ 656 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.03

ข่าวแจ้งว่า ใน 50 เขต ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ถึง 46 เขต ขณะที่นายยุรนันท์ได้คะแนนอันดับ 1 เพียง 4 เขต ได้แก่ ดอนเมือง ลาดกระบัง สายไหม และดุสิต ซึ่งทั้ง 4 เขต เป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยมีฐานคะแนนเสียงหนาแน่น แหล่งข้อมูล
รายชื่อผู้สมัครผู้ว่า กทม

ธุรกิจซื้อขายออนไลน์

จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดซื้อขายออนไลน์ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการซื้อขายออนไลน์ระหว่างผู้บริโภคขายให้กับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) ผ่านตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace)

ธุรกิจซื้อขายออนไลน์กลับมีแนวโน้มเติบโต โดยจากการสำรวจของ NECTEC ในปี 2551 มีจำนวนผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 45.5 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2550 ที่มีประมาณร้อยละ 28.9 ที่ผ่านมาการสำรวจมูลค่าตลาดซื้อขายออนไลน์มีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับนิยามในการสำรวจและกลุ่มตัวอย่าง สำหรับศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่ามูลค่าตลาดซื้อขายออนไลน์ในปี 2551 อาจอยู่ในช่วง 25,000-30,000 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 30-40 จากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหันมาใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีความสะดวกรวดเร็วและน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากนี้ การเติบโตของเว็บไซต์ e-Marketplace ก็ช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจซื้อขายออนไลน์ด้วย
สำหรับปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าธุรกิจซื้อขายออนไลน์จะเป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่จะมีแนวโน้มการเติบโต โดยมีจุดแข็งจากต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายต่ำกว่าท้องตลาดได้ อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถทำการขายผ่านช่องทางออนไลน์และหน้าร้านปกติควบคู่กันไป เป็นการช่วยขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้นด้วย ความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนการสื่อสารทางการตลาดและการแนะนำสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อให้ทันต่อกระแสและตอบสนองตลาด จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากราคาค่าบริการที่มีแนวโน้มถูกลงและความเร็วเพิ่มสูงขึ้น อ่านรายละเอียด

Monday, January 05, 2009

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุท้องถิ่น

จากที่ วธ.ได้จัดสัมมนาการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมให้คงอยู่เป็นมรดกท้องถิ่นและของชาติสืบไป และเพื่อให้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุท้องถิ่นสามารถเดินหน้าและประสบความสำเร็จ ตนจึงได้มอบหมายให้ สวจ.ต่างๆ ดำเนินการ ดังนี้ 1.สำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุในพื้นที่จังหวัดที่จัดตั้งแล้ว 2.สำรวจข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุท้องถิ่นที่กำลังจะจัดตั้งใหม่ 3.หากสำรวจว่าควรจะมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุท้องถิ่นใหม่ ให้ สวจ.นั้นๆ ประสานขอรับการสนับสนุนด้านวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และ 4.ให้ สวจ.จัดเก็บข้อมูลบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดรายปีภายในจังหวัด จำนวน 3 เหตุการณ์ พร้อมทั้งรูปถ่ายส่งมายัง วธ.เพื่อรวบรวมและจัดพิมพ์เป็นเล่ม แหล่งข้อมูล

Saturday, January 03, 2009

สมเด็จพระเทพฯทรงแนะบัณฑิต"มศว" พิเคราะห์ข่าวลึกซึ้งกันหลงผิด

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีพระราโชวาทความตอนหนึ่งว่า สังคมโลกทุกวันนี้ มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างสะดวกง่ายดาย ด้วยวิธีที่หลากหลายขึ้นกว่าแต่ก่อน คนในสังคมจึงรับรู้ข้อมูลข่าวสารทุกด้านได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น บางอย่างมีคุณประโยชน์ แต่บางอย่างอาจมีโทษแฝงอยู่ หากบุคคลปักใจเชื่อทุกเรื่องทุกอย่างโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบแล้ว อาจก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่นได้ ดังนั้น เมื่อบัณฑิตได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม จะต้องพินิจพิเคราะห์เรื่องนั้นให้ลึกซึ้งทุกแง่ทุกมุม ด้วยการจำแนกแยกแยะให้เห็นรายละเอียดต่างๆ ทั้งส่วนที่เป็นเหตุส่วนที่เป็นผล ลำดับความเกี่ยวเนื่องของเหตุและผล ตลอดจนแหล่งที่มาและจุดหมายในการเสนอข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ด้วย จากนั้นค่อยวินิจฉัยตัดสิน โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐาน ว่าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมีเนื้อหาสาระที่ควรแก่การเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ทำได้ดังนี้ บัณฑิตก็จะไม่หลงผิด เชื่อผิด และสามารถเลือกสรรเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เป็นจริงไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต และประกอบกิจการงานได้ จึงขอฝากให้บัณฑิตนำไปพิจารณา และหมั่นฝึกฝนปฏิบัติให้เชี่ยวชาญจัดเจน แหล่งข้อมูล