Tuesday, August 19, 2008

สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่

สอนทักษะการอ่านหนังสือแนวใหม่
สอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับจากการอ่าน

เมื่อผู้เรียนได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ หรือต้องการย้ำความเข้าใจจากการอ่านหนังสือครูผู้สอนอาจสอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปความสั้นๆ หรือทำเป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือทำอะไรก็ได้ตามจินตนาการของผู้เรียนไว้มุมใดมุมหนึ่งของหนังสือ การทำเช่นนี้เป็นเหมือนการที่ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้จดจำและสามารถทบทวนในสิ่งที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือทั้งเล่ม
สอนให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้อ่าน

ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักการโต้ตอบกับผู้เขียนระหว่างการอ่านหนังสือ ไม่ควรเป็นผู้รับรู้ข้อมูลเพียงอย่างเดียวโดยแนะนำให้ผู้เรียนเขียนสื่อสาร หรือใช้ภาษาสัญลักษณ์ลงไปในหนังสือด้วย หากผู้เรียนได้นำเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หรือต้องการเสนอความคิดจากสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอมา เช่น ขีดเส้นข้อความที่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย แล้วลากเส้นโยงออกมา เขียนไว้ว่า “ ความคิดนี้สุดยอดจริงๆ ” “ตรงนี้ไม่เห็นด้วยเขียนแง่ลบเกินไป” เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างผู้เรียนให้เป็นคนที่มีทักษะการคิด วิเคราะห์ และการคิดเชิงสร้างสรรค์

สอนให้ผู้เรียนเขียน หรือแสดงสัญลักษณ์ เพื่อมีคำตอบจากการอ่านหนังสือ

ครูผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามในการอ่านไม่ควรเชื่อในสิ่งที่ผู้เขียน เขียนมาทั้งหมด และเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจและมีข้อสงสัยควรแนะนำให้ผู้เรียนใส่เครื่องหมายคำถาม (?) หรือเขียนประเด็นที่สงสัย หรือยังไม่เข้าใจ ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม หรือสอบถามผู้รู้ และเขียนกำกับไว้ด้วยว่าเราไม่เข้าใจอะไร หรืออาจเขียนกำกับไว้ด้วยว่าจะต้องทำอะไรต่อไป เช่น “ ตรงนี้ต้องถามอาจารย์ ” “ ไปค้นพบในห้องสมุด ” เป็นต้น
อ่านรายละเอียด


ทักษะการอ่านพื้นฐานการเรียนรู้และการทำงาน
ประเด็นถกเถียงในเรื่องการอ่านหนังสือของคนไทย เป็นสิ่งที่มีการพูดคุยกันมานาน แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงกันมากนักคือ“ความสามารถด้านทักษะการอ่านหนังสือของคนไทย” การอ่านหนังสือจำนวนมากหรือน้อยอาจไม่สำคัญเท่ากับ ผู้อ่านได้รับอะไรจากสิ่งที่อ่านหรือผู้อ่านได้นำสิ่งที่ได้อ่านนั้นไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ขึ้นอยู่กับวิธีการอ่านเป็นสำคัญ ผู้อ่านที่ขาดทักษะการอ่าน แม้อ่านหนังสือมากแต่อาจไม่ได้รับประโยชน์ก็เป็นได้

ทักษะการอ่าน เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักวิชาการด้านการศึกษาในสหรัฐอเมริกา หลุยส์ เอ็ม โกเมซ (Louis M. Gomez) ศาสตราจารย์ด้านศาสตร์แห่งการเรียนรู้ (Learning Sciences) แห่งสถาบันสอนนโยบายการศึกษาและสังคม (school of Education and Social Policy) มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) และผู้ช่วยศาสตราจารย์คิมเบอร์ลี่ โกเมซ (Kimberley Gomez) วิทยาลัยการศึกษา (College of Education) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ออกมาแสดงความคิดเห็นในนิตยสาร Phi Delta Kappan ฉบับเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เรื่อง “Reading for Learning: Literacy support for 21st Century Work” ไว้ว่า การขาดทักษะการอ่านของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลต่อการทำงานในอนาคต

นักวิชาการทั้ง 2 ท่าน กล่าวว่า เศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ต้องการแรงงานคนที่มีทักษะการคิดเชิงสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และในอนาคต อาชีพที่จะเติบโตมากที่สุดคือ อาชีพที่อาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและอาชีพด้านงานบริการ ทั้ง 2 อาชีพ ต้องอาศัยทักษะการสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่าง โดยเครื่องมือสำคัญที่จะทำผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวคือ “การอ่านเพื่อการเรียนรู้” เนื่องจากการอ่านต้องอาศัยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จนสามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์ อ่านรายละเอียด