Monday, February 23, 2009

การประชุมสุดยอดอาเซียน

Asean Summit, Thailand 2009
ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้

มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540
การที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ชะอำในปีนี้ จึงเป็นการย้อนรำลึกถึงถิ่นกำเนิดของอาเซียน และเป็นการเริ่มต้นโฉมหน้าใหม่ของอาเซียนหลังจากการมีผลบังคับใช้กฏบัตรอาเซียนตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551

หัวข้อหลักการประชุมของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ "กฏบัตรอาเซียนสำหรับประชาชนอาเซียน" โดยต้องการให้ประชาชนอาเซียนเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งหมายถึงต้องการให้ความร่วมมือในกรอบต่างๆ ของอาเซียนอำนวยประโยชน์ให้กับประชาชน ซึ่งประกอบไปด้วยหัวย่อยอีก 3 หัวข้อ ได้แก่
1. มุ่งสู่การสร้างชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
ไทยจะใช้โอกาสนี้ในการวางรากฐานในการไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยผลักดันกลไกการทำงานในหน้าที่ใหม่ของอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน รวมทั้งการวางรากฐาน 3 เสาหลักของสภาประชาคมอาเซียนและการจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา

ยกร่างการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายในปลายปีนี้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้
เสริมสร้างความเข้มแข็งของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งในแง่งบประมาณและบุคคลากร เพื่อให้อาเซียนสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มความสามารถและเต็มความรับผิดชอบ ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียน
สร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยนายกรัฐมนตรีและผู้นำอาเซียนจะพบปะพูดคุยกับตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ที่มีความหลากหลาย อาทิ ตัวแทนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ตัวแทนเยาวชน และตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคม
2. การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยคุกคามของโลกประเทศไทยต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามของโลก โดยการสร้างความเข้มแข็ง
ด้านความมั่นคงของมนุษย์ในมิติต่างๆ ในชุมชนอาเซียนเพื่อให้สามารถลดสิ่งที่กระทบความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน รวมถึงการยกประเด็นของความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และการบริหารจัดการภัยพิบัติ

3. การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในภูมิภาคเสริมสร้างความพยายามในการสร้างชุมชนอาเซียน อาเซียนจะสนับสนุนให้อาเซียนเป็นศูนย์กลาง
ในการวิวัฒนาการโครงสร้างของภูมิภาค การประชุมสุดยอดผู้นำจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับอาเซียน ในการแสดงต่อประชาคมโลกว่า อาเซียนยังคงหนักแน่น สมาชิกทั้ง 10 ประเทศเป็นส่วนที่สมบูรณ์ของชุมชนเอเชียตะวันออกที่กว้างขึ้น และยังคงเป็นกลจักรสำคัญของการเติบโตในเศรษฐกิจโลกต่อไป
แหล่งข้อมูล