29 กุมภาพันธ์ ตามสุริยคติถือว่าเป็นปีอธิกสุรทิน หรือ 4 ปี มี 1 หน
ปีอธิกสุรทิน
การแบ่งปีตามหลักปฏิทินสากลแบ่งได้เป็นปีปกติมี 365 วัน และปีอธิกสุรทินมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ขึ้นมาอีกหนึ่งวัน การให้มีปีอธิกสุรทิน เพราะโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 365.24218...ดังนั้นจึงต้องมีการปรับให้จำนวนวันต่อปีไม่คลาดเคลื่อนกับวิถีการโคจร
วันนี้ในอดีต 29 กุมภาพันธ์ วันที่มีเฉพาะในปีอธิกสุรทิน
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 60 ของปีอธิกสุรทิน ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 306 วันในปีนั้น ปีที่มีวันนี้จะเรียกว่าปีอธิกสุรทิน วันนี้จะปรากฏขึ้นในทุกๆ รอบ 4 ปี เมื่อปีนั้น (ในรูป ค.ศ.) หารด้วย 4 ลงตัว แต่กฎเกณฑ์นี้มีข้อยกเว้น 2 กรณีคือ
1. ถ้าปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 100 ลงตัว ให้เป็นปีปกติสุรทิน
2. แต่ถ้า ปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 400 ลงตัว ให้เป็นปีอธิกสุรทิน
ด้วยกฎเหล่านี้จึงทำให้ ค.ศ. 1800, 1900, 2100, 2200 เป็นปีปกติสุรทิน แต่ ค.ศ. 1600, 2000, 2400 เป็นปีอธิกสุรทิน
เหตุการณ์สำคัญ
* พ.ศ. 2255 (ค.ศ. 1712) - ในประเทศสวีเดน วันถัดจาก 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 30 กุมภาพันธ์ เนื่องจากมีการเลื่อนวันหลังจากเลิกใช้ปฏิทินระบบสวีเดน
* พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - แฮตตี แมคดาเนียล เป็นชาวแอฟริกันอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์
* พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - เดสมอนต์ ทูทู (ในภาพ) หัวหน้าบาทหลวงชาวแอฟริกาใต้ ถูกจับกุมพร้อมกับสมาชิกองค์กรศาสนากว่า 100 คน ขณะที่ทำการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว
เหตุการณ์ 29 กุมภาพันธ์ในอดีต
* พ.ศ. 2455 — พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน ถือเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย และคนไทยได้ใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากไต้ เทียนไข ตะเกียง น้ำมัน หรือแก๊สในอดีต
* พ.ศ. 2505 — จอห์น เกลน สร้างประวัติศาสตร์เป็นมนุษย์อวกาศชาวอเมริกันคนแรกที่มีอายุมากที่สุดที่ได้เดินทางขึ้นไปโคจรในอวกาศรอบโลกได้สำเร็จ หลังจากที่เคยเป็นวีรบุรุษของสหรัฐอเมริกาในการพิชิตอวกาศไปแล้วก่อนหน้านั้น
* พ.ศ. 2523 — พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกบุคคลที่มีความสามารถสูงกว่าเข้ามาบริหารประเทศ