Sunday, January 06, 2008

ภูมิปํญญาไทยที่ต่างชาติอ้างสิทธิ์ : คนไทยต้องมีความรู้เท่าทัน

ภูมิปํญญาไทยที่ต่างชาติอ้างสิทธิ์ : ข้าวหอมมะลิ (Jasmine Rice) กวาวเครือสมุนไพรไทย ฤๅษีดัดตน
จากการที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ยื่นหนังสือคัดค้านกรณีชาวญี่ปุ่นจดทะเบียนลิขสิทธิ์คำว่า "ฤๅษีดัดตน" เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อบริษัทว่า "ห้างหุ้นส่วน ฤๅษีดัดตน จำกัด" กับหน่วยงานจดลิขสิทธิ์ของญี่ปุ่น หมายเลขทะเบียนที่ FOT 0002 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา ล่าสุดศาลพิพากษาชั้นต้น ให้คำว่า "ฤๅษีดัดตน" เป็นภูมิปัญญาของไทย โดยที่ชาวญี่ปุ่นดังกล่าวไม่ได้มีการยื่นอุทธรณ์แต่อย่างใด จึงถือเป็นข่าวดีของไทยที่สามารถรักษาภูมิปัญญาไทยเอาไว้ได้
ความเป็นมาของฤๅษีดัดตนในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำรายา และปั้นท่าฤๅษีดัดตนไว้เป็นทาน โดยรูปปั้นฤาษีดัดตนสมัยพระองค์นั้นสร้างด้วยดินปิดทอง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีจำนวนเท่าใด
ต่อมารูปปั้นที่ทำจากดินนั้นชำรุดทรุดโทรมลงมาก รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 เป็นผู้กำกับช่างหล่อรูปฤๅษีดัดตนท่าต่างๆ ขึ้นใหม่ รวม 80 รูป หล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุกเรียกว่า “ชิน” หล่อเสร็จแล้วนำไปตั้งไว้ตามศาลาราย โดยมีศิลาจารึกบอกชื่อฤาษีดัดตน ท่าดัด และบรรยายสรรพคุณของท่าต่างๆ เอาไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ ซึ่งแต่งขึ้นโดยกวีมีชื่อหลายท่านในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระองค์เองก็ทรงพระราชนิพนธ์โคลงไว้ถึง 6 บทด้วยกัน
นอกจากนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนาง พระภิกษุ และสามัญชน รวมทั้งสิ้น 35 ท่าน ได้ร่วมกันนิพนธ์และแต่งโคลงเกี่ยวกับฤาษีดัดตน รวมทั้งสิ้น 80 บท นอกจากนี้ยังวาดภาพฤๅษีดัดตนลงสมุดไทย และมีโคลงกำกับไว้ คัดลอกเสร็จเมื่อราวแรม 11 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ จ.ศ.1200
ปัจจุบันท่าฤาษีดัดตนมีการดัดแปลงเพิ่มเติมมาโดยตลอด จนขณะนี้มีจำนวน 127 ท่า จากแบบฉบับดั้งเดิมของวัดโพธิ์มี 80 ท่า และในปัจจุบันนี้ยังมีหลายสถาบันที่นำองค์ความรู้นี้มาพัฒนาเป็นท่าออกกำลังกาย เช่น สถาบันการแพทย์แผนไทย โรงเรียนแพทย์แผนไทยวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นต้น ซึ่งแต่ละสถาบันจะมีรูปแบบและสไตล์ที่ต่างกัน เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารร่างกายในท่าที่ง่ายยิ่งขึ้น แหล่งข้อมูล ญี่ปุ่นกวาดไปจดสิทธิบัตร

ไทย...กับทรัพย์สินภูมิปัญญา ความรู้ไม่ทันกลโกงของผู้ฉวยโอกาส
คดีเด็ดของการโจรกรรมทางชีวภาพที่ไทยตกเป็นผู้เสียหายเห็นจะไม่พ้นเรื่องของ “ข้าวหอมมะลิ” ข้าวไทยพันธุ์หอมมะลิ (Jasmine Rice) ถูกนักวิจัยชาวอเมริกันนำไปปรับปรุงพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ปลูกได้ในสภาพภูมิอากาศซึ่งแตกต่างไปจากประเทศไทย ก่อนจะยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อ “จัสติมา (Jastima)” โดยแอบอ้างว่าเป็น “ข้าวหอมมะลิที่ปลูกที่เทกซัส” เมื่อปี 2541
เมื่อรู้ตัวรัฐบาลไทยจึงยื่นฟ้อง แต่ถูกปฏิเสธโดยอ้างว่า การกระทำดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายสหรัฐ ต่อมาในปี 2543 มีการจัดประชุมทางไกล เพื่อหาทางลดข้อขัดแย้งและความไม่พอใจของประชาชนไทย เจ้าหน้าที่สหรัฐแนะนำให้ไทยใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เพื่อปกป้องข้าวหอมมะลิ
พลิกกลยุทธ์ปกป้องข้าวหอมมะลิไทย

ข้าวอินทรีย์
ข้าวอินทรีย์ (Organic rice) เป็นวิธีการผลิตข้าวที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี
มาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยส่งออก
มูลนิธิข้าวไทย
พันธุ์ข้าวที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล Oryza gramineae สันนิษฐานว่า พืชสกุล Oryza มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีป Gondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ เมื่อ230-600 ล้านปีมาแล้วจากนั้นกระจายจากเขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้ ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลถึง2,500เมตรหรือมากกว่า ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือถึง 35 องศาใต้ มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ มีการผสมพันธุ์ข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีปริมาณ 120,000 พันธุ์ทั่วโลก ข้าวที่ปลูกในปัจจุบันแบ่งออกเป็นข้าวแอฟริกาและข้าวเอเชีย แหล่งข้อมูล
องค์ความรู้เรื่องข้าว Rice knowledge bank