Sunday, November 30, 2008

การท่องเที่ยวและการตกงาน

รัฐบาลใช้1พันล.ช่วยเหยื่อตกค้าง
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมด่วนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว เพื่อหาแนวทางเยียวยานักท่องเที่ยวที่ติดค้างอยู่ในประเทศ และคนไทยที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ภายหลังพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง

จากนั้น นายโอฬารแถลงว่า รัฐบาลมีมาตรการเยียวยานักท่องเที่ยวที่ติดค้าง และคนไทยที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ประมาณ 40,000-50,000 คน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน-25 ธันวาคม รวมระยะเวลา 1 เดือน เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยค่าใช้จ่ายด้านที่พัก อาหารที่ 2,000 บาทต่อคนต่อวัน

ท่องเที่ยวทรุดทำ1ล้านคนตกงาน

รองนายกฯกล่าวว่า ปัญหาการปิดสนามบินทั้ง 2 แห่ง ส่งผลกระทบกับภาพรวมการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติจนถึงกลางปีหน้า คาดการณ์ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลงจาก 13.5-14 ล้านคน เหลือเพียงครึ่งเดียว หรืออยู่ที่ 6-7 ล้านคนในปี 2552 ส่งผลให้ผู้ประกอบการ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะได้รับผลกระทบ และมีผู้ตกงานถึง 1 ล้านคน

นายโอฬารกล่าวว่า รัฐบาลนัดหารือกับภาคเอกชนทุกอุตสาหกรรมเพื่อกำหนดมาตรการเยียวยาระยะกลาง เวลา 14.00 น. ในวันที่ 1 ธันวาคม ที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อผ่อนปรนปัญหาครั้งนี้ซึ่งสร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก

"มาตรการเยียวยาถือเป็นโจทย์ใหญ่มาก ใหญ่กว่าทุกครั้ง และมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกี่ยวเนื่องกับหลายอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วนถึง 10% ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) อีกทั้งการปิดสนามบินครั้งนี้ยังกระทบกับการส่งออกสินค้าผ่านคาร์โก้ (คลังสินค้า) โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ ออกไปต่างประเทศด้วย และแม้ว่าผู้ชุมนุมจะคืนสนามบิน การท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่นนี้นักท่องเที่ยวก็ยกเลิกหมดแล้ว และยังไม่แน่ใจว่าช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในปีหน้ากลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชียที่ปกติจะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็อาจจะยกเลิกเดินทางมาไทยด้วย" นายโอฬารกล่าว

รับปีหน้าจีดีพีอาจ0%หรือติดลบ
นอกจากการคาดการณ์อาจมีผู้ตกงานถึง 1 ล้านคนเนื่องจากภาคท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบิน นายโอฬารยังบอกด้วยว่า ปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ จะส่งผลให้มีผู้ตกงานเพิ่มขึ้น ทั้งจากแรงงานนักศึกษาจบใหม่ในปี 2552 อีกประมาณ 500,000 ราย และคนตกงานที่อยู่ในระบบอีก 500,000 ราย ทำให้จนถึงสิ้นปี 2552 มีผู้ตกงานถึง 2 ล้านคน จึงคาดการณ์ว่าการขยายตัวของจีดีพี น่าจะอยู่ที่ 0% หรือมีโอกาสติดลบ ภายใต้สถานการณ์เวลานี้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ประเมินสถานการณ์อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของจีดีพีในอัตราดังกล่าวถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุด ขณะที่ปีนี้หากจีดีพีขยายตัวที่ระดับ 3.5% ก็ถือว่าเก่งแล้ว แหล่งข้อมูล

Thursday, November 27, 2008

Reading professionals

The Standards for Reading Professionals (Standards 2010) draft Reading professionals
International Reading Achievement: Insights into Policy and Practice Using PISA/PIRLS Data

ร่ำไห้หมดแรงกู้ท่องเที่ยวไทย ผู้ว่า ททท.แถลง ข่าวสุดกลั้นวอนไทยช่วยไทย

ร่ำไห้หมดแรงกู้ท่องเที่ยวไทย ผู้ว่า ททท.แถลง ข่าวสุดกลั้นวอนไทยช่วยไทย [27 พ.ย. 51 - 04:47]

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ตั้งศูนย์ประสานงานเจ้าหน้าที่ 4 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการในภาวะวิกฤติ (ศวก.) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.), กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับโรงแรม บริษัทนำเที่ยว ไว้ตอบคำถามของนักท่อง เที่ยว สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นแทบประเมินไม่ได้และคงต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้น ขนาดกรณีสนามบินภูเก็ตผ่านมา 3 เดือนแล้ว ตอนนี้ยังไม่ฟื้นตัวเลย ดังนั้น ตอนนี้กระทรวงฯขอเดินหน้าจัดการดูแลนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างอยู่ในไทยก่อน ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังจะเดินทางมาแล้วมาไม่ได้นั้น ค่อยไปจัดการทีหลัง

“เพื่อดูแลนักท่องเที่ยวที่ตกค้างที่สนามบินได้อย่างทั่วถึง ผมได้ของบกลางไม่เกิน 10 ล้านบาท มาใช้ฉุกเฉินสำหรับดูแลเรื่องค่าเดินทาง ค่าอาหารและที่พักให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตก ค้างอยู่ โดยจะตั้งคณะกรรมการเพื่อมาดูแลการเบิกจ่ายงบกลางฉุกเฉินนี้จากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งให้สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ ททท. ส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลนักท่องเที่ยวที่ติดค้างอยู่ เบื้องต้นมีนักท่องเที่ยวติดค้างในสนามบินสุวรรณภูมิที่หน่วยงานเหล่านี้นำออกมาจากสนามบินสุวรรณภูมิไปส่งยังที่พักต่างๆ กว่า 400 คนแล้ว”



ส่วนภาคเอกชนนั้น ไม่อยากให้ท้อแท้หมดหวังควรเข้ามาช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ และร่วมกันกู้ชื่อเสียงการท่องเที่ยวไทยให้คืนมาด้วยการดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตกค้างอยู่อย่างมีคุณภาพที่สุด และอยากวอนให้กลุ่มพันธมิตรฯคืนพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิให้เร็วที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวไม่ใช่ คู่กรณี “ตอนนี้โรงแรมโรสการ์เด้นท์ริเวอร์ไซด์ ที่สวนสามพรานได้ประกาศเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตกค้างอยู่ให้มาพักชมการแสดงและรับประทานอาหารกลางวันที่สวนสามพรานฟรีวันที่ 26-27 พ.ย.นี้ ขณะที่โรงแรมโซฟิเทล ลาดพร้าว ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวที่เพิ่งเช็กเอาต์ออกไปแล้วไม่สามารถบินกลับประเทศจากกรณีที่สนามบินสุวรรณภูมิถูกปิด สามารถกลับมาพักได้ฟรี ซึ่งคิดว่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนอื่นทำตามต่อไป”

ด้านนางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท. ได้เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ททท. ว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ททท. 2 คนไปประจำการที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อประสานงานกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ดูแลนักท่องเที่ยวที่ติดค้างในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง ททท.สามารถนำนักท่องเที่ยวออกมาจากสนามบินสุวรรณภูมิได้หมดแล้วช่วงเย็นวันที่ 26 พ.ย. และขณะนี้ทางสมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่ ได้แจ้งมาแล้วว่าจะเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ตกค้างมาพักฟรีทุกแห่งเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ขณะที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ เสนอว่า หากไทยนำนักท่องเที่ยวบินมาลงที่สนามบินจังหวัดภูเก็ต ก็พร้อมส่งเครื่องบินมารับคนไปลงต่อที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นฐานสำหรับเดินทางกลับประเทศต่อไป “ยอมรับว่าหลังจากนี้นักท่อง เที่ยวต่างชาติคงลดลงแน่นอน อย่างน้อยที่สุดจะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในช่วงนี้และไม่แน่ใจว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเมื่อไหร่ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ ตอนนี้คือขอให้คนในประเทศช่วยกันเที่ยวในประเทศ เพื่อหนุนให้เกิดการใช้จ่าย ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการ ททท.ได้อนุมัติให้ใช้เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุนให้ไทยเที่ยวไทยแล้วเป็นเวลา 6 เดือน”

ทั้งนี้ จนถึงช่วงบ่ายวันที่ 26 พ.ย. ททท. ได้รวบรวมข้อมูลจากต่างประเทศพบว่ามีประเทศออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวให้ระมัดระวังการเดินทางมาไทยแล้วรวม 21 ประเทศ โดยมีประเทศที่เตือนระดับมาก ได้แก่ สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, ฮ่องกง, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ระดับปานกลาง ได้แก่ ประเทศไอร์แลนด์, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, อิตาลี, นอร์เวย์, รัสเซีย, สเปน, เบลเยียม, ไต้หวัน และเกาหลี

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ระหว่างที่ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นางพรศิริมีท่าทีลำบากใจในการตอบคำถาม พร้อมกับมีน้ำตาคลอเบ้าและน้ำเสียงสะอื้น จนต้องหยุดตอบคำถามไปชั่วครู่โดยกล่าวว่ารู้สึกเป็นห่วงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาแล้วติดค้างอยู่ในไทย. แหล่งข้อมูล

Wednesday, November 26, 2008

แนะคนไทยเคารพ 3 สถาบันฝ่าฟันวิกฤต

"องคมนตรี"แนะคนไทยเคารพ 3 สถาบันฝ่าฟันวิกฤต นักวิชาการหวั่นเหตุรุนแรง "เสื้อแดง"ปิดล้อม"เสื้อเหลือง"

ศาสตรจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะเลขานุการมูลนิธิพระดาบส นำข้าราชการจากสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิพระดาบส เดินทางออกไปให้บริการกับประชาชนตามโครงการพระดาบสสัญจร ที่บริเวณสนามหญ้าหน้าเทศบาลตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

"องคมนตรี"แนะคนไทยเคารพ 3 สถาบันฝ่าฟันวิกฤต

ศาสตรจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะเลขานุการมูลนิธิพระดาบส นำข้าราชการจากสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และคณะเจ้าหน้าที่มูลนิธิพระดาบส เดินทางออกไปให้บริการกับประชาชนตามโครงการพระดาบสสัญจร ที่บริเวณสนามหญ้าหน้าเทศบาลตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23 พ.ย. โดยมูลนิธิพระดาบสจะจัดสัญจรออกไปนอกพื้นที่เดือนละ 1 ครั้ง
องคมนตรี ได้หยิบยกคำพูดของนายคึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี มาพูดกับประชาชน ว่า ขอให้ประชาชนยึดแนวทางในการปกป้อง 3 สถาบัน คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนา และสถาบันประชาชน มาดำเนินชีวิต หากทำได้จะทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้า ซึ่งสิ่งที่ขอร้องมากที่สุด คือ ให้ประชาชนนึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่าง ในการดำเนินชีวิตที่พอเพียง สิ่งสำคัญเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในประเทศไทยแทบทุกครั้ง จนถึงทางตัน พระองค์ก็จะออกมาเป็นแสงสว่างในการแก้วิกฤติให้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาบ้านเมือง

"ส่วนสถาบันศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะประเทศไทยมีหลายศาสนา ซึ่งทุกคนก็นับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่ก็มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน เมื่อไม่รักกันแล้ว ก็ยากที่จะทำให้ประเทศชาติพัฒนาไปได้ สิ่งสุดท้าย คือ สถาบันประชาชน ที่จะต้องเร่งแก้ไขขณะนี้ เพราะคนไทยไม่เคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงทำให้สถาบันประชาชนเกิดความแตกแยก" องคมนตรี กล่าวและว่า เชื่อว่า หากประชาชนคนไทยดำเนินการตามแนวของอดีตนายกฯ ที่เคยพูดไว้ให้เคารพใน 3 สถาบันนั้น ประเทศไทยฝ่าพ้นวิกฤติต่างๆ สิ่งสำคัญก็จะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงสบายพระทัยที่เห็นคนไทยรักกัน


นักวิชาการหวั่นเหตุรุนแรง"เสื้อแดง"ปิดล้อม"เสื้อเหลือง"



นายรังสรรค์ ปทุมวรรณ์ นักวิชาการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเมื่อวันที่ 23 พ.ย.ถึงการประกาศชุมนุมใหญ่ของ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) ที่หน้ารัฐสภา ว่า เป็นกลยุทธ์หนึ่ง เพื่อให้ผู้ชุมนุมกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นงานพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมบางตาลงไป ซึ่งถือเป็นการสร้างกระแสการรวมตัว โดยยืนยันว่า จะเดินทางไปหน้ารัฐสภาเพื่อต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันแล้วว่าไม่มีการบรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าสู่การประชุมพิจารณา

นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า คาดว่า ในการชุมนุมใหญ่ อาจนำมาสู่เหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น และถือเป็นความรุนแรงที่มาจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายม็อบเสื้อแดงหรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) ที่ได้จัดงานความจริงวันนี้สัญจรขึ้น ที่วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี ในวันนี้ แม้ว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน (พปช.) ผู้จัดรายการความจริงวันนี้ จะออกมาบอกแล้วว่า ไม่เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลหรือรัฐสภาแน่นอน แต่เชื่อว่าอาจนำไปสู่ม็อบเสื้อแดงปิดล้อมม็อบเสื้อเหลืองได้ โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นเรื่องของสถานการณ์เฉพาะหน้าควบคุมไม่ได้ แหล่งข้อมูล

Friday, November 21, 2008

สมาคมประชาชาติอาเซียน

ในโอกาสที่สมาคมประชาชาติอาเซียนจะก้าวสู่ขั้นตอนใหม่ มีกฎบัตรร่วมกัน (ASEAN Charter) ซึ่งมิได้มีแต่มิติเศรษฐกิจและการเมืองเท่านั้น การเน้นมิติสังคมมนุษยธรรมโดยเฉพาะเน้นให้อาเซียนเป็นประชาคมที่เอื้ออาทรหรือร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน (Caring) และการเป็นสังคมแบ่งปันกัน (Sharing) จึงมีความสำคัญสูงยิ่ง
แหล่งข้อมูล

1.บริบทกระแสโลกาภิวัตน์ที่ผ่านมามีลักษณะสำคัญ คือ
1) เร่งรัดมากแต่มีความไม่แน่นอนอย่างมาก ระยะหลังมานี้เผชิญวิกฤตการเงินซึ่งเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาแต่กระทบไปทั่วโลก วิกฤตครั้งนี้คาดว่าจะมีผลกระทบให้ต้องชะลอความเร็วเร่งรุดด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจลงบ้าง และจำต้องมีการกำกับดูแลโดยรัฐและสังคมอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ
2) โลกาภิวัตน์ที่ผ่านมาขับเคลื่อนโดยกลไกตลาด มุ่งเป้าหมายตลาดเดียว แหล่งลงทุนรวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะอย่างเสรี การมุ่งหน้าบรรลุเป้าเช่นนี้ อีกนัยหนึ่งเป็นการมุ่งการบูรณาการทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก การแข่งขันก็ทวีความเข้มข้น
3) การพัฒนาภายใต้โลกาภิวัตน์เศรษฐกิจนำ กลายเป็นการพัฒนามิติเดียว แต่กลับไปส่งเสริมให้เกิดภาวะขาดดุลแม้บางกรณีอาจมิได้มีความตั้งใจให้เป็นเช่นนั้นเลย
ได้แก่ ภาวะขาดดุลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ขาดดุลด้านธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย ขาดดุลด้านความเป็นธรรมทางสังคมและจริยธรรมในการพัฒนา

2.ปัญหาความรู้เท่าทันด้านสังคมตามไม่ทันการเมืองแบบผลประโยชน์

1) ช่องว่างในการรับรู้ (Perception Gap) ระหว่างความนึกคิดกับความเป็นจริง การพัฒนาที่ผ่านมาในความเป็นจริงมิได้เป็นไปดังที่นึกคิดกันมา เพราะมีมิติภูมิภาคที่เศรษฐกิจไทยเราต้องเกี่ยวข้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างแยกไม่ออก การพัฒนาเกิดมาได้เพราะเกิดในบริบทที่กว้างกว่าประเทศ มีมิติภูมิภาคยานุวัตน์ (Regionalization) ด้วย ประเทศเราพัฒนามาได้เพราะเราอาศัยแรงงานต่างด้าวถึงร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศ (ประมาณ 3.5 ล้านคน) เราพัฒนามาได้ก็อาศัยพลังงานต่างแดน เพราะเราสร้างเขื่อนในแผ่นดินไทยไม่ได้ แต่เรายังต้องการบริโภคไฟฟ้าอีกมาก และพึ่งพาทรัพยากรคนอื่นมาตลอด
2) ผู้ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจเอกชนมีจำนวนมากกว่าและมีความเข้มแข็งกว่าผู้ขับเคลื่อนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
3) ปัญหาช่องว่างของแรงจูงใจ แรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ (ใช้ประโยชน์และหากำไร) มีพลังมากกว่าแรงจูงใจด้านร่วมทุกข์ร่วมสุข (Solidarity) มิหนำซ้ำโลกทรรศน์แบบสงครามเย็นยังมีอิทธิพลตกค้างอยู่ไม่น้อยในการเมืองเพื่อนบ้าน ในอดีตภายใต้ภาวการณ์มีสงครามเย็นทำให้เรามีหลักความคิดอยู่ว่า เมื่อเพื่อนบ้านอ่อนแอ เราจะดีใจหรืออย่างดีหน่อยก็มองเห็นเขาเป็นตลาดขายสินค้าของเราเท่านั้น
4) ปัญหาช่องว่างด้านความรู้ความเข้าใจ (knowledge Gap) กับสถานภาพของไทย กล่าวคือระหว่างความคาดหวังต่อไทยในฐานะประเทศผู้นำกับสำนึกรู้ต่อบทบาทของตนที่มีมิติรับผิดชอบต่อภูมิภาค นอกจากนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนยืนยันว่า ระดับของความรู้และความไม่อยากรู้เรื่องเพื่อนบ้าน รวมทั้งภาษาเพื่อนบ้านของเยาวชนไทยนั้นเกือบเป็นที่โหล่เมื่อเทียบกับบรรดาสมาชิกของอาเซียนด้วยกัน

Friday, November 07, 2008

The Information Society / the Knowledge Society

Knowledge economy and society
The Information Society / the Knowledge Society
Information society

In this past decade, the expression “information society” has without a doubt been confirmed as the hegemonic term, not because it necessarily expresses a theoretical clarity, but rather due to its “baptism” by the official policies of the more developed countries and the “crowning” that meant having a World Summit dedicated in its honor.

The term’s antecedents, however, date back from previous decades. In 1973, United States sociologist Daniel Bell introduced the notion “information society” in his book The Coming of Post-Industrial Society [1], where he formulates that the main axis of this society will be theoretical knowledge and warns that knowledge-based services will be transformed into the central structure of the new economy and of an information-led society, where ideologies will end up being superfluous.

This expression reappears strongly in the 90s, within the context of the development of the World Wide Web and ICTs. As of 1995, it was included in the agenda of the G7 meetings (followed by G8, which joins heads of State and governments from the most powerful nations on the planet). It has been addressed in forums of the European Community and the OECD - Organization for Economic Cooperation and Development (the thirty most developed countries in the World), and has been adopted by the United States government, as well as various UN agencies and the World Bank Group. All with great repercussions in the communication media. As of 1998, the term was first selected by the International Telecommunication Union (ITU) and then by the UN, as the name for the World Summit to be held in 2003 and 2005.

Within this context, the concept “information society” as a political and ideological construct has developed under the direction of neo-liberal globalization, whose main goal has been to accelerate the establishment of an open and “self-regulated” world market. This policy has counted on the close collaboration of multilateral organizations such as the World Trade Organization (WTO), the International Monetary Fund (IMF), and the World Bank, in order for the weak countries to abandon national regulations or protectionist measures that “would discourage” the inversion; all with the known result of a scandalous widening of the gaps between the rich and the poor in the World. Source

ห้องสมุดประชาชน แปลงโฉมใหม่

ห้องสมุดประชาชน แปลงโฉมใหม่ / ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ

ก้าวใหม่ของห้องสมุดประชาชนในภูมิภาคตอนนี้กำลังจะถูกปรับโฉมให้ตาม โครงการ Knowledge Center ศูนย์เรียนรู้กินได้ คือแหล่งรวมองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ และการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการในท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้โครงการ ศูนย์เรียนรู้กินได้ เป็นการบริหารโครง การร่วมกัน ระหว่างสำนักงาน บริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) และกระทรวงศึกษาธิ การ โดยเป็นการพัฒนาพื้นที่ห้องสมุดประชาชนในส่วนภูมิภาค ให้เป็นแหล่งเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่จูงใจให้ประชาชนเข้ามาแสวง หาความรู้ที่หลากหลายด้วยตน เอง ซึ่งภายใต้แนวคิดแห่งการ เป็นศูนย์เรียนรู้กินได้ ประกอบด้วย ห้องสมุด ซึ่งจะเพิ่มเนื้อ หาเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าและบริการของ ท้องถิ่น

การรวบรวมองค์ความรู้ดั้งเดิมของท้องถิ่น ผนวกกับ การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ที่สอดคล้องกับความต้อง การของตลาดโลก และ ส่วนกิจกรรม จะเป็นส่วนเสริมเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และความสนใจให้เกิดการเรียน รู้ของชุมชน อาทิ การสัมมนา การให้คำปรึกษาและค้นคว้าข้อมูล การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

โดยงบประมาณในการดำเนินโครงการเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ จะอยู่ภายใต้งบประมาณของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) โดยระหว่างการจัดทำโครงการฯ ทั้งสองหน่วยงานจะดำเนินโครง การฝึกอบรมบุคลากร เพื่อถ่าย ทอดและแลกเปลี่ยนประสบ การณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะส่งมอบศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบให้แก่ กระทรวงศึกษาธิการต่อไปภายใน 1 ปีนับจากเปิดให้บริการ

อ่านรายละเอียด

Thursday, November 06, 2008

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Open source

Koha@STKS : The First Open Source Integrated Library System
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เริ่มพัฒนาโปรแกรม Koha ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2551 จนสามารถเปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลฐานข้อมูลหนังสือ ดรรชนีวารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่สวทช. ให้ทุน ซีดี-รอม และ Collection พิเศษ สิ่งพิมพ์ สวทช. พร้อมกับพัฒนา 2D Barcode หรือสัญลักษณ์ 2 มิติ เพื่อให้รองรับการยืม-คืน ซึ่ง ศวท. นับว่าเป็นแห่งแรกที่ใช้ระบบ Koha กับระบบยืม-คืนด้วยสัญลักษณ์ 2มิติ สามารถเข้าเยี่ยมชมการสืบค้นด้วยระบบ Koha ได้ที่ library.stks.or.th หรือ stks.or.th/library

Wednesday, November 05, 2008

Barack Obama elected 44th president

Barack Obama,a 47-year-old first-term senator from Illinois, shattered more than 200 years of history Tuesday night by winning election as the first African-American president of the United States.

A crowd of 125,000 people jammed Grant Park in Chicago, where Obama addressed the nation for the first time as its president-elect at midnight ET. Hundreds of thousands more — Mayor Richard Daley said he would not be surprised if a million Chicagoans jammed the streets — watched on a large television screen outside the park.

More information