การจัดการความรู้
What is knowledge?สังคมความรู้
สังคมความรู้ สังคมความเห็น
กรณีศึกษา องค์ความรู้
สังคมเศรษฐกิจความรู้
จากปรัชญาถึงการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ ( KM ) หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้ อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ - สร้างความรู้ใหม่ - แสวงหาความรู้จากภายนอก - รักษาความรู้เก่า - กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ วางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บ ความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ - ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน - ใช้ภาษาเดียวกัน - ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ - การฝึกอบรม - หนังสือเวียน ฯลฯ
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
7. การเรียนรู้ กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง กระบวนการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.1 การเตรียมความพร้อม
- การมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร
- โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
- ทีม/หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- มีระบบการติดตามและประเมินผล
- กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
1.2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี
- กฎระเบียบ/ความยืดหยุ่น
- สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น
- ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
2. การสื่อสาร
- ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ
- ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน
- แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
3. กระบวนการและเครื่องมือ
- การเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ
- ชนิดของความรู้
- ลักษณะขององค์กร (ขนาด สถานที่ตั้ง ฯลฯ)
- ลักษณะการทำงาน
- วัฒนธรรมองค์กร
- ทรัพยากร
4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้
- เนื้อหา
- กลุ่มเป้าหมาย
- วิธีการ
- ประเมินผลและปรับปรุง
5. การวัดผล
- เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
- เพื่อนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น
- เพื่อนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของ การจัดการความรู้
6. การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล สร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ
สำนักงาน ก.พ.ร.กำหนดประเมิน KM อย่างไร ?
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2549 มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดที่ 13 ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ พิจารณาความสำเร็จ จาก 3 ประเด็นย่อย คือ
1. ผลสำเร็จของการส่งมอบแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่ง สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ส่วนราชการจัดส่งแผนการจัดการความรู้ของส่วนราชการ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2549
2. ระดับคุณภาพของรายละเอียดของแผนการจัดการความรู้ พิจารณา
2.1 มีรูปแบบ (Format) ของแผนจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ตรงตามที่กำหนด และได้ผ่านการตรวจสอบแล้วจาก CKO (Chief Knowledge Officer)
2.2 มีการระบุระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน
2.3 มีการระบุผู้รับผิดชอบของแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน
2.4 มีการระบุผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน
2.5 มีรายละเอียดของกิจกรรมที่สนับสนุนการสร้างหรือการเพิ่มพูนคลังความรู้ที่สอดคล้องประเด็น ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการจัดการความรู้