Friday, December 14, 2007

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายกฟ้อง ไม่เพิกถอนกฎหมายแปรรูป PTT

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายกฟ้อง ไม่เพิกถอนกฎหมายแปรรูป PTT
ศาลปกครองสูงสุดตัดสินปตท.โอนระบบท่อก๊าซคืนคลัง แต่ไม่เพิกถอนจากตลาดหุ้น
ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาว่า คุณสมบัติของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หลังการแปรรูป ปตท.เป็นบริษัทมหาชน ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงขั้นตอนในการแปรรูป ปตท. เป็นบริษัท มหาชน ก็ถูกต้องตามกฎหมายด้วยเช่นกัน (แหล่งข้อมูล)
จากแหล่งข้อมูลมติชน
เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษา คดีที่กลุ่มเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคยื่นฟ้องให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) 2 ฉบับที่ใช้ในการแปรรูปบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลา ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544ได้โอนอำนาจการเวนคืนที่ดินตามพ.ร.บ.การปิโตรเลียม ให้กับบริษัท ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลเอกชนทั้งที่อำนาจเวนคืนที่ดินเป็นอำนาจมหาชนของรัฐแม้ต่อมาคณะรัฐมนตรีจะออกพ.ร.ฎแก้ไขจำกัดอำนาจของบริษัท ปตท.ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานในการกำหนดอำนาจการเวนคืนที่ดินจะต้องตราเป็นพ.ร.บ.ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายบริหารให้การออกพ.ร.ฎ. ดังนั้นพ.ร.ฎ.ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับที่ดินที่มีการเวนคืนจากจังหวัดระยองจนถึงจังหวัดสมุทราปราการจำนวน 106 แปลง เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ เพื่อวางระบบท่อก๊าซเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐในการเวนคืนดังกล่าวที่ดินที่เวนคืนจึงเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดินเป็นที่ราชพัสดุ แต่บริษัท ปตท. มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนการจะโอนที่ดินไปให้บริษัท ปตท.ได้จะต้องตราเป็น พ.ร.บ.เท่านั้น ดังนั้นที่ดินดังกล่าวต้องอนกลับคืนให้เป็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งทางบริษัท ปตท.ก็ได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงค์ที่จะคืนที่ดินดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลังสำหรับกรณีโครงการขนส่งระบบท่อก๊าซทั้งหมด 3 โครงการ คือ ระหว่างบางปะกง-ราชบุรี, ชายแดนไทยพม่า-จ.ราชบุรี และ จ.ราชบุรี-อ.วังน้อย จ.อยุธยา เป็นการใช้อำนาจมหาชนในการวางท่อก๊าซเหนือที่ดินของเอกชน ซึ่งระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ต่างๆเป็นการสร้างติดตรึงกับที่ดินไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่ายระบบท่อก๊าซทั้งหมดจึงเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดินจึงต้องโอนให้เป็นทรัพยสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง

ส่วนพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลา ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ศาลปกครองพิพากษาเห็นว่าการออกพ.ร.ฎ.ดังกล่าวเห็นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากคำพิพากษาดังกล่าว บริษัทปตท.ยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปได้ แต่ต้องโอนที่ดินและระบบท่อก๊าซให้กับกระทรวงการคลัง จากแหล่งข้อมูลมติชน
ยุคน้ำมันแพง!คนไทยควรเลือกใช้อะไร ข้อมูล ปตท.
คำสั่งศาลปกครอง กรณี ปตท.