Tuesday, March 04, 2008

เด็กไทยอ่านหนังสือมากขึ้น

หนังสือน่าอ่านกับอาหารสมอง
การอ่านบางคนบอกว่าเสียเวลา แต่การไม่อ่าน อาจทำให้เราเสียรู้ได้ (ด้วยความไม่รู้)หรือการอ่านจากแหล่งข้อมูลเดียวก็ทำให้เราถูกครอบงำทางความคิดได้ การแก้ปัญหาของการไม่รู้ ก็โดยการอ่านข้อมูลหลายๆแหล่ง การดู ฟัง คิด และปฏิบัติ ให้ถูกต้อง
อ่านที่ไหนดีซื้อหนังสือมาอ่าน หรืออ่านจากห้องสมุดใกล้บ้านท่าน แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด
เผยเด็กไทยอ่านหนังสือมากขึ้น"องคมนตรี"แนะดันเป็นวาระแห่งชาติ
เผยเด็กไทยอ่านหนังสือมากขึ้น องคมนตรี ชี้ต้องร่วมมือผลักดันให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติต่อไป ด้านนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เตียมเสนอรัฐบาลผ่านศธ. เร่งดำเนินการ กระจายหนังสือที่มีคุณภาพสู่เด็กและเยาวชน ผลิตหนังสือที่มีคุณภาพราคาประหยัด
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี แถลงข่าวถึงการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 36 และ งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 6 ว่า งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 36 จะจัดระหว่างวันที่ 26 มี.ค. ถึงวันที่ 7 เม.ย.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในหัวข้อ “ความรู้ยิ่งอ่านยิ่งได้” ส่วนงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ จะจัดวันที่ 26-30 มี.ค. แหล่งข้อมูล
เรื่องทำไมคนไทยต้องอ่าน การอ่านนั้นมีอิทธิพลสามารถเปลี่ยน นิสัย ความคิด ถึงชีวิตของคนอ่านได้ ซึ่งคนที่ไม่เคยอ่านก็จะไม่มีทางรู้
ผิดกับคนที่อ่านซึ่งพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ความจริงแล้วคนไทยน่าจะได้ชื่อว่ารักการอ่าน
เมื่อดูจากสิ่งพิมพ์ต่างๆที่มีมากมาย หลากหลายประเภท ให้ได้เลือกอ่านกัน แล้วมีเหตุผลอะไรที่ทำให้คนไทยไม่อ่าน ในเมื่อคนไทยส่วนใหญ่ผูกพันกับการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ที่แม่อ่านนิทานให้ฟังก่อนนอน และเมื่อเข้าเรียนก็ต้องเริ่มอ่าน ถ้าเมื่ออ่านออกทำไมไม่ชอบอ่าน หรือเป็นเพราะผู้ใหญ่ไม่ได้สอนให้เด็กรักการอ่าน หากแต่สอนให้เด็กอ่านเพราะจำเป็นต้องอ่าน อย่างการอ่านหนังสือเรียน
ชู255ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่ทั่วประเทศ
การพัฒนาแห่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ โรงละคร แห่งชาติ 16 แห่ง จัดพิมพ์สมุดภาพจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ครบ 84 พรรษา การอนุรักษ์จดหมายเหตุที่เกี่ยวเนื่องในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในระบบดิจิตอล จัดทำบันทึกจดหมายเหตุสำคัญ และการบันทึกตำนานภาพยนตร์ไทย รวมถึงการดำเนินงานจัดทำโครงการต่างๆในท้องถิ่น
อาทิ การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฎิบัติในชุมชน โดยได้คัดเลือกชุมชนวัฒนธรรมอาสาเศรษฐพอเพียงทั่วประเทศ 255 ชุมชน เพื่อเป็นชุมชนนำร่องเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นได้ศิลปวัฒนธรรม โดยนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำเป็นหลักสูตร เอกสาร คู่มือ ซึ่งขณะนี้มีหลักสูตรวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว 8 หลักสูตร เช่น หลักสูตรหุ่นไทย หนังตะลุง ดนตรีพื้นบ้านอีสาน-โปงลาง การขับซอ การทอผ้าพื้นเมือง การจักสาน การออกแบบลายไทย เป็นต้น รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลด้านศิลปการแสดง ภูมิปัญญา ช่างฝีมือพื้นบ้าน โครงการภูมิบ้านภูมิเมืองด้วย