Tuesday, October 02, 2007

สหภาพพม่า Union of Myanmar

เมืองหลวง กรุงย่างกุ้ง (Yangon) ประชากร 50 ล้านคน มีเผ่าพันธุ์ประมาณ 135 เผ่าพันธุ์ ...ข้อมูลเกี่ยวกับพม่า
เขตการปกครอง แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) (เขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย) และ 7 ภาค (division) (เขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า)
พื้นที่ 676,577 ตร.กม. (ใหญ่กว่าไทยประมาณ 1/5 เท่า)ทิศเหนือ ติดต่อกับทิเบตและแคว้นยูนนานของจีน ทิศตะวันออก ติดต่อกับแคว้นยูนนานของจีน ลาว และไทย ทิศตะวันตก ติดต่อกับอินเดีย บังคลาเทศ ทิศใต้ ติดต่อกับไทย การเมือง แหล่งข้อมูล
รัฐบาลพม่าซึ่งมีแกนนำมาจากนายทหารที่เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อปี 2531 ยังคงมี
การปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างเข้มงวด และยังไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับแม้คณะนายทหารยืนยันตลอดมาว่าจะอยู่ในอำนาจเป็นการชั่วคราวเพื่อวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่ก็อยู่ในอำนาจมาแล้วถึง 17 ปีเต็ม ในปัจจุบันแกนนำของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2533 ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ โดยเฉพาะ นางออง ซาน ซู จี เลขาธิการพรรคฯ และยังมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอยู่อีกประมาณ 1,300 – 1,400 คน ขณะที่มีผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวพม่าในต่างประเทศอีกนับหมื่นคน

หลังจากประชาคมระหว่างประเทศได้กดดันและใช้มาตรการลงโทษ (sanction) พม่าอย่างหนัก และหลายฝ่ายรวมทั้งประเทศไทยได้พยายามโน้มน้าวรัฐบาลพม่าอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลพม่าได้ดำเนินการเพื่อลดแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศอยู่บ้าง โดยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2546 รัฐบาลพม่าได้ประกาศ “Roadmap towards Democracy” ของพม่าซึ่งกำหนดขั้นตอนการดำเนินการไปสู่ประชาธิปไตยของพม่า 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การฟื้นฟูการประชุมสมัชชาแห่งชาติ (National Convention) เพื่อวางหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2) การดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนที่จำเป็นเพื่อการมีประชาธิปไตยที่มีวินัยอย่างแท้จริง (genuine disciplined democracy) (3) การยกร่างรัฐธรรมนูญ (4) การจัดลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ (5) การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา (6) การจัดประชุมรัฐสภา (7) การจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเพื่อให้เป็นไปตาม Roadmap ดังกล่าวรัฐบาลพม่าได้จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 และได้มีการประชุมไปแล้วสามวาระ (วาระแรก ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 9 กรกฎาคม 2547 และวาระที่สอง ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2548 และวาระที่ 3 ระหหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2548 – 31 มกราคม 2549) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพักการประชุม โดยรัฐบาลพม่าประกาศว่าจะจัดการประชุมอีกครั้งในราวเดือนปลายปี 2549 อย่างไรก็ดี การดำเนินการตาม Roadmap ของพม่าก็มิได้เป็นไปโดยราบรื่น โดยเฉพาะการที่รัฐบาลพม่าจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นโดยไม่มีผู้แทนพรรค NLD เข้าร่วม การที่นางออง ซาน ซู จี ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว และที่สำคัญคือ การปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น ซึ่งเป็นจักรกลสำคัญในกระบวนการ Roadmap ออกจากตำแหน่งในรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรัฐบาลพม่ามีท่าทีแข็งกร้าวต่อชนกลุ่มน้อย พรรค NLD และประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายไม่มั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของ Roadmap
ข่าว พม่ากับอาเซียน
ความขัดแย้งในพม่าครั้งล่าสุดอันเกิดจากการชุมนุมประท้วงที่รัฐบาลทหารพม่า ขึ้นราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นการประท้วงที่ยืดเยื้อนานนับเดือน ทำให้สหรัฐฯและชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) เตรียมเสนอประเด็นพม่าเข้าที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่จะเริ่มในที่นิวยอร์ก นายเดวิด มิลิแบนด์ รมว.ต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่า เขาจะนำเสนอปัญหาพม่าเข้าที่ประชุมแน่นอนหลังจากที่สมาชิกอียูชาติอื่นๆ ลงมติชะลอการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับชาติอาเซียน เนื่องจากไม่พอใจการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในพม่า
บีบอาเซียนแก้ปัญหาพม่ารัฐบาลย่างกุ้งออกโรงปรามพระประท้วง
อาเซียนกำลังถูกกดดันให้เร่งแก้ไขปัญหาพม่าหลังเกิดการประท้วงอย่างกว้างขวางในกรุงย่างกุ้ง
อุ้มแกนนำม็อบพระพม่าหายไปกว่าพัน
พม่ากลับไปจุดเริ่มต้นใหม่
ขอให้สันติสุข และประชาธิปไตยกลับสู่พม่า เพื่อนบ้านของเรา