Friday, November 03, 2006

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ blog

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ blog
อ่านเพิมเติมที่
สร้างเว็บบล็อกด้วยตัวเองที่ http://www.blogger.com/ และ
http://gotoknow.org/ และอีกหลายแห่ง
เริ่มต้นสร้าง Web blog ของคุณเอง จากนั้นเล่าเรื่องราวในชีวิตของคุณให้คนอื่นๆได้รับทราบทางโลกออนไลน์
เว็บไซต์ Merriam Webstor OnLine ระบุว่าภายในปี 2004 ที่ผ่านมา คำศัพท์ที่มีผู้คนต้องการรู้ความหมายมากที่สุด เป็นคำที่คนส่วนใหญ่เคยได้ยินมา แต่เพิ่งเข้าใจความหมาย คำๆนี้ก็คือ blog นั่นเอง
เว็บไซต์พจนานุกรมออนไลน์แห่งนี้ให้ความหมาย blog ว่าเป็นเว็บไซต์ซึ่งเก็บบันทึกเรื่องราวส่วนตัว โดยมีการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆเอาไว้ รวมทั้งยังอาจมีไฮเปอร์ลิงก์ที่ผู้เขียนใส่ลงไปด้วย คำว่า blog นี้มาจากคำเต็มๆว่า Web log ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่คุณต้องการเล่าสู่ให้คนอื่นๆได้รับฟังเอาไว้ในที่เดียวกัน ข้อมูลเหล่านี้อาจประกอบด้วยคำพูด ภาพถ่าย หรือแม้แต่เพลงก็ได้ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในโลกออนไลน์ ที่สามารถค้นหาได้ง่าย ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องส่งอีเมล์จำนวนมากไปให้คนอื่นๆอีกต่อไป

บันทึกเกี่ยวกับชีวิตในครอบครัวหรือแสดงความคิดเห็นของคุณเอง

Andrea Rennick ไม่จำเป็นต้องเปิดพจนานุกรมก็เข้าใจว่า blog หมายความว่าอย่างไร คุณแม่ลูกสี่ผู้นี้บันทึก Web log เกี่ยวกับชีวิตในครอบครัวของเธอเองตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา เธอบอกว่า "ก่อนที่จะมีคำว่า blog เกิดขึ้นมา เราเรียกวิธีการนี้ว่าการจดบันทึกออนไลน์"
blog ของ Rennich มีชื่อว่า A Typical Life เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในครอบครัวของเธอเอง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่การออกไปผจญภัยเพื่อชอปปิงในวันเสาร์ ไปจนถึงภาพถ่ายลูกๆของเธอเอง รวมทั้งข้อความเตือนความจำเกี่ยวกับการประชุมในเร็วๆนี้ และเวลาที่ต้องไปเรียนวิชาเพนต์ลวดลายบนแก้วเป็นต้น

Rennick กล่าวว่า "มันเป็นพื้นที่ที่ดิฉันใช้แสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ส่วนคุณแม่คนอื่นๆจะเข้ามาแสดงความเห็นใจและช่วยดิฉันคิดหาวิธีแก้ปัญหา" เธอใช้เวลา 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมงต่อวันเพื่อเขียนเรื่องราวต่างๆลง blog ของเธอเป็นประจำ ครอบครัวและเพื่อนๆของ Rennick รวมทั้งคุณปู่วัย 88 ปีกลายเป็นผู้อ่านประจำ blog ของเธอไปแล้ว
Rennick เป็นหนึ่งในผู้หญิงหลายพันคนที่บอกเล่าการใช้ชีวิตและประสบการณ์ของตนผ่าน blog ผลการศึกษาของบริษัทวิจัยตลาด Perseus Development กล่าวว่ามีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายที่สร้าง blog ขึ้นมา และมีผู้หญิงจำนวนมากกว่าที่คอยดูแล blog เหล่านี้

Thursday, November 02, 2006

ข่าวเด็กคิด


ศูนย์รวมความรู้ห้องสมุดโรงเรียน http://www.dekkid.com
มาช่วยกันเพิ่มเติมสาระในคลังความรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ใน dekkid.com
ข่าวห้องสมุดดิจิทัล

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก


จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก http://www.comscore.com/press/release.asp?press=849
จำนวนประชากรในประเทศไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ประมาณ 7 ล้านคน http://www.nectec.or.th/pld/internetuser/internet1.html
ภาพรวมอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย (3.4 ล้านเครื่องในเดือนธันวาคม 2543) มีมากกว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ (2.3 ล้านเครื่อง)กรณีศึกษา Internet User Profileสำนักข่าวอีนิวส์- รายงานข่าวจากเอเอฟพีเปิดเผยว่า ผลสำรวจพบว่า ประชากรอายุเกิน 15 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต กว่า 694 ล้านคนจากทั่วโลก คิดเป็น 14% ของกลุ่มประชากรในช่วงอายุนี้ทั้งหมด

สำหรับผลสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยบริษัท comScore Networks ซึ่งอ้างว่า “เป็นค่าประมาณของกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการใช้งานที่ถูกต้องครั้งแรก” โดยใช้วิธีการที่แน่นอน

“ในทุกวันนี้ กลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกามีจำนวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับจำนวนผู้ใช้งานได้ถึง 2 ใน 3 ของกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมดจากทั่วโลก” Peter Daboll ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร comScore Media Metrix กล่าว

โดยผลสำรวจพบว่า ในสหรัฐอเมริกามีปริมาณผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก 152 ล้านคน ตามด้วยประเทศจีน 72 ล้านคน, ญี่ปุ่น 52 ล้านคน, เยอรมันนี 32 ล้านคน และอังกฤษ 30 ล้านคน

รองลงมาอีกคือ เกาหลีใต้ 24.6 ล้านคน, ฝรั่งเศส 23.9 ล้านคน, แคนาดา 19 ล้านคน, อิตาลี 16.8 ล้านคน และอินเดีย 16.7 ล้านคน

ส่วนประเทศอื่นที่มีปริมาณผู้ใช้อยู่ในกลุ่ม 15 อันดับแรก ได้แก่ บราซิล 13.2 ล้านคน, สเปน 12.5 ล้านคน, เนเธอร์แลนด์ 11 ล้านคน, รัสเซีย 10.8 ล้านคน และออสเตรเลีย 9.7 ล้านคน

ในด้านของเวลาที่ใช้ในการออนไลน์ ประเทศอิสราเอลเป็นผู้นำ ด้วยเวลาเฉลี่ยในการใช้งาน 57.5 ชั่วโมงต่อเดือน มากกว่าเวลาเฉลี่ยในการใช้งานของสหรัฐอเมริกาสองเท่า

และประเทศอื่น ที่มีเวลาเฉลี่ยในการใช้งานออนไลน์รองลงมาติด 5 อันดับแรก ได้แก่ ฟินแลนด์, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน

ซึ่งข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า “มีปริมาณการใช้งานในระดับสูงอยู่ในหลายประเทศยกเว้น สหรัฐอเมริกา โดยข้อเท็จจริงแล้ว สหรัฐอเมริกาไม่ติด 1 ใน 15 ประเทศแรกที่มีเวลาการใช้งานเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนสูงสุด” Daboll กล่าว

สำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากทั่วโลก อันดับหนึ่งได้แก่ เอ็นเอสเอ็นของไมโครซอฟท์ ซึ่งมีผู้ใช้งาน 538.6 ล้านคน ตามมาด้วย กูเกิล 495.8 ล้านคน และยาฮู 480.2 ล้านคน.


โดย วชิราภรณ์ บุญเสริฐ www.e-news.co.th

Wednesday, November 01, 2006

ราชพฤกษ์ 2549 เปิดงาน 1 พฤศจิกายน 2549


ราชพฤกษ์ – ต้นไม้ประจำชาติ และความหมายอันเป็นมงคล
“ราชพฤกษ์” เป็นชื่อต้นไม้ประจำชาติ ถือเป็นไม้มงคลที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย เนื่องจากมีดอกเป็นพวงระย้า สีเหลืองสด อันเป็นสีแห่งพระพุทธศาสนา และนอกจากนี้ สีเหลืองยังเป็นสีประจำวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

ด้วยเหตุนี้ ราชพฤกษ์ จึงได้ถูกเลือกให้เป็นชื่อของงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเฉลิมฉลองในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในปี 2549 และเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี 2550

ตราสัญลักษณ์
ประกอบขึ้นด้วยรูปทรงของดอกราชพฤกษ์ ที่พัฒนามาจากธรรมชาติ จริงของดอกราชพฤกษ์ มีสีเหลือง 5 กลีบ

ส่วนเกษรของดอกราชพฤกษ์ในตราสัญลักษณ์ ได้รับการออกแบบให้อยู่ในรูปทรงของตัวเลข ๙ ไทย อันสื่อความหมายว่า งานราชพฤกษ์ 2549 เป็นงานมหกรรมที่จัดขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ เนื่องในวโรกาสแห่งการเฉลิมฉลองที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษ 80 พรรษา


ราชพฤกษ์ 2549 – มอบความรักสู่มวลมนุษยชาติ
งาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 จัดแสดงบนพื้นที่รวม 470 ไร่ เป็นงานที่ได้รับการรับรองจาก สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และ สำนักงานมหกรรมโลก (BIE) โดยจะมีการแสดง ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ต่างๆ กว่า 2,200 ชนิด จำนวนกว่า 2 ล้าน 5 แสนต้น ซึ่งนับว่าเป็นมหกรรมพืชสวนโลกเขตร้อนชื้นที่สมบูรณ์ที่สุดของโลก

กิจกรรมสำคัญอีกประการหนึ่งภายในงาน ราชพฤกษ์ 2549 คือ การจัดสวนเฉลิมพระเกียรติฯซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ องค์กรภาครัฐและเอกชน รวมทั้งบริษัทมหาชนและรัฐวิสาหกิจ ได้มีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติฯและถวายความจงรักภักดี ด้วยการจัดสวน และการร่วมจัดแสดงกิจกรรมประเภทต่างๆ ภายในงาน

ด้วยการนำเสนอสาระสำคัญของการจัดงาน คือ การมอบความรักสู่มวลมนุษยชาติ ดังนั้น การจัดและตกแต่งสวนรวมทั้งกิจกรรมต่างๆ จึงมุ่งเน้นการสื่อสารให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติ และความรักที่ธรรมชาติมีต่อมวลมนุษย์ โดยเฉพาะพืชพรรณไม้ต่างๆ ที่ล้วนมีประโยชน์และคุณค่าต่อทุกชีวิต โดยให้ที่พักพิง คือ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ให้อาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ให้เครื่องนุ่งห่ม คือ เส้นใยไหมหม่อนที่นำมาทอเป็นเสื้อผ้าที่สวยงาม และให้ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ดังนั้น มนุษย์ จึงควรตระหนักในความสำคัญของธรรมชาติ และตอบแทนธรรมชาติด้วยการดูแลรักษา ทะนุบำรุง และขยายพันธุ์ ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นๆ ไป

และความรักที่ธรรมชาติมีต่อมวลมนุษย์นี้ เปรียบได้ดังความรักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ด้วยทรงห่วงใยและก่อตั้งโครงการในพระราชดำริต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันปกแผ่ให้ความร่มเย็นแก่ทุกชีวิตใต้ร่มพระบารมี
อ่านเพิ่มเติมที่ http://flora.prdnorth.in.th/index_th.php

Monday, October 30, 2006

RSS News


RSS
RSS หรือ Really Simple Syndication เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทาง ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป
ข่าวเด่น ข่าวเด่น
ข่าวล่าสุด http://www.rssthai.com/rss/lastest.xmlCar http://www.rssthai.com/rss/car.xml
Lifestyle http://www.rssthai.com/rss/lifestyle.xml
การศึกษา http://www.rssthai.com/rss/education.xml
IT http://www.mthai.com/technology/rss/use2.php
เทคโนโลยี http://www.thaisarn.com/rssnews/technology.xml
บันเทิง http://www.sos.rtaf.mi.th/rssnews.html
ข่าวไอที http://www.e-news.co.th/rss/rss.asp?cat=1
Media http://it.googeek.com/site/3/xml/it_News.xml

Read more:
http://www.rssthai.com/
http://www.thaisarn.com/th/doc_reader_module.php
http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=49565&menu=magazine,internet
http://it.googeek.com/index.php

Saturday, October 28, 2006

ไปดูเรือดูลอสที่คลองเตย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสไปซึ้อหนังสือที่เรือหนังสือ
เรือดูลอส ได้รับการบันทึกลงในหนังสือ "กินเนสส์บุค" ในฐานะเรือโดยสารเก่าแก่ที่สุด ซึ่งยังคงมีประสิทธิภาพในการเดินทาง สร้างเมื่อปี 2457 หลังจากเรือไททานิกจมได้ 2 ปี เรือดูลอสมีพนักงานเป็นอาสาสมัครคริสเตียนจำนวน 320 คน จาก 40 เชื้อชาติทั่วโลก และได้เดินทางจอดเทียบท่ามากกว่า 100 ประเทศ เพื่อส่งเสริมการศึกษาที่ดีและความรู้ความเข้าใจระดับนานาชาติ ผ่านร้านหนังสือบนเรือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

Thursday, October 19, 2006

Thai Library Association Annual Conference 2006

ข่าวสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2549 เรื่อง การจัดการห้องสมุดในยุคดิจิทัล วันที่ 18-21 ธันวามคม 2549

TLA ILIS workshop in November 2-3,2006
การสมัครเข้าร่วมโครงการ

นางสาวพูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ เหรัญญิกชมรมฯ
e - mail : priwatr@alpha.tu.ac.th
นางสาวประภาพร จงสมจิตต์ เลขานุการชมรมฯ 2 โทร. 02-4410594-6 ต่อ 1414, 1416
e - mail : icpjs@mahidol.ac.th

กำหนดการ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2549
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-10.00 น. การบรรยาย หัวข้อ " Introduction of a project proposal"
10.00-10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15-12.00 น. การบรรยาย หัวข้อ "Successful project proposal : Examples &Experiences.
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น. เยี่ยมชมห้องสมุดโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
14.00-14.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.15-16.30 น. ฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการ
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549
09.00-10.15 น. การบรรยาย เรื่อง How to evaluate a project proposal: Examples & Experiences.
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-11.00 น. Examples of Good Project Proposals.
11.00-11.30 น. นำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมประชุมของกลุ่ม 1
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.30 น. นำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมประชุมของกลุ่ม 2
13.30-14.00 น. นำเสนอผลงานของผู้เข้าร่วมประชุมของกลุ่ม 3
14.00-14.30 น. ประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะ
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น. พิธีแจกประกาศนียบัตรผู้เข้าร่วมประชุม

Workshop on Library Projects:

Workshop on Library Projects:

Workshop on Library Projects:
How to Develop the Project Proposal in English.
November 2-3, 2006
Room 702 Floor 7 Srinakarinwirot University Library

(Organized by The International Librarians and Information Specialists Group, under the Thai Library Association, The Thai Library Association, and Srinakarinwirot University Library.)

November 2, 2006

8.30-9.00 Registration
9.00-10.00 Introduction to a project proposal.
(Khun Lapapan Choovong, UNESCO)
10.00-10.15 Coffee Break
10.15-12.00 Successful project proposal : Best Practices.
Dr.Chutima Dr.Surithong Dr.Aree .Dr.Joseph
12.00-13.00 Lunch
13.00-14.00 Visit Demonstration School Library
A.Sutthidawan, Dr.Maria
14.00 – 14.15 Coffee Break
14.15-16.30 Practice how to write a project proposal.
Dr.Maria, Dr.Aree,A.Poolsook

November 3,2006

9.00-10.15 How to evaluate a project proposal : Examples & Experiences.
A.Daruna, Dr.Pensri, Dr.Namtip
A.Boonta (Moderator)
10.15-10.30 Coffee Break
10.30-11.00 Examples of Good Project Proposals.
Dr.Maria, Dr.Namtip,Mr.Jaffee Yee
11.00-11.30 Group Presentation by participants(Group 1) – Dr.Pensri
12.00-13.00 Lunch
13.00-13.30 Group Presentation by participants(Group 2) – A Pongpan
13.30-14.00 Group Presentation by participants(Group 3) – A.Sutthidawan
14.00-14.30 Discussions of the projects proposed.
Dr.Maria, Dr.Joseph, A.Poolsook
14.30-14.45 Coffee Break
14.45-16.00 Closing & Certificate session.


Registration fee:
1200 Baht for TLA Members
1500 Baht for Non-TLA Members

Apply to TLA ILIS EB at

priwatr@alpha.tu.ac.th

icpjs@mahidol.ac.th

Library adviser

World Wide Library -Library adviser

Monday, October 09, 2006

ความรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากการสร้าง web blog แล้วการสร้าง RSS XML feed ทำให้เราได้รับข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น ตัวอย่าง web blog ของนักศึกษาเช่น1234และอีกหลายๆคน กำลังส่งตามมา น่าสนใจจริงๆ ต้องลองทำ web blog ดู

Wednesday, October 04, 2006

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้
What is knowledge?สังคมความรู้
สังคมความรู้ สังคมความเห็น
กรณีศึกษา องค์ความรู้
สังคมเศรษฐกิจความรู้
จากปรัชญาถึงการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ ( KM ) หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้ อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ - สร้างความรู้ใหม่ - แสวงหาความรู้จากภายนอก - รักษาความรู้เก่า - กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ วางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บ ความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ - ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน - ใช้ภาษาเดียวกัน - ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ - การฝึกอบรม - หนังสือเวียน ฯลฯ
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
7. การเรียนรู้ กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.1 การเตรียมความพร้อม
- การมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร
- โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
- ทีม/หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- มีระบบการติดตามและประเมินผล
- กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
1.2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี
- กฎระเบียบ/ความยืดหยุ่น
- สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น
- ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
2. การสื่อสาร
- ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ
- ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน
- แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
3. กระบวนการและเครื่องมือ
- การเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ
- ชนิดของความรู้
- ลักษณะขององค์กร (ขนาด สถานที่ตั้ง ฯลฯ)
- ลักษณะการทำงาน
- วัฒนธรรมองค์กร
- ทรัพยากร
4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้
- เนื้อหา
- กลุ่มเป้าหมาย
- วิธีการ
- ประเมินผลและปรับปรุง
5. การวัดผล
- เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
- เพื่อนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น
- เพื่อนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของ การจัดการความรู้
6. การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ


สำนักงาน ก.พ.ร.กำหนดประเมิน KM อย่างไร ?
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2549 มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดที่ 13 ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ พิจารณาความสำเร็จ จาก 3 ประเด็นย่อย คือ
1. ผลสำเร็จของการส่งมอบแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่ง สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ส่วนราชการจัดส่งแผนการจัดการความรู้ของส่วนราชการ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2549
2. ระดับคุณภาพของรายละเอียดของแผนการจัดการความรู้ พิจารณา
2.1 มีรูปแบบ (Format) ของแผนจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ตรงตามที่กำหนด และได้ผ่านการตรวจสอบแล้วจาก CKO (Chief Knowledge Officer)
2.2 มีการระบุระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน
2.3 มีการระบุผู้รับผิดชอบของแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน
2.4 มีการระบุผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน
2.5 มีรายละเอียดของกิจกรรมที่สนับสนุนการสร้างหรือการเพิ่มพูนคลังความรู้ที่สอดคล้องประเด็น ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการจัดการความรู้

KM Economy

Knowledge Management
Knowledge economy
What Is Knowledge?
He who receives an idea from me receives instruction himself without lessening mine; as he who lights his taper at mine receives light without darkening me.

Thomas Jefferson

Unlike capital and labour, knowledge strives to be a public good (or what economists call "non-rivalrous"). Once knowledge is discovered and made public, there is zero marginal cost to sharing it with more users. Secondly, the creator of knowledge finds it hard to prevent others from using it. Instruments such as trade secrets protection and patents, copyright, and trademarks provide the creator with some protection.

Know-why and know-who matters more than know-what

There are different kinds of knowledge that can usefully be distinguished. Know-what, or knowledge about facts, is nowadays diminishing in relevance. Know-why is knowledge about the natural world, society, and the human mind. Know-who refers to the world of social relations and is knowledge of who knows what and who can do what. Knowing key people is sometimes more important to innovation than knowing scientific principles. Know-where and know-when are becoming increasingly important in a flexible and dynamic economy. Know-how refers to skills, the ability to do things on a practical level.

Knowledge gained by experience is as important as formal education and training

The implication of the knowledge economy is that there is no alternative way to prosperity than to make learning and knowledge-creation of prime importance. There are different kinds of knowledge. "Tacit knowledge" is knowledge gained from experience, rather than that instilled by formal education and training. In the knowledge economy tacit knowledge is as important as formal, codified, structured and explicit knowledge.

According to New Growth economics a country's capacity to take advantage of the knowledge economy depends on how quickly it can become a "learning economy'. Learning means not only using new technologies to access global knowledge, it also means using them to communicate with other people about innovation. In the "learning economy" individuals, firms, and countries will be able to create wealth in proportion to their capacity to learn and share innovation (Foray and Lundvall, 1996; Lundvall and Johnson, 1994). Formal education, too, needs to become less about passing on information and focus more on teaching people how to learn.

Life long learning is vital for organisations and individuals

At the level of the organisation learning must be continuous. Organisational learning is the process by which organisations acquire tacit knowledge and experience. Such knowledge is unlikely to be available in codified form, so it cannot be acquired by formal education and training. Instead it requires a continuous cycle of discovery, dissemination, and the emergence of shared understandings. Successful firms are giving priority to the need to build a "learning capacity" within the organisation.

Knowledge economy

Knowledge Economy
What is KM?
Defining the knowledge economy
สังคมเศรษฐกิจความรู้
ความรู้เป็นปัจจัยพื้นฐานของทุน ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันKnowledge-Based Economy ซึ่งมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Knowledge-Based Societies, Knowledge Economy, Personalized Economy, New Global Economy, Learning Economy, Flexible Specialization ฯลฯ โดยกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่หมายถึง Knowledge-Based Economy อันได้แก่ การที่ความรู้ (Knowledge) เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแบบยั่งยืน ในขณะที่ยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งเราอาจได้ยินในชื่อ เศรษฐกิจพึ่งพาความรู้ วิทยเศรษฐกิจ เศรษฐกิจแห่งปัญญาและการเรียนรู้ ในที่นี้จะขอเรียก Knowledge-Based Economy ว่าสังคมเศรษฐกิจความรู้
ความหมายหรือแนวคิดเรื่องสังคมเศรษฐกิจความรู้ขององค์การเวทีระหว่างประเทศ ได้แก่
1. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development: OECD) OECD ใช้คำว่า Knowledge-Based Economy ในการเรียกสังคมเศรษฐกิจความรู้ โดยเน้นมิติทางเศรษฐกิจมากว่ามิติด้านอื่นๆ ในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ มีเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน มีความรู้เป็นปัจจัยการผลิตและการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการพัฒนา ความมั่งคั่งของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการสร้างความรู้ และระดับการไหลเวียนของความรู้ในระบบเศรษฐกิจ
2. ธนาคารโลก (The World Banks) ธนาคารโลกมองว่าศูนย์กลางของปัญหาการพัฒนาคือปัญหาเกี่ยวกับความรู้ โดยเงินเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง ในขณะที่การมีความรู้และรู้ว่าจะต้องทำอะไร เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบแบบยั่งยืนในสังคมเศรษฐกิจความรู้ คือความสามารถในการเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council: ECOSOC) ECOSOC ใช้คำหลายคำเรียกสังคมเศรษฐกิจความรู้ เช่น Knowledge-Based Economy, Society Digital economy และ Information and knowledge society ในการประชุมและดำเนินการในเรื่องการพัฒนากับความร่วมมือระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 โดยมีแนวทางหลักว่าความรู้และข้อมูลข่าว-สารเป็นหัวใจสำคัญของสังคมเศรษฐกิจความรู้และเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดสิ่งต่างๆ คือ (1) การเปลี่ยนแปลงของการแบ่งงานระหว่างประเทศ (2) ก่อให้เกิดแบบแผนใหม่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (3) ขีดความสามารถในการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจและของบริษัทเอกชน (4) ก่อให้เกิดแบบแผนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแนวใหม่ (5) ก่อให้เกิดสินค้าใหม่ที่ไม่เคยรู้จัก (6) สร้างงานชนิดใหม่ (7) ก่อให้เกิดวิถีชีวิตแนวใหม่ ทั้งนี้ การเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจความรู้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจระหว่างผู้นำชาติ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจและประชาชนโดยส่วรรวม ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการเข้าสู่และพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือ (1) ภาวะผู้นำ (Leadership) (2) วิสัยทัศน์ (Vision) (3) การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ที่มีเอกภาพและประสานสอดคล้องกัน (Articulation of policies and a coherent strategy) (4) การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ( Efficient implementation)
4. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) APEC ได้ให้ความหมายของสังคมเศรษฐกิจความรู้ (Knowledge-based economy) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ระบบการผลิต การกระจายสินค้า/บริการและการใช้ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความมั่งคั่งและการจ้างงาน APEC ยังกล่าวอีกว่า Knowledge-based economy นั้น เป็นยิ่งกว่า New economy หรือ Information economy โดยที่ Knowledge-based economy ที่แท้จริงนั้น ทุกภาคของสังคมและระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาความรู้สูง (Knowledge-intensive) มิใช่พึ่งพาเทคโนโลยีระดับสูงแต่เพียงอย่างเดียว และจากรายงาน "Building for The New Economy” ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมอาวุโส APEC อย่างไม่เป็นทางการ (Informal SOM) ครั้งที่ 12 ณ ประเทศบรูไน ยังแสดงให้เห็นถึงแตกต่างและความเกี่ยวข้องระหว่าง Knowledge-based economy กับ New economy โดย New economy เน้นที่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่ Knowledge-based economy ให้ความสำคัญแก่การใช้ความรู้ในทุกภาคของระบบเศรษฐกิจ แต่ทั้งสองแนวคิดก็มีรากฐานจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในอันที่จะเสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม และประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ โดยความความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เสริมให้แนวทางของ knowledge-based economy มีความเด่นชัดขึ้น จากการที่การแสวงหาและกระจายความรู้ได้รับการสนับสนุนจากการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนตที่มากขึ้น
การแบ่งกลุ่มองค์ประกอบและมิติของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. เป้าหมายของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ หากประเทศหรือระบบเศรษฐกิจใดตัดสินใจที่จะพัฒนาไปสู่สังคมเศรษฐกิจความรู้แล้ว ขั้นตอนแรกคงจะต้องกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ว่าจะเน้นเป้าหมายในเรื่องใดบ้าง เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการพัฒนาแบบยั่งยืนและการขจัดความยากจน เป็นต้น
2. องค์ประกอบร่วมของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม ได้มีองค์ประกอบและมิติร่วมหลายประการ อันได้แก่
(1) การกำหนดนิยามและขอบเขตความรู้และการพัฒนาความรู้ (Knowledge development) ซึ่งแต่ละประเทศต้องกำหนดนิยามและขอบเขตดังกล่าวให้สอดคล้องกับเป้า-หมายของการพัฒนา สภาพพื้นฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งสภาพปัญหาของประเทศหรือระบบเศรษฐกิจสังคมนั้น ๆ
(2) การกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วย ICTs เพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ รวมทั้งการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศแห่งชาติ (National information infrastructure / NII)
(3) การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาสนับสนุนการสร้างความรู้ การใช้ความรู้และการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติ
(4) การกำหนดกลยุทธ์การศึกษา รวมทั้งกลยุทธ์เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ ต้องมีนโยบายการพัฒนาทุนมนุษย์ ขีดความสามารถทางสังคม
(5) กลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) รวมทั้งการพัฒนาสังคมสารสนเทศ (Information society)
(6) การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานของความรู้ (Knowledge-based industries/KBI) ซึ่งอาจมีประเด็นพิจารณา เช่น พิจารณาว่าจะพัฒนาอุตสาหกรรมใดบ้างไปสู่ KBI และจะพัฒนา KBI ให้มีสัดส่วนเท่าใดของโครงสร้างอุตสาหกรรมและของ GDP
(7) การสร้างและพัฒนาพลังและระบบการกระจายความรู้ (Knowledge distribution power/systems) ซึ่งจะต้องพิจารณาการสร้างเครือข่ายความรู้ (Knowledge network) เพื่อให้ทุกหน่วยของสังคมสามารถเข้าถึงความรู้ได้ รวมทั้งการพัฒนาระบบเรียนรู้ร่วมกัน (Knowledge sharing) และการจัดการความรู้ (Knowledge management)
(8) การสร้างและพัฒนาดัชนีความรู้ (Knowledge indicators) เพื่อชี้วัดความรู้ องค์ประกอบและระดับความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้
(9) กลยุทธ์และขั้นตอนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้า ซึ่งต้องพิจารณาถึงกลยุทธ์และขั้นตอน ตลอดจนเงื่อนไขในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้า เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ไม่ให้การเปิดเสรีดังกล่าวมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ
(10) ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการพัฒนาความรู้และองค์ประกอบของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความรู้ระดับโลก (World knowledge network)
(11) กลยุทธ์ใหม่ของอุตสาหกรรมและบริษัท รวมทั้งกลยุทธ์ใหม่ด้านการตลาด ซึ่งภาคธุรกิจและเอกชนต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวอย่างรวดเร็ว
3. องค์ประกอบอื่น ๆ ของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ องค์ประกอบและมิติอื่น ๆ ของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้เป็นองค์ประกอบและมิติที่อาจจำเป็นหรือเหมาะสมกับประเทศหนึ่ง แต่อาจมีลำดับความสำคัญน้อยหรือเป็นขั้นตอนที่ยังอยู่ไกลเกินไปสำหรับประเทศอื่น ๆ องค์ประกอบอื่น ๆ เหล่านั้น เช่น
-เศรษฐกิจใหม่ (New economy) ซึ่งมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเน้นมิติทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมิติการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจใหม่อาจเป็นระเบียบวาระของประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอาจเลือกเพียงบางเรื่องของเศรษฐกิจใหม่ เช่นการทำธุรกิจอินเตอร์เนต มาเป็นระเบียบวาระในการพัฒนาของตน
-ระบบความรู้ทางการเกษตร (Agricultural Knowledge system/AKS) ซึ่งอาจมีความจำเป็นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอาจมีระเบียบวาระและจุดเน้นของการพัฒนา AKS ที่แตกต่างไปจาก AKS ของประเทศกำลังพัฒนา
-ความรู้กับการพัฒนาแบบยั่งยืน (Knowledge and sustainable development) ซึ่งโดยทั่วไปความรู้กับการพัฒนาแบบยั่งยืนจะเป็นหัวข้อหรือระเบียบวาระการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา เช่น ความรู้กับสิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณสุข ระบบข้อมูลทางการเงินการธนาคาร และการพัฒนาประชาธิปไตยและการบริหารการจัดการ (Governance) เป็นต้น
- มิติด้านการค้าระหว่างประเทศ และการเปิดเสรีหรือเจรจาความตกลงเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement) ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศต้องตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมการเจรจาและการเปิดเสรีหรือไม่ ในระดับใด
สังคมเศรษฐกิจความรู้ในประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีความตื่นตัวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจใหม่มากขึ้น โดยทั้งภาครัฐและเอกชนต่างตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐซึ่งจะต้องมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้ริเริ่มแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว โดยมีส่วนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
• คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee) จัดตั้งขึ้นในปี 2535 โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีหน้าที่หลักคือเสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการทั้งสิ้น 18 ชุด เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศในด้าน ต่าง ๆ เช่น การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน โทรคมนาคม การปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการผลิต การบริการ การวิจัยและพัฒนาให้มีเทคโนโลยีด้านสารสนเทศขึ้นในประเทศไทย
• การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ภายใต้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ – กนศ.) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2540 ซึ่งทำหน้าที่ในการพัฒนา รวมทั้งกำหนดท่าทีและนโยบายของประเทศไทยในการเจรจาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
• การจัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center : ECRC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม เผยแพร่ข้อมูลและความคืบหน้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อสาธารณะ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541) เพื่อศึกษาและยกร่างกฎหมายที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย 5 ฉบับ โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ กฎหมายเหล่านี้ได้แก่
o ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
o กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
o กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
o กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
o กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
• โครงการสร้างวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการระดับสูง (ระดับ 9 – 11) มีความรู้ความเข้าใจ มองเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนในการพัฒนาโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร โดย เชื่อมโยงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปในกระบวนการทำงานที่มีเป้าหมายอยู่ที่การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน
• โครงการพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม โดยมี NECTEC และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ มี วัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมของอุปกรณ์โทรคมนาคมไปผลิตเป็นอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพื่อเป็นสินค้าส่งออก โดยมีเครื่องหมายการค้าเป็นของไทย (Thai Brand Name)
• โครงการสำนักบริการสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) หรือ Government Information Technology Service (GITS) เป็นโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network : GINet) ให้สามารถบริการด้านการสื่อสารข้อมูลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่รหัสทางไกลทั่วประเทศไทยพร้อมกับการพัฒนาระบบสำคัญ ๆ ที่ต้องใช้งานระหว่าง หน่วยงานของรัฐ เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงระหว่างหน่วยงาน การแจ้งเวียนเอกสารราชการ การปรับปรุงระบบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ เป็นต้น
• โครงการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software Park) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เองและลดการนำเข้า
• โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยเฉลิมพระเกียรติ (School Net) เนื่องในวโรกาสฉลองงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีเป้าหมายให้โรงเรียนมัธยมทุกโรงเรียนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตหาความรู้ได้ อบรมครูและ นักเรียนให้รู้จักวิธีใช้และดูแลระบบ การบริการเครือข่าย ให้โรงเรียน 5,000 โรงเรียนเข้าระบบอินเตอร์เน็ตได้ฟรีจากทั่วราชอาณาจักร โดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล ทั้งนี้เพื่อเตรียมการ รองรับการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไป
นอกจากนี้ประเทศไทยยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา E-Commerce ในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ เช่น
• ความร่วมมือด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Initiative) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เห็นชอบให้มีการดำเนินความร่วมมือด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน โดยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ภายใต้ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) โดยมีคณะทำงานเฉพาะกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน ซึ่งคณะทำงานเฉพาะกิจดังกล่าว ได้ทำหน้าที่ศึกษานโยบายและดำเนินการสาระของโครงการอาเซียนอิเล็กทรอนิกส์ไว้ 5 เรื่องคือ (1) การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศของอาเซียน ซึ่งจะต้องมีการวางผังโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ASEAN backbone) รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลของอาเซียน (2) การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการผลักดันให้เกิดความมั่นใจในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อาทิเช่น การมีกฎหมายรองรับ การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล เป็นต้น (3) การเปิดเสรีด้านการค้า การบริการและการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยในด้านการค้าจะต้องลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องให้เหลือร้อยละ 0 ทางด้านบริการจะเน้นการเปิดเสรีทางด้านบริการโทรคมนาคมและบริการวิชาชีพ ทางด้านการลงทุนจะเปิดให้ประเทศในอาเซียนสามารถลงทุนในด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยเสรีมากขึ้น (4) ด้านสังคม จะเน้นให้เกิดสังคมอิเล็กทรอนิกส์กล่าวคือ สังคมอาเซียนจะสามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง (5) การสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเน้นการให้บริการประชาชนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น การเสียภาษีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนการค้า พิธีการศุลกากร
• สำหรับกรอบเอเปค ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน ณ กรุงบันดาร์เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ได้ให้ความสำคัญกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก โดยเน้นให้มีการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิก การมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และการจัดทำกรอบกฎหมายที่สอดคล้องกัน โดยให้พิจารณานำเอากฎหมายของ UNCITRAL เป็น แม่แบบ นอกจากนั้น ไทยเสนอให้มีการรวบรวมสิ่งที่ได้ดำเนินการอยู่ในเอเปคในเรื่องเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้เห็นภาพรวมและสามารถจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไปได้ รวมทั้งให้มีการสำรวจความต้องการของประเทศสมาชิกกำลังพัฒนา เพื่อจัดทำกรอบ ความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค และแผนงานของแต่ละสมาชิก ตลอดจนให้ประสานกับองค์การการค้าโลก เกี่ยวกับงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการดำเนินงานอยู่แล้วใน WTO ด้วย
(ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ Knowledge-Based Economy http://www.dtn.moc.go.th/web/98/125/know.asp)

ในสังคมเศรษฐกิจความรู้ “ความรู้” เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแบบยั่งยืน
ส่วนคำว่า “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy) คือ ระบบเศรษฐกิจซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น Digital Economy, Internet Economy, Impulse Economy
องค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมสังคมเศรษฐกิจความรู้ คือ
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ด้านระบบการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
3. ด้านการศึกษา
4. ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ

KM World Bank

Knowlege Management-World Bank

Friday, March 17, 2006

โครงการครูนักอ่านนักเขียน

วันนี้(17 มี.ค.49) ประทับใจกับโครงการครูนักอ่านนักเขียนที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมมาก ขอบคุณครู อาจารย์ จากโรงเรียนในชุมชนบางเขนอย่างมาก ที่ทำให้เราได้มี web log เพื่อการสื่อสารอย่างน่าสนใจ

Friday, January 13, 2006

เด็กฉลาด ชาติเจริญ

เด็กฉลาด ชาติเจริญ ?
คำกล่าวที่ว่า ภาษาเป็นหน้าต่างของความคิด น่าจะใช้ได้ทุกยุคสมัย ดังเช่นคำขวัญวันเด็กที่เหล่าผู้นำประเทศต้องออกมาหยิบยื่นให้น้องๆ หนูๆ ทุกปี คำขวัญเหล่านั้นล้วนสะท้อนตัวตนของท่านผู้นำและยุคสมัยได้อย่างดี
อ่านเพิ่มเติมที่

คำขวัญวันเด็กปีนี้

วันเด็กปีนี้ เด็ก ๆ อดนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
“ทักษิณ ชินวัตร” ร่วมงานวันเด็ก ที่ทำเนียบรัฐบาล กิจกรรมต่าง ๆ ยังคงมีเหมือนทุกปี แต่ปีนี้งดให้เด็ก ๆ นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูป เพราะไม่สะดวก
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงคำขวัญวันเด็กปีนี้ “อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด” ว่า เพราะต้องการให้เด็กรู้ว่า จะทำอย่างไรถึงจะเป็นเด็กที่ดีได้ สมัยก่อนมีแต่บอกว่า ให้มีวินัย มีความซื่อสัตย์ แต่ส่วนตัวจะเน้นให้เด็กมีความคิด รู้จักที่จะเรียนรู้ และว่าตลอดการทำงาน 5 ปีที่ผ่านมา จะเน้นให้เด็กเรียนรู้การเรียน ความฉลาด ดังนั้น ต้องคิดให้เป็น และต้องอ่านหนังสือ และยังเตรียมกระป๋องออมสินไว้มอบให้กับเด็ก ๆ ด้วย
อ่านเพิ่มเติมที่

นโยบายที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ.

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.)ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ทีโรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ
อ่านเพิ่มเติมที่นี่

Wednesday, January 11, 2006

หลากหลายบทความด้านห้องสมุด

The Library Link of the Day provides you a daily link for keeping up to date with the library profession. Destinations include the latest library news, good reads on the web, and other valuable resources that a library knowledge worker should know about. The link is presented without commentary. Links always lead to free content, but sometimes require registration (also free).
อ่านเพิ่มเติมที่นี่

Thursday, January 05, 2006

ฝึกฝนการอ่านเร็ว

จากผลการวิจัยระบุว่ามนุษย์เราใช้พื้นที่สมองเพียงแค่ 5% - 10% คนส่วนใหญ่จะใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าสมองซีกขวา ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การเรียน การทำงาน ซึ่งยังมีพื้นที่สมองอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้งานหรือใช้งานน้อยมาก ดังนั้นประเทศญี่ปุ่นจึงได้ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย วิธีการดึงสมองส่วนนั้นมาใช้งาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ในด้านต่างๆให้มากขึ้น
หากวิเคราะห์โครงสร้างของสมองจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ สมองซีกซ้าย และ สมองซีกขวา
ปัจจุบันที่ประเทศญี่ปุ่น มีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับสมองที่เชื่อมโยงกับการอ่านเร็ว โดยได้มีการทำวิจัยและทดลองในเรื่องดังกล่าวที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด กับคนที่มีความเชี่ยวชาญในการอ่านเร็ว 15 คน และคนที่อ่านไม่เร็ว 9 คน รวมทั้งหมด 24 คน ซึ่งการทดลองได้วัดผลการเปลี่ยนแปลงการทำงานสมองกับการอ่านเร็วด้วย Optical Topography Device (ETG-100 ของ Hitachi Medical Corporation)
ผลการทดลองสรุปได้ว่า คนที่ได้รับฝึกฝนด้วย Speed Reading เมื่อวัดด้วย Optical Topography Device จะเห็นการทำงานของสมองซีกขวาด้านหน้าเพิ่มขึ้น
ดูเพิ่มเติมที่ SR website

Wednesday, January 04, 2006

รุกปฏิรูปโรงเรียนรับปี"49 "สพฐ."สานต่อ"ห้องสมุดมีชีวิต"

Dekkid School News

รุกปฏิรูปโรงเรียนรับปี"49 "สพฐ."สานต่อ"ห้องสมุดมีชีวิต"
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้มอบนโยบายให้คณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และคณะอนุกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ช่วยดำเนินการบูรณาการเรื่องการประเมินวิทยฐานะ การอบรมและพัฒนาครู การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และการพัฒนาวิชาชีพครู ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนรู้สึกได้ว่าในปี 2549 นี้ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียน ตลอดจนรู้สึกว่าเกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นจริงที่โรงเรียนแล้ว

ด้านนางอารีรัตน์ วัฒนสิน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จะเร่งทำความเข้าใจกับโรงเรียนเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน โดยกำหนดให้นิยามและแนวการจัดการศึกษาแต่ละระดับชั้นให้ชัดเจน ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล นอกจากนี้ จะทำจุดเน้นด้านการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน 6 เรื่อง ได้แก่ การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การวัดประเมินผลตามสภาพจริงและคุณธรรม จริยธรรม การจัดห้องสมุดแบบมีชีวิตตามระดับและขนาดของสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมสร้างวินัยการอ่านในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น โดยจะให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำความเข้าใจและจัดอบรมแก่ครูทั่วประเทศในราวเดือนกุมภาพันธ์ และจะลงพื้นที่ประเมินผลการปฏิบัติการของโรงเรียนว่ามีการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางที่กำหนดหรือไม่ประมาณเดือนกรกฎาคม
อ่านที่ ข่าวการศึกษา