Thursday, September 18, 2008

การจัดระบบเงินเดือนและสวัสดิการเพื่อการพัฒนาองค์กรสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร สุวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดระบบเงินเดือนและสวัสดิการ เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่มหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ : บทสะท้อนจากพนักงานมหาวิทยาลัย” เผยผลการวิจัยฯ ว่า จากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ใน 8 สถาบัน ได้แก่ มก. ม.ศิลปากร ม.นเรศวร ม.ราชภัฏนครปฐม ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าในส่วนของเงินเดือนขั้นต้น 54.8% ไม่พอใจ 43.0% พอใจ เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ 41.6% พอใจ 33.8% ไม่พอใจ เงินเพิ่มพิเศษ 47.0% พอใจ 27.0% ไม่พอใจ เงินโบนัส 42.0% ไม่พอใจ 32.0% พอใจ การเลื่อนขั้นเงินเดือน 48.4% ไม่พอใจ 44.8% พอใจ เงินสวัสดิการ 60.9% ไม่พอใจ 35.9% พอใจ ส่วนที่เหลือไม่ตอบคำถาม

นาวาอากาศโท ดร.สุมิตร กล่าวต่อไปว่า ผลการวิจัยยังพบว่า มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบส่วนใหญ่ไม่ได้ทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ไว้ว่าเงินเดือนสายวิชาการได้ 1.7 เท่าของเงินเดือนแรกเข้าของข้าราชการปัจจุบัน สายสนับสนุน 1.5 เท่าฯ โดยเงินเดือนเริ่มต้นสายวิชาการ มก.อยู่ที่ 1.5 เท่าฯ ม.ศิลปากร อยู่ที่ 1.45 เท่าฯ ม.นเศวร อยู่ที่ 1.6 เท่าฯ ม.แม่ฟ้าหลวง 2 เท่าฯ และจุฬาฯ 1.55 เท่าฯ เป็นต้น ดังนั้นคณะวิจัยจึงเสนอแนวทางว่า การจัดระบบเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยควรยึดมติ ครม.ที่ให้ไว้ และสวัสดิการหรือผลประโยชน์ก็ควรไม่น้อยกว่าระบบราชการ.แหล่งข้อมูล