Friday, May 30, 2008

องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ (building blocks) ที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ อ่านรายละเอียด
1)สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (supportive learning environment)
2)กระบวนและการดำเนินการการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม (concrete learning processes and practices)
3)พฤติกรรมของผู้นำที่กระตุ้นการเรียนรู้ (leadership that reinforcing learning)
1.สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ (supportive learning environment) หมายถึง สภาพแวดล้อมขององค์กรที่สนับสนุนให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ เนื่องเพราะองค์กรจะเรียนรู้ไม่ได้หากบุคลากรไม่มีการเรียนรู้ บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะเกื้อหนุนต่อการเรียนรู้ของบุคลากร และนำไปสู่การเรียนรู้ขององค์กรในที่สุด องค์ประกอบข้อนี้จะประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่สำคัญขององค์กร 4 ประการ คือ
1.1.องค์กรจะต้องมีบรรยากาศของ "ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา" (psycho logical safety) กล่าวคือคนจะเรียนรู้ดีได้ ก็ต่อเมื่อคนไม่มีความรู้สึกหวาดกลัวว่าจะเป็นภัยอันตราย ถูกกลั่นแกล้ง รังแก คุกคาม หัวเราะเยาะ ดูถูก ฯลฯ หากเขาหรือเธอแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย ตั้งคำถามที่หน่อมแน้มไร้เดียงสา แสดงการยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง หรือ แสดงความเห็นที่แตกต่างไม่เหมือนคนอื่น
1.2.องค์กรจะต้อง "ชื่นชมยอมรับในความแตกต่าง" (appreciation of differences) การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เมื่อคนตระหนักว่ามีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย การยอมรับในคุณค่าของทรรศนะและโลกทัศน์ที่ขัดแย้งหลากหลายและใช้การได้จะเป็นพลังให้คนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
1.3.องค์กรจะต้อง "เปิดกว้างต่อทรรศนะใหม่ๆ" (openness to new ideas) การเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องแล้วหาทางออกให้กับปัญหาที่ผ่านมา แต่ยังหมายถึงการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ พนักงานควรได้รับการส่งเสริมให้กล้าเสี่ยงและสำรวจหาสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยทดสอบหรือยังไม่รู้จัก
1.4.องค์กรจะต้อง "มีเวลาให้ได้คิด เชิงสะท้อน" (time for reflection) แหล่งข้อมูล
องค์กรแห่งการเรียนรู้ อ่านรายละเอียด
2.1 องค์กรจะต้องส่งเสริม "ให้มีการทดลอง" (experimentation) เช่น การส่งเสริมบุคลากรคิดหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำงาน ส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาและทดสอบสินค้าและบริการใหม่ๆ
2.2 องค์กรส่งเสริมให้ "มีการเก็บรวบรวมข้อมูล" (information collection) โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและแนวโน้มด้านการแข่งขัน คู่แข่งขัน ลูกค้า แนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย และเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.3 องค์กรส่งเสริมให้ "มีการวิเคราะห์" (analysis) โดยจัดให้บุคลากรได้มีการสนทนา (dialogue) อภิปราย (discuss) แล้วตีความข้อคิดเห็นและข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและระบุหาปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
2.4 องค์กรจัดให้มี "การศึกษาและ ฝึกอบรม" (education and training) เพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งกลุ่มใหม่และกลุ่มเก่าได้มีความรู้ความสามารถในการทำงานอย่างเพียงพอ
2.5 องค์กรจัดให้มี "การถ่ายโอนข้อมูล" (information transfer) นั่นคือจะต้องมีการแบ่งปันข้อมูลและความรู้อย่างเป็นระบบและทั่วถึงทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่มและระดับองค์กรโดยรวม โดยทั่วไปมักจะใช้ "กระบวนการแบ่งปันความรู้" (knowledge sharing process) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากทั้งผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจากสายงานอื่น ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอื่น การเรียนรู้จากลูกค้าและผู้รับบริการ การเรียนรู้จากซัพพลายเออร์ ฯลฯ
3.ภาวะผู้นำที่กระตุ้นการเรียนรู้ (leadership that reinforcing learning) ผลการศึกษาของทุกสำนักล้วนชี้ให้เห็นว่า องค์กรจะพัฒนาหรือไม่พัฒนา จะเรียนรู้หรือไม่เรียนรู้ ล้วนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้นำ แหล่งข้อมูล

การสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ระดมสมองสร้าง HPO เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ขีดสมรรถนะที่สูง