ประวัติสุนทรภู่
สุนทรภู่เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี เเละทำหน้าที่เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง เมื่อสุนทรภู่โตพอสมควร มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีเเล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง เเต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร" ( ภู่ ) เรียกกันสั้นๆ ว่า "สุนทรภู่ " ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น " พระสุนทรโวหาร " เเละถึงเเก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี
ผลงาน
หนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่เเต่งมีมากมาย ที่ได้ยินเเต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปเเล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี เเต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่อง คือ
- นิราศ ๙ เรื่อง ได้เเก่ นิราศเมืองเเกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระเเท่นดงรัง นิราศพระปฐม เเละนิราศเมืองเพชรบุรี
- นิทาน ๕ เรื่อง ได้เเก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ เเละ สิงหไตรภพ
- สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้เเก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท เเละสุภาษิตสอนหญิง
- บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช
- บทเสภา ๒ เรื่อง ได้เเก่ ขุนช้างขุนเเผน ตอนกำเนิดพลายงาม เเละเรื่องพระราชพงศาวดาร
- บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้เเก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี เเละเห่เรื่องโคบุตร (อ่านรายละเอียด)
ผลงานสุนทรภู่
สุนทรภู่เป็นกวีในราชสำนักรัชกาลที่ 2 ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยกย่องเป็น "มหากวีกระฎุมพี" เป็น "อาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว" และเป็นศาสตราจารย์นักปราชญ์ราชสำนัก "ปัญญาชน" ฝ่ายก้าวหน้า ที่ฝักใฝ่อยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎ (พระนามเดิมของรัชกาลที่ 4) กับเจ้าฟ้าน้อย (พระนามเดิมของพระปิ่นเกล้าฯ) ทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นราชโอรสของรัชกาลที่ 2 ที่มีสิทธิชอบธรรมในการสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา
สุนทรภู่ออกบวชเมื่อ พ.ศ.2367 ขณะนั้นอายุ 38 ปี จึงไม่ใช่บวชตามประเพณีปกติ แต่เป็นที่รู้กันว่าบวชการเมืองหนีราชภัย เพราะบวชเมื่อรู้ว่ารัชกาลที่ 3 ได้เสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งต่างจากที่เคยคาดคะเนว่าราชสมบัติควรตกอยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎที่ตนฝักใฝ่เลื่อมใส แล้วถือตนว่าเป็นช่วงข้าใช้มาตลอด อ่านรายละเอียด