Monday, March 03, 2008

Compulsory Licensing หรือ CL หรือ ซีแอล กับ ยา

ความหมายของ Compulsory license
กรณีที่รัฐบาลไทยประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory Licensing หรือ CL ) หรือซีแอล กับ ยา " เอฟฟาไวเรนซ์ ยาคาเลตรา " ซึ่งใช้เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี และยา " พลาวิกส์ " ที่ใช้รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ว่า การทำ CL ทำให้ไทยสามารถนำเข้ายาชื่อสามัญ หรือผลิตยาจำเป็นที่ยังติดสิทธิบัตรได้ ก็ทำให้ไทยถูกทางการสหรัฐกดดันมาตลอด จนล่าสุด ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ได้ประกาศขึ้นบัญชีไทย เป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากที่เคยอยู่ในการจับตามองระดับธรรมดา (WL) ล่าสุด แหล่งข้อมูล
ประชาคมโลกชื่นชมไทยทำ CL ยา
การทำ CL เป็นการทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นทุกคน โดยไม่หวังผลทางการค้า ซึ่งทำให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะเพิ่มจำนวนประชาชนผู้รับยาได้มากขึ้น
CL ยา ที่ทำประกอบด้วย ยาแอฟฟาไวเรนซ์ ยาโลพินาเวียร์ ริโทนาเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสโรคเอดส์ สูตรดื้อยาพื้นฐานและยาโคลพิโดเกรล ใช้ป้องกันลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
ด้านนายวินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บอกว่า หลังทำ CL ยา จะทำให้ผู้ป่วยเอดส์เข้าถึงยาสูตรพื้นฐาน ได้เพิ่มจาก 20,000 คน เป็น 40,000-50,000 คน ทำให้คนไข้เอดส์รอดพ้นความทุกข์ที่ต้องทนใช้ยาเนวิราพีน ที่มีผลข้างเคียงสูงได้
ส่วนกรณียาโลพินาเวียร์ ริโทนาเวียร์ ซึ่งเป็นยาสูตรเชื้อดื้อยาที่มีราคาสูงกว่าเอฟาไวเรนซ์ถึง 4 เท่า แต่เดิมต้องจำกัดการเข้าถึงไม่เกิน 1,600 คนเท่านั้น แต่การประกาศ CL ที่ทำให้ราคายาถูกลง ทำให้แพทย์มีกำลังใจในการค้นหาเชื้อดื้อยาในคนไข้ เพื่อเปลี่ยนยา และทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แหล่งข้อมูล
แหล่งความรู้จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)
“ไชยา” โยนซีแอลเผือกร้อนลงหน้าตัก “พาณิชย์” ไล่ อภ.กดดันที่อื่น
เส้นทางชีวิต “หมอศิริวัฒน์” คนดีที่ “ไชยา” ไม่ต้องการ