ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. (อย่างเป็นทางการ)
1.ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 2 พรรคประชาธิปัตย์ 934,602 คะแนน ร้อยละ 45.41
***นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์ 991,018 คะแนน ร้อยละ 45.93
2.นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หมายเลข 10 พรรคเพื่อไทย 611,669 คะแนน ร้อยละ 29.72
***นายประภัสร์ จงสงวน พรรคพลังประชาชน 543,488 คะแนน ร้อยละ 25.19
3.ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หมายเลข 8 อิสระ 334,846 คะแนน ร้อยละ 16.27
อ่านรายละเอียด
Friday, December 26, 2008
Monday, December 22, 2008
เคล็ดลับในการสร้างองค์กรที่เป็นเลิศ
เคล็ดลับในการสร้างองค์กรที่เป็นเลิศ*
เผยแพร่ใน วารสารห้องสมุด ปีที่ 52 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2551 หน้า 40-44
............................
**รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
องค์กรที่เป็นเลิศ (High Performance Organizations: HPO)เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศ มีความสามารถทางการแข่งขันสูง มีการจัดการความรู้ที่ดีและบุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ หลายคนต้องการคำตอบว่าองค์กรที่เป็นเลิศ มีการบริหารจัดการอย่างไร คำตอบที่ทุกคนเข้าใจคือองค์กรที่เป็นเลิศเน้นการทำในสิ่งที่ถูกต้อง(focus on the right thing) มีการวัดและประเมินผลที่ดี และมุ่งความสำเร็จที่ยั่งยืนในระยะยาว จากการสำรวจกว่า 2000 องค์กรในธุรกิจหลายประเภทได้เปิดเผยวิธีการที่ยังคงมีความสามารถในการแข่งขัน โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและมีวิธีปฏิบัติที่จะทำให้คนดีและคนเก่งทำงานเพื่อความสำเร็จขององค์กร คอลลินและพอร์ราส(1995) ได้ศึกษา 18 องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและก่อตั้งมายาวนานกว่า 100 ปี และเปรียบเทียบการทำงานกับองค์กรที่เป็นคู่แข่งขันในระดับเดียวกัน เขาได้อธิบายถึงความสำเร็จขององค์กรที่มีความเข้มแข็งและวัฒนธรรมอันยาวนานว่า องค์กรเหล่านั้นล้วนให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนมาทำงานที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จภายใต้สภาวะแวดล้อมนั้นๆได้ องค์กรเหล่านั้นจะต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี ผู้บริหารมองเห็นตลาดและมีระดับการสร้างรายได้สูง กำไรจากการดำเนินธุรกิจเหล่านี้เป็นผลลัพท์จากการมีวัฒนธรรมการทำงานที่ดี ไม่ใช่จากแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลัง
จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยสังคม (Institute of Social Research:ISR)(Maitland, 2002) ระบุจำนวนองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ทำให้เห็นความแตกต่างขององค์กรที่เป็นเลิศจากองค์กรโดยทั่วไปคือ
• ให้ความสำคัญกับคุณภาพ เป็นจิตสำนึกและแนวปฏิบัติของบุคลากรทุกคนในองค์กรที่ทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สภาวการณ์กดดันอย่างไร
• เน้นนวัตกรรม องค์กรที่เป็นเลิศจะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การดำเนินงานเหนือคู่แข่งขัน
• ให้ความสำคัญต่อลูกค้าก่อนเสมอ องค์กรที่เป็นเลิศให้บริการลูกค้าก่อนเสมอ ไม่ใช่เน้นผู้ถือหุ้น
• ลงทุนกับบุคลากร องค์การที่เป็นเลิศรู้ว่า บุคลากรเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร เขาไม่เพียงแต่พูด แต่หมายความตามนั้นจริงๆ บุคลากรจะทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้นเมื่อสิ่งที่เขาทุ่มเทไปได้รับการยอมรับและตอบสนองให้พัฒนาต่อไป
• สร้างวัฒนธรรมที่ดีและเข้มแข็ง เป็นองค์กรที่มีความสุข ที่บุคลากรเชื่อว่าสิ่งที่องค์กรทุ่มเทไปเป็นความถูกต้องชอบธรรมทั้งภายในและภายนอก เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อองค์กร และผู้นำองค์กร
ในการค้นหาความลับขององค์กรที่เป็นเลิศ ผู้วิจัยได้ใช้เวลา 5 ปีในการศึกษาลักษณะสำคัญที่ทำให้องค์กรเหล่านั้นมีความเป็นเลิศ และมีผลต่อผู้จัดการที่ทำให้นำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลสูงกว่าเป้าหมาย การวิจัยได้เริ่มจากการค้นหาเอกสารกว่า 280 สิ่งพิมพ์ที่ศึกษาเรื่องนี้ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับองค์กรประสิทธิภาพสูง ซึ่งการสำรวจจากหน่วยงานทั่วโลกกว่า 2500 แห่งทั้งองค์กรของรัฐและองค์กรธุรกิจ โดย ได้เปรียบเทียบความแตกต่างด้านการเงินขององค์กรจากข้อมูลใน 280 สิ่งพิมพ์ พบว่าองค์กรประสิทธิภาพสูงจะได้รับผลตอบแทนทางด้านการเงินสูงกว่าองค์กรอื่น เมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลด้านอื่นที่ไม่ใช่ด้านการเงิน องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีระดับความพึงพอใจของลูกค้าสูงกว่า ความจงรักภักดีของลูกค้าและพนักงานมากกว่า รวมถึงคุณภาพของสินค้าและบริการดีกว่า
ผลจากการสำรวจพบว่าองค์กรที่เป็นเลิศมี 35 คุณลักษณะใน 5 องค์ประกอบที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้นเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงหรือเป็นคุณลักษณะขององค์กรที่เป็นเลิศ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 ด้านคุณภาพการบริหาร (Management Quality) 1 การบริหารงานเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกในองค์กร
2 การบริหารงานถูกต้องและชอบธรรม
3 การบริหารงานเป็นต้นแบบให้แก่สมาชิกในองค์กร
4 การบริหารงานนำมาซึ่งการตัดสินใจที่รวดเร็ว
5 การบริหารงานนำไปสู่การปฏิบัติที่รวดเร็ว
6 การบริหารงานโดยเป็นพี่เลี้ยงแก่สมาชิกในองค์กรให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น
7 การบริหารงานเน้นความสำเร็จของผลงาน
8 การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
9 การบริหารงานโดยใช้ภาวะผู้นำสูง
10 การบริหารงานด้วยความเชื่อมั่น
11 การบริหารงานต้องมีการควบคุมที่รัดกุมสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติงาน
องค์ประกอบที่ 2 ด้านวัฒนธรรมระบบเปิด (Openness and Action Orientation) 12 การบริหารงานเน้นการสื่อสารกับบุคลากรอย่างทั่วถึง
13 สมาชิกขององค์กรให้เวลากับการสื่อสารภายใน การแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้
14 สมาชิกองค์กรเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานที่สำคัญ
15 การบริหารงานอนุญาตให้เรียนรู้ความผิดพลาดได้
16 การบริหารงานอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลง
17 องค์กรเน้นประสิทธิภาพการดำเนินงาน
องค์ประกอบที่ 3 ด้านความมุ่งมั่นทุ่มเทในระยะยาว (Long Term Commitment / Orientation) 18 องค์กรได้รักษาความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
19 องค์กรมีเป้าหมายที่จะให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด
20 องค์กรได้เติบโตมาพร้อมๆกับคู่ค้า พันธมิตร และลูกค้า
21 การบริหารงานได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลานาน
22 องค์กรเป็นที่ทำงานที่มั่นคงและปลอดภัยสำหรับสมาชิกในองค์กร
23 การบริหารงานรูปแบบใหม่ได้รับการส่งเสริมจากภายในองค์กร
องค์ประกอบที่ 4 ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) 24 องค์กรได้ปรับใช้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและแตกต่างจากองค์กรอื่น
25 กระบวนการภายในองค์กรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
26 กระบวนการภายในองค์กรมีการดำเนินงานอย่างเรียบง่ายต่อเนื่อง
27 กระบวนการภายในองค์กรมีการดำเนินงานคู่ขนานอย่างต่อเนื่อง
28 มีการบันทึกรายงานทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
29 องค์กรได้รายงานผลงานด้านการเงินและด้านอื่นๆให้สมาชิกในองค์กรทราบ
30 องค์กรได้สร้างนวัตกรรมต่อเนื่องในด้านสมรรถนะหลักขององค์กร
31 องค์กรสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ การบวนการ และบริการอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 5 ด้านคุณภาพของแรงงาน (Workforce Quality) 32 การบริหารงานจะมีสมาชิกขององค์กรรับผิดชอบในผลลัพท์หรือผลสัมฤทธ์นั้น
33 การบริหารงานมีแรงจูงใจให้สมาชิกขององค์กรทำให้ได้ผลลัพท์หรือผลสัมฤทธ์เกินความคาดหวัง
34 สมาชิกขององค์กรได้รับการฝึกอบรมให้มีความยืดหยุ่นและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
35 องค์กรมีแรงงานที่หลากหลายและมีส่วนสนับสนุนกัน
จากการศึกษาองค์กรที่เป็นเลิศพบว่าองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิภาพทางการแข่งขัน โดยองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศและมีคะแนนสูงจะได้รับผลสำเร็จที่ดีกว่าองค์กรระดับเดียวกันในทุกธุรกิจและในทุกประเทศ ในทางตรงกันข้ามองค์กรที่มีคะแนนต่ำในองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศจะมีระดับการปฏิบัติงานที่ต่ำกว่าในกลุ่มธุรกิจนั้นๆ ความแตกต่างขององค์กรที่เป็นเลิศและองค์กรที่ไม่เป็นเลิศคือ องค์กรที่เป็นเลิศจะเน้นการดำเนินงานตามความมุ่งมั่นในระยะยาวมากกว่าองค์กรที่ไม่เป็นเลิศ ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรอย่างเห็นได้ชัด
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบในการเป็นองค์กรที่เป็นเลิศพบว่าทั้ง 5 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันคือเมื่อองค์กรปรับปรุงองค์ประกอบใด องค์ประกอบอื่นจะได้รับการปรับปรุงตามไปด้วย แม้ว่าแต่ละองค์กรอาจจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบต่างกัน ตามลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทเช่น องค์กรด้านการเงินอาจเน้นคุณภาพการบริหาร ความมุ่งมั่นทุ่มเทในระยะยาว การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และคุณภาพของแรงงาน ในขณะที่องค์กรด้านสุขภาพหรือสาธารณสุข อาจเน้นองค์ประกอบด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามด้วยคุณภาพด้านแรงงาน เป็นต้น
สิ่งที่น่าสนใจคือผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ไม่ใช่องค์ประกอบหลักที่ช่วยให้องค์กรสร้างความเป็นเลิศได้แก่
โครงสร้างองค์กร เทคนิคและวิธีการไม่ได้ช่วยให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ แม้ว่าองค์กรจะเลือกโครงสร้างองค์กรแบบไหนก็ไม่มีผลต่อการสร้างองค์กรที่เป็นเลิศ
• กลยุทธ์องค์กร การมีกลยุทธ์องค์กรที่เหมือนองค์กรอื่น ก็ไม่มีผลต่อการสร้างองค์กรที่เป็นเลิศ แต่กลยุทธ์ที่มีเอกลักษณ์เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรคู่แข่งประเภทเดียวกัน สามารถสร้างองค์กรที่เป็นเลิศได้ ดังนั้นความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่กลยุทธ์อะไร แต่สำคัญที่องค์กรมีคนที่ใช่ในทีมที่เก่งหรือไม่ในการทำให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (A team of good people can achieve anything it wants, while an organization with a clear and well-defined strategy but without the right people to execute it is bound to go nowhere.)
• เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แม้ว่าหลายองค์กรจะมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์กร แต่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้องค์กรมีความเป็นเลิศ ถึงแม้ว่าคุณลักษณะด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แต่การติดตั้งระบบใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่ไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานดีขึ้น การติดตั้งระบบใหม่มีส่วนสนับสนุนอย่างน้อย 1 องค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเทียบเคียงสมรรถนะ(Benchmarking)ได้ผลน้อยกว่าที่คาดหวัง การสร้างองค์กรที่เป็นเลิศมีการดำเนินงานที่กว้างกว่าและแตกต่างจากการทำตามแนวปฏิบัติที่ดี(Best practices)ขององค์กรคู่แข่งเท่านั้น
จากการศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศ เมื่อต้องการทราบสถานะขององค์กร สามารถดำเนินการศึกษาได้โดยการแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้จัดการและพนักงานในองค์กรเพื่อพิจารณาตามคุณลักษณะขององค์กรที่เป็นเลิศโดยใช้การวัดระดับ โดยอาจศึกษาในแต่ละฝ่ายก่อน หรือ ศึกษาในลักษณะขององค์กรรวม ตัวอย่างเช่น ในองค์กรหนึ่งได้แจกแบบสอบถามให้พนักงาน 500 คน ในการจัดระดับคุณลักษณะขององค์กรที่เป็นเลิศในทุกๆด้าน 35 คุณลักษณะ ทำให้ทราบสถานะขององค์กรที่เป็นเลิศ ดังนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรที่เป็นเลิศ มีระดับคะแนนขององค์ประกอบ 5 ด้านจากคะแนนเต็ม 10 ของแต่ละด้าน องค์กรในอุตสาหกรรมที่อยู่ในอันดับ 1-3 มีระดับคะแนน 8.5-9 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก เมื่อศึกษากรณีองค์กรด้านการเงินแห่งหนึ่ง ได้ระดับคะแนนทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับ 5-7 ซึ่งเป็นระดับคะแนนโดยเฉลี่ยปานกลางสำหรับการเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ซึ่งจะทำให้ทราบองค์ประกอบที่ต้องการการปรับปรุง ดังนั้นหากองค์กรกำหนดวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านธุรกิจการเงินการธนาคารที่ลูกค้าจะพึงพอใจสูงสุดภายใน 5 ปี วิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จจึงเป็นวิธีการดำเนินงานที่มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศตามคุณลักษณะข้างต้น
สรุปได้ว่า การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรที่เป็นเลิศนี้เป็นการวิจัยในวงกว้างที่ไม่ได้เน้นเพียงโครงสร้าง แต่เน้นพฤติกรรมการบริหารและสภาพแวดล้อมภายนอก ผลของงานวิจัยจึงไม่เพียงแต่ให้องค์กรได้ทราบระดับขององค์กรที่เป็นเลิศ แต่เป็นการปูพื้นฐานในการปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไปที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพองค์กร ซึ่งการพัฒนาความคิดและแนวปฏิบัติสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้องค์กรต้องเผชิญภาวะความเสี่ยงต่อชะตากรรมที่องค์กรอื่นเคยประสบมาแล้ว ผู้นำองค์กรต้องมีความยืดหยุ่นและมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำพาองค์กรไปสู่องค์กรระดับโลก
บรรณานุกรม Collin,J.C. and Porras,J.I (1995). Built to Last. Successful Habits of Visionary Companies. New York: Harper Business.
Holbeche, L.(2006). Understanding Change: Theory, Implementation and Success. Burlington, MA.: Butterworth-Heinemann.
Maitland, R.(2002). “Due Consideration”. People Management. 8,2: 51.
Smith, G.(2000). “Top 7 Secrets of Creating High Performance Organizations.” Top7Business. Retrieved from http://top7business.com/?id=396
Waal, A.A. (2008,April). “The Secret of High Performance Organizations”. Management Online Review. Retrieved from http:// www.morexpertise.com/get/88
เผยแพร่ใน วารสารห้องสมุด ปีที่ 52 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2551 หน้า 40-44
............................
**รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
องค์กรที่เป็นเลิศ (High Performance Organizations: HPO)เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศ มีความสามารถทางการแข่งขันสูง มีการจัดการความรู้ที่ดีและบุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ หลายคนต้องการคำตอบว่าองค์กรที่เป็นเลิศ มีการบริหารจัดการอย่างไร คำตอบที่ทุกคนเข้าใจคือองค์กรที่เป็นเลิศเน้นการทำในสิ่งที่ถูกต้อง(focus on the right thing) มีการวัดและประเมินผลที่ดี และมุ่งความสำเร็จที่ยั่งยืนในระยะยาว จากการสำรวจกว่า 2000 องค์กรในธุรกิจหลายประเภทได้เปิดเผยวิธีการที่ยังคงมีความสามารถในการแข่งขัน โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและมีวิธีปฏิบัติที่จะทำให้คนดีและคนเก่งทำงานเพื่อความสำเร็จขององค์กร คอลลินและพอร์ราส(1995) ได้ศึกษา 18 องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและก่อตั้งมายาวนานกว่า 100 ปี และเปรียบเทียบการทำงานกับองค์กรที่เป็นคู่แข่งขันในระดับเดียวกัน เขาได้อธิบายถึงความสำเร็จขององค์กรที่มีความเข้มแข็งและวัฒนธรรมอันยาวนานว่า องค์กรเหล่านั้นล้วนให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนมาทำงานที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จภายใต้สภาวะแวดล้อมนั้นๆได้ องค์กรเหล่านั้นจะต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี ผู้บริหารมองเห็นตลาดและมีระดับการสร้างรายได้สูง กำไรจากการดำเนินธุรกิจเหล่านี้เป็นผลลัพท์จากการมีวัฒนธรรมการทำงานที่ดี ไม่ใช่จากแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลัง
จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยสังคม (Institute of Social Research:ISR)(Maitland, 2002) ระบุจำนวนองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ทำให้เห็นความแตกต่างขององค์กรที่เป็นเลิศจากองค์กรโดยทั่วไปคือ
• ให้ความสำคัญกับคุณภาพ เป็นจิตสำนึกและแนวปฏิบัติของบุคลากรทุกคนในองค์กรที่ทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สภาวการณ์กดดันอย่างไร
• เน้นนวัตกรรม องค์กรที่เป็นเลิศจะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การดำเนินงานเหนือคู่แข่งขัน
• ให้ความสำคัญต่อลูกค้าก่อนเสมอ องค์กรที่เป็นเลิศให้บริการลูกค้าก่อนเสมอ ไม่ใช่เน้นผู้ถือหุ้น
• ลงทุนกับบุคลากร องค์การที่เป็นเลิศรู้ว่า บุคลากรเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร เขาไม่เพียงแต่พูด แต่หมายความตามนั้นจริงๆ บุคลากรจะทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้นเมื่อสิ่งที่เขาทุ่มเทไปได้รับการยอมรับและตอบสนองให้พัฒนาต่อไป
• สร้างวัฒนธรรมที่ดีและเข้มแข็ง เป็นองค์กรที่มีความสุข ที่บุคลากรเชื่อว่าสิ่งที่องค์กรทุ่มเทไปเป็นความถูกต้องชอบธรรมทั้งภายในและภายนอก เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อองค์กร และผู้นำองค์กร
ในการค้นหาความลับขององค์กรที่เป็นเลิศ ผู้วิจัยได้ใช้เวลา 5 ปีในการศึกษาลักษณะสำคัญที่ทำให้องค์กรเหล่านั้นมีความเป็นเลิศ และมีผลต่อผู้จัดการที่ทำให้นำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลสูงกว่าเป้าหมาย การวิจัยได้เริ่มจากการค้นหาเอกสารกว่า 280 สิ่งพิมพ์ที่ศึกษาเรื่องนี้ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับองค์กรประสิทธิภาพสูง ซึ่งการสำรวจจากหน่วยงานทั่วโลกกว่า 2500 แห่งทั้งองค์กรของรัฐและองค์กรธุรกิจ โดย ได้เปรียบเทียบความแตกต่างด้านการเงินขององค์กรจากข้อมูลใน 280 สิ่งพิมพ์ พบว่าองค์กรประสิทธิภาพสูงจะได้รับผลตอบแทนทางด้านการเงินสูงกว่าองค์กรอื่น เมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลด้านอื่นที่ไม่ใช่ด้านการเงิน องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีระดับความพึงพอใจของลูกค้าสูงกว่า ความจงรักภักดีของลูกค้าและพนักงานมากกว่า รวมถึงคุณภาพของสินค้าและบริการดีกว่า
ผลจากการสำรวจพบว่าองค์กรที่เป็นเลิศมี 35 คุณลักษณะใน 5 องค์ประกอบที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้นเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงหรือเป็นคุณลักษณะขององค์กรที่เป็นเลิศ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 ด้านคุณภาพการบริหาร (Management Quality) 1 การบริหารงานเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกในองค์กร
2 การบริหารงานถูกต้องและชอบธรรม
3 การบริหารงานเป็นต้นแบบให้แก่สมาชิกในองค์กร
4 การบริหารงานนำมาซึ่งการตัดสินใจที่รวดเร็ว
5 การบริหารงานนำไปสู่การปฏิบัติที่รวดเร็ว
6 การบริหารงานโดยเป็นพี่เลี้ยงแก่สมาชิกในองค์กรให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น
7 การบริหารงานเน้นความสำเร็จของผลงาน
8 การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
9 การบริหารงานโดยใช้ภาวะผู้นำสูง
10 การบริหารงานด้วยความเชื่อมั่น
11 การบริหารงานต้องมีการควบคุมที่รัดกุมสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติงาน
องค์ประกอบที่ 2 ด้านวัฒนธรรมระบบเปิด (Openness and Action Orientation) 12 การบริหารงานเน้นการสื่อสารกับบุคลากรอย่างทั่วถึง
13 สมาชิกขององค์กรให้เวลากับการสื่อสารภายใน การแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้
14 สมาชิกองค์กรเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานที่สำคัญ
15 การบริหารงานอนุญาตให้เรียนรู้ความผิดพลาดได้
16 การบริหารงานอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลง
17 องค์กรเน้นประสิทธิภาพการดำเนินงาน
องค์ประกอบที่ 3 ด้านความมุ่งมั่นทุ่มเทในระยะยาว (Long Term Commitment / Orientation) 18 องค์กรได้รักษาความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
19 องค์กรมีเป้าหมายที่จะให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด
20 องค์กรได้เติบโตมาพร้อมๆกับคู่ค้า พันธมิตร และลูกค้า
21 การบริหารงานได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลานาน
22 องค์กรเป็นที่ทำงานที่มั่นคงและปลอดภัยสำหรับสมาชิกในองค์กร
23 การบริหารงานรูปแบบใหม่ได้รับการส่งเสริมจากภายในองค์กร
องค์ประกอบที่ 4 ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) 24 องค์กรได้ปรับใช้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและแตกต่างจากองค์กรอื่น
25 กระบวนการภายในองค์กรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
26 กระบวนการภายในองค์กรมีการดำเนินงานอย่างเรียบง่ายต่อเนื่อง
27 กระบวนการภายในองค์กรมีการดำเนินงานคู่ขนานอย่างต่อเนื่อง
28 มีการบันทึกรายงานทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
29 องค์กรได้รายงานผลงานด้านการเงินและด้านอื่นๆให้สมาชิกในองค์กรทราบ
30 องค์กรได้สร้างนวัตกรรมต่อเนื่องในด้านสมรรถนะหลักขององค์กร
31 องค์กรสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ การบวนการ และบริการอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 5 ด้านคุณภาพของแรงงาน (Workforce Quality) 32 การบริหารงานจะมีสมาชิกขององค์กรรับผิดชอบในผลลัพท์หรือผลสัมฤทธ์นั้น
33 การบริหารงานมีแรงจูงใจให้สมาชิกขององค์กรทำให้ได้ผลลัพท์หรือผลสัมฤทธ์เกินความคาดหวัง
34 สมาชิกขององค์กรได้รับการฝึกอบรมให้มีความยืดหยุ่นและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
35 องค์กรมีแรงงานที่หลากหลายและมีส่วนสนับสนุนกัน
จากการศึกษาองค์กรที่เป็นเลิศพบว่าองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิภาพทางการแข่งขัน โดยองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศและมีคะแนนสูงจะได้รับผลสำเร็จที่ดีกว่าองค์กรระดับเดียวกันในทุกธุรกิจและในทุกประเทศ ในทางตรงกันข้ามองค์กรที่มีคะแนนต่ำในองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศจะมีระดับการปฏิบัติงานที่ต่ำกว่าในกลุ่มธุรกิจนั้นๆ ความแตกต่างขององค์กรที่เป็นเลิศและองค์กรที่ไม่เป็นเลิศคือ องค์กรที่เป็นเลิศจะเน้นการดำเนินงานตามความมุ่งมั่นในระยะยาวมากกว่าองค์กรที่ไม่เป็นเลิศ ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรอย่างเห็นได้ชัด
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบในการเป็นองค์กรที่เป็นเลิศพบว่าทั้ง 5 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันคือเมื่อองค์กรปรับปรุงองค์ประกอบใด องค์ประกอบอื่นจะได้รับการปรับปรุงตามไปด้วย แม้ว่าแต่ละองค์กรอาจจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบต่างกัน ตามลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทเช่น องค์กรด้านการเงินอาจเน้นคุณภาพการบริหาร ความมุ่งมั่นทุ่มเทในระยะยาว การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และคุณภาพของแรงงาน ในขณะที่องค์กรด้านสุขภาพหรือสาธารณสุข อาจเน้นองค์ประกอบด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามด้วยคุณภาพด้านแรงงาน เป็นต้น
สิ่งที่น่าสนใจคือผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ไม่ใช่องค์ประกอบหลักที่ช่วยให้องค์กรสร้างความเป็นเลิศได้แก่
โครงสร้างองค์กร เทคนิคและวิธีการไม่ได้ช่วยให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ แม้ว่าองค์กรจะเลือกโครงสร้างองค์กรแบบไหนก็ไม่มีผลต่อการสร้างองค์กรที่เป็นเลิศ
• กลยุทธ์องค์กร การมีกลยุทธ์องค์กรที่เหมือนองค์กรอื่น ก็ไม่มีผลต่อการสร้างองค์กรที่เป็นเลิศ แต่กลยุทธ์ที่มีเอกลักษณ์เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรคู่แข่งประเภทเดียวกัน สามารถสร้างองค์กรที่เป็นเลิศได้ ดังนั้นความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่กลยุทธ์อะไร แต่สำคัญที่องค์กรมีคนที่ใช่ในทีมที่เก่งหรือไม่ในการทำให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (A team of good people can achieve anything it wants, while an organization with a clear and well-defined strategy but without the right people to execute it is bound to go nowhere.)
• เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แม้ว่าหลายองค์กรจะมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์กร แต่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้องค์กรมีความเป็นเลิศ ถึงแม้ว่าคุณลักษณะด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แต่การติดตั้งระบบใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่ไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานดีขึ้น การติดตั้งระบบใหม่มีส่วนสนับสนุนอย่างน้อย 1 องค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเทียบเคียงสมรรถนะ(Benchmarking)ได้ผลน้อยกว่าที่คาดหวัง การสร้างองค์กรที่เป็นเลิศมีการดำเนินงานที่กว้างกว่าและแตกต่างจากการทำตามแนวปฏิบัติที่ดี(Best practices)ขององค์กรคู่แข่งเท่านั้น
จากการศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบขององค์กรที่เป็นเลิศ เมื่อต้องการทราบสถานะขององค์กร สามารถดำเนินการศึกษาได้โดยการแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้จัดการและพนักงานในองค์กรเพื่อพิจารณาตามคุณลักษณะขององค์กรที่เป็นเลิศโดยใช้การวัดระดับ โดยอาจศึกษาในแต่ละฝ่ายก่อน หรือ ศึกษาในลักษณะขององค์กรรวม ตัวอย่างเช่น ในองค์กรหนึ่งได้แจกแบบสอบถามให้พนักงาน 500 คน ในการจัดระดับคุณลักษณะขององค์กรที่เป็นเลิศในทุกๆด้าน 35 คุณลักษณะ ทำให้ทราบสถานะขององค์กรที่เป็นเลิศ ดังนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรที่เป็นเลิศ มีระดับคะแนนขององค์ประกอบ 5 ด้านจากคะแนนเต็ม 10 ของแต่ละด้าน องค์กรในอุตสาหกรรมที่อยู่ในอันดับ 1-3 มีระดับคะแนน 8.5-9 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก เมื่อศึกษากรณีองค์กรด้านการเงินแห่งหนึ่ง ได้ระดับคะแนนทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับ 5-7 ซึ่งเป็นระดับคะแนนโดยเฉลี่ยปานกลางสำหรับการเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ซึ่งจะทำให้ทราบองค์ประกอบที่ต้องการการปรับปรุง ดังนั้นหากองค์กรกำหนดวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านธุรกิจการเงินการธนาคารที่ลูกค้าจะพึงพอใจสูงสุดภายใน 5 ปี วิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จจึงเป็นวิธีการดำเนินงานที่มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศตามคุณลักษณะข้างต้น
สรุปได้ว่า การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรที่เป็นเลิศนี้เป็นการวิจัยในวงกว้างที่ไม่ได้เน้นเพียงโครงสร้าง แต่เน้นพฤติกรรมการบริหารและสภาพแวดล้อมภายนอก ผลของงานวิจัยจึงไม่เพียงแต่ให้องค์กรได้ทราบระดับขององค์กรที่เป็นเลิศ แต่เป็นการปูพื้นฐานในการปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไปที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพองค์กร ซึ่งการพัฒนาความคิดและแนวปฏิบัติสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้องค์กรต้องเผชิญภาวะความเสี่ยงต่อชะตากรรมที่องค์กรอื่นเคยประสบมาแล้ว ผู้นำองค์กรต้องมีความยืดหยุ่นและมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำพาองค์กรไปสู่องค์กรระดับโลก
บรรณานุกรม Collin,J.C. and Porras,J.I (1995). Built to Last. Successful Habits of Visionary Companies. New York: Harper Business.
Holbeche, L.(2006). Understanding Change: Theory, Implementation and Success. Burlington, MA.: Butterworth-Heinemann.
Maitland, R.(2002). “Due Consideration”. People Management. 8,2: 51.
Smith, G.(2000). “Top 7 Secrets of Creating High Performance Organizations.” Top7Business. Retrieved from http://top7business.com/?id=396
Waal, A.A. (2008,April). “The Secret of High Performance Organizations”. Management Online Review. Retrieved from http:// www.morexpertise.com/get/88
คำขวัญวันเด็ก 2552
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2552 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 มกราคม ว่า "ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี" พร้อมทั้งอวยพรให้เด็กและเยาวชนไทยทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา เป็นเด็กยุคใหม่ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความแจ่มใสเบิกบาน และมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเติบโตเป็นอนาคตที่มีคุณภาพของสังคม และนำความเจริญมั่นคงมาสู่ประเทศไทยของเราต่อไปในภายหน้า
Sunday, December 21, 2008
คณะรัฐมนตรีชุดใหม่
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 แล้วนั้น
บัดนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีดังต่อไปนี้
1. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
2. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. นายวีระชัย วีระเมธีกุล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
7. นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
8. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
9. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
10.นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
11.นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
12.นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
13.นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
14.นายชาติชาย พุคยาภรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
15.นายโสภณ ซารัมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
16.นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
17.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
18.นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
19.ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
20.นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
21.นางพรทิวา นาคาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
22.นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
23.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
24.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
25.นายถาวร เสนเนียม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
26.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
27.นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
28.นายธีระ สลักเพชร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
29.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
30.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
31.นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
32.น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
33.นายวิทยา แก้วภราดัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
34.นายมานิต นพอมรบดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
35.นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูล
บัดนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีดังต่อไปนี้
1. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
2. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. นายวีระชัย วีระเมธีกุล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
7. นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
8. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
9. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
10.นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
11.นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
12.นายวิฑูรย์ นามบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
13.นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
14.นายชาติชาย พุคยาภรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
15.นายโสภณ ซารัมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
16.นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
17.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
18.นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
19.ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
20.นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
21.นางพรทิวา นาคาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
22.นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
23.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
24.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
25.นายถาวร เสนเนียม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
26.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
27.นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
28.นายธีระ สลักเพชร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
29.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
30.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
31.นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
32.น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
33.นายวิทยา แก้วภราดัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
34.นายมานิต นพอมรบดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
35.นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูล
Monday, December 15, 2008
"อภิสิทธิ์" เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของไทย
"อภิสิทธิ์" เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.56 น. หลังการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมตรีคนที่ 27 ที่อาคารรัฐสภา ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้รับ 232 คะแนน ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา พรมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ได้รับ 197 คะแนน โดยงดออกเสียง 3 เสียง ทำให้นายอภิสิทธิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ด้วยวัย 44 ปี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แหล่งข้อมูล
นายกรัฐมนตรีของไทย คนที่ 1-24
คนที่ 25 นายสมัคร สุนทรเวช
คนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.56 น. หลังการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมตรีคนที่ 27 ที่อาคารรัฐสภา ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้รับ 232 คะแนน ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา พรมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ได้รับ 197 คะแนน โดยงดออกเสียง 3 เสียง ทำให้นายอภิสิทธิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ด้วยวัย 44 ปี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แหล่งข้อมูล
นายกรัฐมนตรีของไทย คนที่ 1-24
คนที่ 25 นายสมัคร สุนทรเวช
คนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
Thursday, December 11, 2008
ยกเลิกระบบซีของข้าราชการ
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะยกเลิกระบบซีของข้าราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.2551 นั้นว่า กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.51 โดยมีบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดตำแหน่งของข้าราชการทั้งหมดที่เป็นระบบซีเข้าสู่ระบบใหม่ ซึ่งแยกไว้ 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป ให้ได้ภายใน 1 ปี คือ ก่อนวันที่ 25 ม.ค.52 โดยในวันนี้ (11 ธ.ค.) ถือเป็นวันดีเดย์ที่จะมีการปรับเปลี่ยน ให้ข้าราชการพลเรือนทุกระดับทั่วประเทศประมาณ 370,000 คน เข้าสู่ระบบใหม่ โดยตำแหน่งที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม กระทรวง จะอยู่ในประเภทบริหาร ประมาณ 1,000 ตำแหน่ง , ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือ หัวหน้าหน่วยงานที่ต่ำกว่ากรม หรือตำแหน่งที่เคยรับเงินบริหารระดับกลาง ระดับต้น หรือระดับสูงอยู่ จะจัดอยู่ในประเภทอำนวยการ ประมาณ 4,500 ตำแหน่ง , ตำแหน่งที่ต้องปฏิบัติ โดยผู้ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านปริญญา จะมาจัดอยู่ในประเภทวิชาการ ประมาณ 220,000-230,000 ตำแหน่ง , ส่วนที่เหลือจะจัดอยู่ในประเภททั่วไป กว่า 130,000 ตำแหน่ง
ส่วนระบบการขึ้นเงินในระบบใหม่นั้นจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.52 ซึ่งจะขึ้นเงินเดือนเป็นระบบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพราะจะเป็นเครื่องกระตุ้นการบริหารผลงานบริหารจัดการของข้าราชการ โดยในอนาคตจะทำให้สามารถขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการได้ถึง 8-12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แหล่งข้อมูล
ส่วนระบบการขึ้นเงินในระบบใหม่นั้นจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.52 ซึ่งจะขึ้นเงินเดือนเป็นระบบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพราะจะเป็นเครื่องกระตุ้นการบริหารผลงานบริหารจัดการของข้าราชการ โดยในอนาคตจะทำให้สามารถขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการได้ถึง 8-12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แหล่งข้อมูล
Tuesday, December 09, 2008
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
แหล่งข้อมูล
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
แหล่งข้อมูล
Saturday, December 06, 2008
The iSkills™ assessment
The iSkills™ assessment is the only Information and Communication Technology (ICT) literacy test that assesses critical thinking in a digital environment. The test has questions that simulate real-world scenarios. Knowledge of the topics and ability to manipulate technology are needed to complete tasks such as extracting information from a database, developing a spreadsheet, or composing an e-mail based on research findings. The iSkills assessment does not have multiple-choice questions.
The Core and Advanced assessments are designed similarly. However, the Advanced assessment is designed to be more challenging and requires more sophisticated reading comprehension skills.
What does the iSkills assessment measure and how?
The iSkills assessment measures the range of cognitive and non-cognitive ICT literacy skills aligned with nationally recognized Association of Colleges and Research Libraries (ACRL) standards (PDF). Your students' ability to navigate, critically evaluate and make sense of the wealth of information available through digital technology is measured — so you can make the necessary changes to narrow skill gaps.
The content areas measured are:
Content Topics:
Humanities
Social Sciences
Practical Affairs
Popular Culture
Natural Sciences
Technology Topics
Web Use – E-mail, Instant Messaging, Bulletin Board Postings, Browser Use, Search Engines
Database Management – Data Searches, File Management
Software – Word Processing, Spreadsheet, Presentations, Graphics
ICT Proficiencies (PDF)
A clear understanding of how your students perform on each of the 7 ICT literacy proficiencies helps you identify where further curriculum development is needed to help your students succeed.
Define
Know how to articulate a need for and determine where to locate information
Create a research topic to fit a particular information need or complete a concept map
Access
Search and collect information from the Internet and databases
Read and refine a search to locate resources
Evaluate
Assess the relevancy, veracity and completeness of information for a specific purpose
Select the best database to use and determine the sufficiency of information on a website for a particular need
Manage
Develop and use a comprehensive organizational scheme
Document relationships using an organizational chart and sort e-mails into appropriate folders
Integrate
Synthesize, summarize, compare and draw conclusions from information from multiple sources
Compare and contrast information from web pages or a spreadsheet and synthesize information from instant messages into a word processing document
Create
Generate information by adapting and critically analyzing current data
Create a graph that supports a point of view. Select text and graphics to communicate the point of view
Communicate
Convey information persuasively to various audiences using the right medium
Be able to adapt presentation slides and revise an e-mail
More information
The Core and Advanced assessments are designed similarly. However, the Advanced assessment is designed to be more challenging and requires more sophisticated reading comprehension skills.
What does the iSkills assessment measure and how?
The iSkills assessment measures the range of cognitive and non-cognitive ICT literacy skills aligned with nationally recognized Association of Colleges and Research Libraries (ACRL) standards (PDF). Your students' ability to navigate, critically evaluate and make sense of the wealth of information available through digital technology is measured — so you can make the necessary changes to narrow skill gaps.
The content areas measured are:
Content Topics:
Humanities
Social Sciences
Practical Affairs
Popular Culture
Natural Sciences
Technology Topics
Web Use – E-mail, Instant Messaging, Bulletin Board Postings, Browser Use, Search Engines
Database Management – Data Searches, File Management
Software – Word Processing, Spreadsheet, Presentations, Graphics
ICT Proficiencies (PDF)
A clear understanding of how your students perform on each of the 7 ICT literacy proficiencies helps you identify where further curriculum development is needed to help your students succeed.
Define
Know how to articulate a need for and determine where to locate information
Create a research topic to fit a particular information need or complete a concept map
Access
Search and collect information from the Internet and databases
Read and refine a search to locate resources
Evaluate
Assess the relevancy, veracity and completeness of information for a specific purpose
Select the best database to use and determine the sufficiency of information on a website for a particular need
Manage
Develop and use a comprehensive organizational scheme
Document relationships using an organizational chart and sort e-mails into appropriate folders
Integrate
Synthesize, summarize, compare and draw conclusions from information from multiple sources
Compare and contrast information from web pages or a spreadsheet and synthesize information from instant messages into a word processing document
Create
Generate information by adapting and critically analyzing current data
Create a graph that supports a point of view. Select text and graphics to communicate the point of view
Communicate
Convey information persuasively to various audiences using the right medium
Be able to adapt presentation slides and revise an e-mail
More information
Friday, December 05, 2008
“โครงการทำดีเพื่อพ่อ ขอคนไทยให้รักกัน”
“โครงการทำดีเพื่อพ่อ ขอคนไทยให้รักกัน” ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลการวิจัยในหัวข้อ “ความตั้งใจของประชาชนที่จะทำความดีเพื่อพ่อ ถวายแด่ในหลวง” พบว่าความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยลดลงกว่าครึ่ง ตั้งแต่การพูดเต็มปากว่าไทยเป็นเมืองแห่งรอยยิ้มลดเหลือเพียง 5.77 คะแนน (จากคะแนนเต็มสิบ) และจากที่เป็นสังคมแห่งความสงบสุขและสันติสุขลดลงไม่ถึงครึ่ง เหลือเพียง 4.63 คะแนน ในขณะที่เป็นสังคมแห่งความรักและเกื้อกูลกันเหลือเพียง 4.63 คะแนนเท่านั้น และ 92.5 เปอร์เซนต์ เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมว่าเป็นเสาหลักและเป็นทางออกของสังคม อ่านรายละเอียด
การบินไทยย้ำบริการตามปกติทั้งสองสนามบิน 5 ธ.ค.นี้
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการ บริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมว่า การบินไทยเปิดให้บริการเที่ยวบิน ทั้งขาเข้าและขาออก ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองตามปกติ โดยใช้ตารางการบินประจำภาคฤดูหนาว 2551/2552
สำหรับท่าอากาศยานดอนเมือง การบินไทยได้ทำการบินเส้นทางภายในประเทศในวันที่ 4 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ ขอความกรุณาให้ผู้โดยสารทำการเช็คอินในเที่ยวบินที่จะเดินทาง ณ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง และในวันที่ 5 ธันวาคม 2551 จะมีเที่ยวบินเส้นทางบินภายในประเทศขาเข้า จำนวน 9 เที่ยวบิน ขาออก จำนวน 9 เที่ยวบิน
สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การบินไทยจะทำการบินตามตารางการบินปกติ ในวันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป ขอความกรุณาให้ผู้โดยสาร ทำการเช็คอินในเที่ยวบินที่เดินทาง ณ อาคารผู้โดยสาร ชั้น 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนเวลาเครื่องบินออกอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ มีเที่ยวบินขาออกเส้นทางบินระหว่างประเทศ จำนวน 47 เที่ยวบิน และเส้นทางบินภายในประเทศขาเข้า จำนวน 7 เที่ยวบิน ขาออก จำนวน 7 เที่ยวบิน
อนึ่ง ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันที่ 4 ธันวาคม 2551 เคาน์เตอร์เช็คอินของการบินไทย ณ ศูนย์ไบเทค บางนา จะปิดให้บริการ ขอความกรุณาให้ผู้โดยสารมาทำการเช็คอินตามปกติ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป
ผู้โดยสารสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 02-356-1111 หรือ www.thaiair.com หรือ www.thaiairways.com แหล่งข้อมูล
สำหรับท่าอากาศยานดอนเมือง การบินไทยได้ทำการบินเส้นทางภายในประเทศในวันที่ 4 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ ขอความกรุณาให้ผู้โดยสารทำการเช็คอินในเที่ยวบินที่จะเดินทาง ณ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง และในวันที่ 5 ธันวาคม 2551 จะมีเที่ยวบินเส้นทางบินภายในประเทศขาเข้า จำนวน 9 เที่ยวบิน ขาออก จำนวน 9 เที่ยวบิน
สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การบินไทยจะทำการบินตามตารางการบินปกติ ในวันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป ขอความกรุณาให้ผู้โดยสาร ทำการเช็คอินในเที่ยวบินที่เดินทาง ณ อาคารผู้โดยสาร ชั้น 4 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนเวลาเครื่องบินออกอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ มีเที่ยวบินขาออกเส้นทางบินระหว่างประเทศ จำนวน 47 เที่ยวบิน และเส้นทางบินภายในประเทศขาเข้า จำนวน 7 เที่ยวบิน ขาออก จำนวน 7 เที่ยวบิน
อนึ่ง ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันที่ 4 ธันวาคม 2551 เคาน์เตอร์เช็คอินของการบินไทย ณ ศูนย์ไบเทค บางนา จะปิดให้บริการ ขอความกรุณาให้ผู้โดยสารมาทำการเช็คอินตามปกติ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป
ผู้โดยสารสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 02-356-1111 หรือ www.thaiair.com หรือ www.thaiairways.com แหล่งข้อมูล
Wednesday, December 03, 2008
เปิดสนามบินสุวรรณภูมิ
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผอ. ท่าอาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวถึงการเปิดใช้สนามบินอีกครั้งว่า การเปิดใช้สนามบินเต็มรูปต้องใช้เวลาในการตรวจสอบอาทิสิ่งแปลกปลอม วัตถุระเบิดความพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งระบบทั้งหมดว่าสามารถเปิดใช้ได้ซึ่งจะต้องมีผู้ตรวจสอบจากกรมการขนส่งทางอากาศ สมาคมนักบิน จึงจะสามารถเปิดการบินได้และหากเห็นว่าไม่มีปัญหาก็เปิดการบินอย่างเต็มรูปแบบได้ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์อย่างน้อยแต่ไม่น่าเกิน 2 สัปดาห์
ส่วนวันที่ 5 ธ.ค.คงไม่เต็มรูปแบบแต่สามารถเช็คดินที่ไบเทคขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิได้ซึ่งจะเร่งประสานไปยังกับผู้เกี่ยวข้อง ไฟท์แรกที่ออกจากสุวรรณภูมิน่าจะหลังเที่ยงส่วนระบบอื่นที่เปิดใช้การได้เลยเครื่องบินคาร์โก้ซึ่งให้บริการ ตั้งแต่ 9 โมงที่ผ่านมา ขณะนี้พันธมิตรกำลังเก็บข้าวของและทำความสะอาด คิดว่าคงไม่มีมีปัญหาอะไร
" 15 ธ.ค.จะพยายามเต็มที่อยู่กับผู้ตรวจสอบของเรา การตรวจสอบระบบและความเสียหาย หลังสถานการณ์คลี่คลายแล้วจะตัองส่งจดหมายไปยังผู้เกี่ยวข้องกับการบินว่าเราสามารถเปิดการบินและทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นประมาณ 100 กว่าล้านต่อวัน อย่างไรก็ตามครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนครั้งนี้ใหญ่หลวง อย่าให้มีเกิดขึ้นอีก " แหล่งข้อมูล
ส่วนวันที่ 5 ธ.ค.คงไม่เต็มรูปแบบแต่สามารถเช็คดินที่ไบเทคขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิได้ซึ่งจะเร่งประสานไปยังกับผู้เกี่ยวข้อง ไฟท์แรกที่ออกจากสุวรรณภูมิน่าจะหลังเที่ยงส่วนระบบอื่นที่เปิดใช้การได้เลยเครื่องบินคาร์โก้ซึ่งให้บริการ ตั้งแต่ 9 โมงที่ผ่านมา ขณะนี้พันธมิตรกำลังเก็บข้าวของและทำความสะอาด คิดว่าคงไม่มีมีปัญหาอะไร
" 15 ธ.ค.จะพยายามเต็มที่อยู่กับผู้ตรวจสอบของเรา การตรวจสอบระบบและความเสียหาย หลังสถานการณ์คลี่คลายแล้วจะตัองส่งจดหมายไปยังผู้เกี่ยวข้องกับการบินว่าเราสามารถเปิดการบินและทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นประมาณ 100 กว่าล้านต่อวัน อย่างไรก็ตามครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนครั้งนี้ใหญ่หลวง อย่าให้มีเกิดขึ้นอีก " แหล่งข้อมูล
Tuesday, December 02, 2008
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตย
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชราชน ชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยและเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด จะทำให้คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคทั้งสามต้องพ้นจากตำแหน่งทันที 13 คน จาก ทำให้ ครม.ที่เหลือ 21 คน ต้องรักษาการจนกว่าจะมีการปแต่งตั้งใหม่
ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์รายงานว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยและเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด จะทำให้คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคทั้งสามต้องพ้นจากตำแหน่งทันที 13 คน(จาก ครม.ทั้งหมด 34 คน) ประกอบด้วย
1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
4.นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5.นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
6.นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7.นายธีระชัย แสนแก้ว เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
8.นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
10.นายไชยา สะสมทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
11.นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
12 .นายศรีเมือง เจริญศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
13.นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เมื่อนายสมชาย นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ ทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย(รัฐธรรมนูญ มาตรา 180(1) แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 181 บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ จึงทำมีอยู่ ครม.ทั้งหมดที่มีอยู่ 34 คนสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ 22 คนเนื่องจาก 12 คนถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งทั้ง 21 คนสามารถเรียกประชุมเพื่อลงมติให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
สำหรับรัฐมนตรีที่เหลือ 22 คนประกอบด้วย
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
นายโอฬาร ไชยประวัติ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
นายสุพล ฟองงาม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายอุดมเดช รัตนเสถียร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายโสภณ ซารัมย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายมั่น พัธโนทัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูล
ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์รายงานว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยและเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด จะทำให้คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคทั้งสามต้องพ้นจากตำแหน่งทันที 13 คน(จาก ครม.ทั้งหมด 34 คน) ประกอบด้วย
1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
4.นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5.นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
6.นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7.นายธีระชัย แสนแก้ว เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
8.นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
10.นายไชยา สะสมทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
11.นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
12 .นายศรีเมือง เจริญศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
13.นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เมื่อนายสมชาย นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ ทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย(รัฐธรรมนูญ มาตรา 180(1) แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 181 บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ จึงทำมีอยู่ ครม.ทั้งหมดที่มีอยู่ 34 คนสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ 22 คนเนื่องจาก 12 คนถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งทั้ง 21 คนสามารถเรียกประชุมเพื่อลงมติให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
สำหรับรัฐมนตรีที่เหลือ 22 คนประกอบด้วย
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
นายโอฬาร ไชยประวัติ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
นายสุพล ฟองงาม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายอุดมเดช รัตนเสถียร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายโสภณ ซารัมย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายมั่น พัธโนทัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูล
เตรียมเปิดศูนย์เช็คอินเพิ่มที่เมืองทองธานี
รมว.ท่องเที่ยว จะเปิดศูนย์เช็คอินที่เมืองทองเพิ่ม ทอท.คาด 7วันตรวจสอบความพร้อมสุวรรณภูมิ หลังพันธมิตรฯ ออก แอร์เอเซีย-บินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษรองรับหลายเส้นทาง
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าวการเปิดใช้ศูนย์เช็กอินที่จะอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวในการเดินทางออกนอกประเทศ หลังจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่สามารถใช้งานได้ โดยศูนย์แรกที่เปิดทำการขณะนี้ตั้งอยู่ที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา สามารถทยอยส่งนักท่องเที่ยวที่ติดค้างไปแล้วจำนวนมาก และคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 10 วัน นักท่องเที่ยวทั้ง 200,000 คนที่ติดค้างอยู่จะได้กลับบ้าน
โดยแนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเช็กอินก่อนเดินทาง 7 ชั่วโมง ผ่านขั้นตอนออกบัตรที่นั่งโดยสาร เช็กกระเป๋า ขั้นตอนศุลกากรและมีรถรถส่งไปยังสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งศูนย์จะเปิดทำการ 24 ชั่วโมง ส่วนจุดเช็กอินในเมืองที่เป็นโรงแรมทั้ง 6 แห่งในกรุงเทพฯ จะปิดทำการลงในวันนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผนเพิ่มจุดเช็กอินอีก 1 แห่ง ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี สำหรับผู้โดยสารที่จะออกเดินทางจากสนามบิน จ.นครราชสีมา ซึ่งขณะนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก 2 สนามบินใน จ.นครราชสีมา ได้แก่ สนามบินกองบินที่ 1 กองทัพอากาศ สามารถรองรับเครื่องบินขนาด 150 ที่นั่ง หรือโบอิ้ง 737 จอดพร้อมกันได้ 3 ลำ และสนามบินขนส่งทางอากาศ ที่เตรียมไว้สำหรับการเดินทางในประเทศเพื่อสำรองในการย้ายเครื่องบินที่จะบินลงที่อู่ตะเภามาลงที่นี่แทน
นายวีระศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนคนไทยที่ยังไม่สามารถกลับประเทศได้ รัฐบาลจะออกค่าที่พัก อาหาร วันละ 2,000 บาท/คนให้ จนกว่าจะกลับมาถึงประเทศไทย โดยให้ติดต่อสถานกงสุลที่ตกค้างอยู่ สำหรับการจะเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คาดว่าน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 5 วันทันทีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย้ายออกไป จากนั้น นายวีระศักดิ์ ได้เดินทางไปยังเมืองทองธานี เพื่อดำเนินการให้ใช้ศูนย์เช็กอินให้เร็วที่สุด คาดว่าไม่เกิน 2 วัน
ด้านตัวแทนคณะกรรมการดำเนินการธุรกิจการบินในกรุงเทพฯ แนะนำให้ผู้โดยสารที่เดินทางให้ตรวจสอบกับสายการบินอย่างน้อย 1 สัปดาห์ พร้อมยืนยันสายการบินต่าง ๆ ยังประสงค์จะมาลงในไทยแต่ไม่ใช่กรุงเทพฯ รวมทั้งสนามบินทั้งอู่ตะเภา ภูเก็ต เชียงใหม่ มีข้อจำกัดยังรองรับผู้โดยสารได้ไม่มาก จึงทำให้สายการบินเข้าประเทศมีน้อย
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.และผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องบินที่ตกค้างที่สนามบินสุวรรณภูมิกำลังทยอยบินออกอย่างต่อเนื่องจากทั้งหมด 88 ลำ เพื่อไปช่วยการข่นส่งผู้โดยสารที่ตกค้างที่สนามบินอูตะเภาจ.ระยอง
แต่ทอท.ไม่ได้กำหนดเวลา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกัปตันและลูกเรือเท่านั้นว่าจะนำเครื่องบินขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
อย่างไรก็ตาม ถ้ากลุ่มพันธมิตรเลิกชุมนุมแล้วถอนออกจากสนามบิน ทอท.ก็ต้องประเมินจากความพร้อมของสนามบินว่าจะสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อไหร่ และต้องกลับไปตรวจสอบสถานที่และสิ่งของภายในอาคารผู้โดยสารอีกครั้งว่ามีส่วนไหนต้องซ่อมแซมเพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิกลับมาใช้งานโดยเร็วที่สุดซึ่งคิดว่าประมาณ 7 วันหลังการเลิกชุมนุมของพันธมิตร
ด้านแอร์เอเซียแจ้งว่าได้จัดเที่ยวบินพิเศษจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จ.ระยอง ไปยังจุดหมายปลายทางในภูมิภาคกว่า 10 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ที่ยังตกค้างอยู่เป็นจำนวนมากกลับภูมิลำเนา สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ www.airasia.com
ส่วนการบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษ 34 เที่ยวบิน ขาออกจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 14 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 1 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานภูเก็ต 2 เที่ยวบิน เที่ยวบินขาเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา 16 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 1 เที่ยว และ ท่าอากาศยานภูเก็ต 2 เที่ยวบิน ผู้โดยสารสามารถสำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2356-1111 และ 0-2545-4000 หรือ www.thaiairway.com แหล่งข้อมูล
ทอท.เปิดให้บริการได้แล้วเร่งส่งนักท่องเที่ยวกลับบ้าน
นักท่องเที่ยวต่างชาติแห่เช็กอินที่ศูนย์ไบเทค บางนาเพียบ หลัง ทอท.เปิดให้บริการได้แล้วตั้งแต่เช้าวันที่ 1 ธ.ค. การบินไทยเปิด 32 เที่ยวบินทั้งขาออก-ขาเข้า คาดวันแรกส่งกลับนักท่องเที่ยวได้ 4-5 พันคน ด้านสายการบินต่างชาติส่งเครื่องลงที่ภูเก็ต รับคนของตัวเองกลับบ้าน
หลังจากปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้โดยสารชาวต่างชาติตกค้างไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้จำนวนมาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. พยายามประสานไปยังทุกหน่วยงาน ทั้งสายการบินต่างๆ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อแก้ปัญหาเป็นการชั่วคราว โดยขณะนี้ ทอท.สามารถเปิดเช็กอินสำหรับชาวต่างชาติ เพื่อไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินอู่ตะเภาได้แล้ว
ทอท.ได้ใช้ศูนย์แสดงสินค้า นิทรรศการ และการประชุมไบเทค บางนา เพื่อให้บริการเช็กอิน โดยเริ่มเปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคการให้บริการที่ล่าช้าของสนามบินอู่ตะเภา ที่มีผู้โดยสารหนาแน่นได้ในระดับหนึ่ง โดยที่ไบเทคจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ผู้โดยสารชาวต่างชาติสามารถตรวจสอบเส้นทางและการเดินทางได้ที่ไบเทค หรือโทร.0-2749-3974, 0-2749-3982
รายละเอียดของจุดเช็กอินที่ไบเทคนั้น ทอท.และการบินไทยได้จัดเคาน์เตอร์เช็กอิน 37 เคาน์เตอร์ ทีจี 20 เคาน์เตอร์ บางกอกไฟลท์เซอร์วิส 7 เคาน์เตอร์ การบินกรุงเทพ 4 เคาน์เตอร์ เคาน์เตอร์ทั่วไป 6 เคาน์เตอร์ นอกจากนี้ยังมีเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง 20 เคาน์เตอร์ 40 ช่องตรวจ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่สายการบินเป็นสำนักงานให้บริการแก่สายการบินต่างๆ จัดเตรียมเอกสารปฏิบัติการมีจุดตรวจค้นผู้โดยสาร 2 จุด จุดละ 2 เครื่อง รวมทั้งจุดอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารรองรับได้ครั้งละ 300 คน เช่น ร้านค้า เคาน์เตอร์บัตรโดยสาร เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ เคาน์เตอร์ศุลกากร และบริการทางการแพทย์ ที่ผ่านมา ทอท.ได้นำเครื่องเอกซเรย์สัมภาระ 4 เครื่อง มาเปิดบริการที่ไบเทค รวมทั้งนำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้บริการ เช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสายพานลำเลียงแล้วจำนวนหนึ่ง
แหล่งข้อมูล
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าวการเปิดใช้ศูนย์เช็กอินที่จะอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวในการเดินทางออกนอกประเทศ หลังจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่สามารถใช้งานได้ โดยศูนย์แรกที่เปิดทำการขณะนี้ตั้งอยู่ที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา สามารถทยอยส่งนักท่องเที่ยวที่ติดค้างไปแล้วจำนวนมาก และคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 10 วัน นักท่องเที่ยวทั้ง 200,000 คนที่ติดค้างอยู่จะได้กลับบ้าน
โดยแนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเช็กอินก่อนเดินทาง 7 ชั่วโมง ผ่านขั้นตอนออกบัตรที่นั่งโดยสาร เช็กกระเป๋า ขั้นตอนศุลกากรและมีรถรถส่งไปยังสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งศูนย์จะเปิดทำการ 24 ชั่วโมง ส่วนจุดเช็กอินในเมืองที่เป็นโรงแรมทั้ง 6 แห่งในกรุงเทพฯ จะปิดทำการลงในวันนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผนเพิ่มจุดเช็กอินอีก 1 แห่ง ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี สำหรับผู้โดยสารที่จะออกเดินทางจากสนามบิน จ.นครราชสีมา ซึ่งขณะนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก 2 สนามบินใน จ.นครราชสีมา ได้แก่ สนามบินกองบินที่ 1 กองทัพอากาศ สามารถรองรับเครื่องบินขนาด 150 ที่นั่ง หรือโบอิ้ง 737 จอดพร้อมกันได้ 3 ลำ และสนามบินขนส่งทางอากาศ ที่เตรียมไว้สำหรับการเดินทางในประเทศเพื่อสำรองในการย้ายเครื่องบินที่จะบินลงที่อู่ตะเภามาลงที่นี่แทน
นายวีระศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนคนไทยที่ยังไม่สามารถกลับประเทศได้ รัฐบาลจะออกค่าที่พัก อาหาร วันละ 2,000 บาท/คนให้ จนกว่าจะกลับมาถึงประเทศไทย โดยให้ติดต่อสถานกงสุลที่ตกค้างอยู่ สำหรับการจะเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คาดว่าน่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 5 วันทันทีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย้ายออกไป จากนั้น นายวีระศักดิ์ ได้เดินทางไปยังเมืองทองธานี เพื่อดำเนินการให้ใช้ศูนย์เช็กอินให้เร็วที่สุด คาดว่าไม่เกิน 2 วัน
ด้านตัวแทนคณะกรรมการดำเนินการธุรกิจการบินในกรุงเทพฯ แนะนำให้ผู้โดยสารที่เดินทางให้ตรวจสอบกับสายการบินอย่างน้อย 1 สัปดาห์ พร้อมยืนยันสายการบินต่าง ๆ ยังประสงค์จะมาลงในไทยแต่ไม่ใช่กรุงเทพฯ รวมทั้งสนามบินทั้งอู่ตะเภา ภูเก็ต เชียงใหม่ มีข้อจำกัดยังรองรับผู้โดยสารได้ไม่มาก จึงทำให้สายการบินเข้าประเทศมีน้อย
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.และผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องบินที่ตกค้างที่สนามบินสุวรรณภูมิกำลังทยอยบินออกอย่างต่อเนื่องจากทั้งหมด 88 ลำ เพื่อไปช่วยการข่นส่งผู้โดยสารที่ตกค้างที่สนามบินอูตะเภาจ.ระยอง
แต่ทอท.ไม่ได้กำหนดเวลา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกัปตันและลูกเรือเท่านั้นว่าจะนำเครื่องบินขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
อย่างไรก็ตาม ถ้ากลุ่มพันธมิตรเลิกชุมนุมแล้วถอนออกจากสนามบิน ทอท.ก็ต้องประเมินจากความพร้อมของสนามบินว่าจะสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อไหร่ และต้องกลับไปตรวจสอบสถานที่และสิ่งของภายในอาคารผู้โดยสารอีกครั้งว่ามีส่วนไหนต้องซ่อมแซมเพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิกลับมาใช้งานโดยเร็วที่สุดซึ่งคิดว่าประมาณ 7 วันหลังการเลิกชุมนุมของพันธมิตร
ด้านแอร์เอเซียแจ้งว่าได้จัดเที่ยวบินพิเศษจากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จ.ระยอง ไปยังจุดหมายปลายทางในภูมิภาคกว่า 10 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ที่ยังตกค้างอยู่เป็นจำนวนมากกลับภูมิลำเนา สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ www.airasia.com
ส่วนการบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษ 34 เที่ยวบิน ขาออกจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 14 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 1 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานภูเก็ต 2 เที่ยวบิน เที่ยวบินขาเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา 16 เที่ยวบิน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 1 เที่ยว และ ท่าอากาศยานภูเก็ต 2 เที่ยวบิน ผู้โดยสารสามารถสำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2356-1111 และ 0-2545-4000 หรือ www.thaiairway.com แหล่งข้อมูล
ทอท.เปิดให้บริการได้แล้วเร่งส่งนักท่องเที่ยวกลับบ้าน
นักท่องเที่ยวต่างชาติแห่เช็กอินที่ศูนย์ไบเทค บางนาเพียบ หลัง ทอท.เปิดให้บริการได้แล้วตั้งแต่เช้าวันที่ 1 ธ.ค. การบินไทยเปิด 32 เที่ยวบินทั้งขาออก-ขาเข้า คาดวันแรกส่งกลับนักท่องเที่ยวได้ 4-5 พันคน ด้านสายการบินต่างชาติส่งเครื่องลงที่ภูเก็ต รับคนของตัวเองกลับบ้าน
หลังจากปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้โดยสารชาวต่างชาติตกค้างไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้จำนวนมาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. พยายามประสานไปยังทุกหน่วยงาน ทั้งสายการบินต่างๆ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อแก้ปัญหาเป็นการชั่วคราว โดยขณะนี้ ทอท.สามารถเปิดเช็กอินสำหรับชาวต่างชาติ เพื่อไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินอู่ตะเภาได้แล้ว
ทอท.ได้ใช้ศูนย์แสดงสินค้า นิทรรศการ และการประชุมไบเทค บางนา เพื่อให้บริการเช็กอิน โดยเริ่มเปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคการให้บริการที่ล่าช้าของสนามบินอู่ตะเภา ที่มีผู้โดยสารหนาแน่นได้ในระดับหนึ่ง โดยที่ไบเทคจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ผู้โดยสารชาวต่างชาติสามารถตรวจสอบเส้นทางและการเดินทางได้ที่ไบเทค หรือโทร.0-2749-3974, 0-2749-3982
รายละเอียดของจุดเช็กอินที่ไบเทคนั้น ทอท.และการบินไทยได้จัดเคาน์เตอร์เช็กอิน 37 เคาน์เตอร์ ทีจี 20 เคาน์เตอร์ บางกอกไฟลท์เซอร์วิส 7 เคาน์เตอร์ การบินกรุงเทพ 4 เคาน์เตอร์ เคาน์เตอร์ทั่วไป 6 เคาน์เตอร์ นอกจากนี้ยังมีเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง 20 เคาน์เตอร์ 40 ช่องตรวจ และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่สายการบินเป็นสำนักงานให้บริการแก่สายการบินต่างๆ จัดเตรียมเอกสารปฏิบัติการมีจุดตรวจค้นผู้โดยสาร 2 จุด จุดละ 2 เครื่อง รวมทั้งจุดอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารรองรับได้ครั้งละ 300 คน เช่น ร้านค้า เคาน์เตอร์บัตรโดยสาร เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ เคาน์เตอร์ศุลกากร และบริการทางการแพทย์ ที่ผ่านมา ทอท.ได้นำเครื่องเอกซเรย์สัมภาระ 4 เครื่อง มาเปิดบริการที่ไบเทค รวมทั้งนำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้บริการ เช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสายพานลำเลียงแล้วจำนวนหนึ่ง
แหล่งข้อมูล
การบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษขนผู้โดยสารที่ตกค้าง
การบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษขนผู้โดยสารที่ตกค้าง โดยวันที่ 2 ธันวาคม 2551 บริษัทได้จัดเที่ยวบินพิเศษ 34 เที่ยวบิน
เที่ยวบินขาออก จากท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 14 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึง
TG 1049 อู่ตะเภา – เชียงใหม่ 10.00 11.10
TG 2099*อู่ตะเภา – ภูเก็ต 10.25 11.45
TG 9209 อู่ตะเภา – แฟรงก์เฟิร์ต 23.40 05.30 /3 ธ.ค.
TG 9509 อู่ตะเภา – โคเปนเฮเกน00.50 06.35
TG 6069 อู่ตะเภา - ฮ่องกง 16.00 19.45
TG 6409 อู่ตะเภา – นาริตะ 22.35 06.15 /3 ธ.ค.
TG 6589 อู่ตะเภา – โซล 23.45 07.55 /3 ธ.ค.
TG 9959 อู่ตะเภา – ซิดนีย์ 23.59 13.10 /3 ธ.ค.
TG 3159 อู่ตะเภา – เดลลี 19.50 22.45
TG 4179 อู่ตะเภา–กัวลาลัมเปอร์ 16.40 19.50
TG 6769 อู่ตะเภา – นาริตะ 11.00 18.40
TG 7949 อู่ตะเภา-ลอสแองเจลิส 19.30 19.20
TG 8820 อู่ตะเภา – พุทธคยา 12.10 14.00
TG 6209 อู่ตะเภา - โอซากา 9.00 02.10 /3 ธ.ค.
สำหรับผู้โดยสาร (เฉพาะที่ได้รับการยืนยันการเดินทาง) ที่จะเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ขอความกรุณาให้ผู้โดยสาร เดินทางไปขึ้นรถและเช็คอิน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ก่อนเวลาเครื่องบินออก อย่างน้อย 7 ชั่วโมง
เที่ยวบินขาออกจาก ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวน 1 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึงที่หมาย
TG 1299 เชียงใหม่ – ภูเก็ต 12.30 14.25
เที่ยวบินขาออก จากท่าอากาศยานภูเก็ต จำนวน 2 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึงที่หมาย
TG 9229 ภูเก็ต – แฟรงก์เฟิร์ต 13.20 19.10
TG 6429 ภูเก็ต – นาริตะ 23.50 07.30 / 3 ธ.ค.
เที่ยวบินขาเข้า ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 16 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึง
TG 1179 เชียงใหม่ - อู่ตะเภา 19.15 20.25
TG 2109 ภูเก็ต – อู่ตะเภา 12.35 14.00
TG 2169 ภูเก็ต – อู่ตะเภา 15.40 17.00
TG 9219 แฟรงก์เฟิร์ต – อู่ตะเภา 14.10 06.20/ 3 ธ.ค.
TG 4189 กัวลาลัมเปอร์–อู่ตะเภา 21.00 22.05
TG 6779 นาริตะ – อู่ตะเภา 19.40 00.40 / 3 ธ.ค.
TG 6419 นาริตะ – อู่ตะเภา 10.45 15.45
TG 6731 โอซาก้า – อู่ตะเภา 00.30 05.00
TG 6078 ฮ่องกง – อู่ตะเภา 20.45 22.30
TG 9519 โคเปนเฮเกน – อู่ตะเภา 14.30 06.50 / 3 ธ.ค.
TG 6599 โซล– อู่ตะเภา 10.55 13.55
TG 9969 ซิดนีย์ – อู่ตะเภา 16.40 22.00
TG 3169 เดลลี – อู่ตะเภา 00.05 05.35
TG 7959 ลอสแองเจลิส –อู่ตะเภา 21.30 06.30 / 4 ธ.ค.
TG 8821 พุทธคยา - อู่ตะเภา 14.45 19.35
TG 4109 สิงคโปร์ - อู่ตะเภา 18.25 20.25
สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะมีรถมาส่งที่ หน้าอาคาร 5 สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
เที่ยวบินขาเข้า ท่าอากาศยานภูเก็ต จำนวน 1 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึง
TG 9239 แฟรงก์เฟิร์ต - ภูเก็ต 20.55 13.05 / 3 ธ.ค.
ผู้โดยสารที่ต้องการสอบถามข้อมูลด้านบัตรโดยสารหรือสำรองที่นั่งหรือเปลี่ยนแปลงการเดินทาง
ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-356-1111 หรือสอบถามข้อมูลทั่วไป ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-545-4000 หรือ www.thaiairways.com แหล่งข้อมูล
เที่ยวบินขาออก จากท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 14 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึง
TG 1049 อู่ตะเภา – เชียงใหม่ 10.00 11.10
TG 2099*อู่ตะเภา – ภูเก็ต 10.25 11.45
TG 9209 อู่ตะเภา – แฟรงก์เฟิร์ต 23.40 05.30 /3 ธ.ค.
TG 9509 อู่ตะเภา – โคเปนเฮเกน00.50 06.35
TG 6069 อู่ตะเภา - ฮ่องกง 16.00 19.45
TG 6409 อู่ตะเภา – นาริตะ 22.35 06.15 /3 ธ.ค.
TG 6589 อู่ตะเภา – โซล 23.45 07.55 /3 ธ.ค.
TG 9959 อู่ตะเภา – ซิดนีย์ 23.59 13.10 /3 ธ.ค.
TG 3159 อู่ตะเภา – เดลลี 19.50 22.45
TG 4179 อู่ตะเภา–กัวลาลัมเปอร์ 16.40 19.50
TG 6769 อู่ตะเภา – นาริตะ 11.00 18.40
TG 7949 อู่ตะเภา-ลอสแองเจลิส 19.30 19.20
TG 8820 อู่ตะเภา – พุทธคยา 12.10 14.00
TG 6209 อู่ตะเภา - โอซากา 9.00 02.10 /3 ธ.ค.
สำหรับผู้โดยสาร (เฉพาะที่ได้รับการยืนยันการเดินทาง) ที่จะเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ขอความกรุณาให้ผู้โดยสาร เดินทางไปขึ้นรถและเช็คอิน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ก่อนเวลาเครื่องบินออก อย่างน้อย 7 ชั่วโมง
เที่ยวบินขาออกจาก ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวน 1 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึงที่หมาย
TG 1299 เชียงใหม่ – ภูเก็ต 12.30 14.25
เที่ยวบินขาออก จากท่าอากาศยานภูเก็ต จำนวน 2 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึงที่หมาย
TG 9229 ภูเก็ต – แฟรงก์เฟิร์ต 13.20 19.10
TG 6429 ภูเก็ต – นาริตะ 23.50 07.30 / 3 ธ.ค.
เที่ยวบินขาเข้า ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 16 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึง
TG 1179 เชียงใหม่ - อู่ตะเภา 19.15 20.25
TG 2109 ภูเก็ต – อู่ตะเภา 12.35 14.00
TG 2169 ภูเก็ต – อู่ตะเภา 15.40 17.00
TG 9219 แฟรงก์เฟิร์ต – อู่ตะเภา 14.10 06.20/ 3 ธ.ค.
TG 4189 กัวลาลัมเปอร์–อู่ตะเภา 21.00 22.05
TG 6779 นาริตะ – อู่ตะเภา 19.40 00.40 / 3 ธ.ค.
TG 6419 นาริตะ – อู่ตะเภา 10.45 15.45
TG 6731 โอซาก้า – อู่ตะเภา 00.30 05.00
TG 6078 ฮ่องกง – อู่ตะเภา 20.45 22.30
TG 9519 โคเปนเฮเกน – อู่ตะเภา 14.30 06.50 / 3 ธ.ค.
TG 6599 โซล– อู่ตะเภา 10.55 13.55
TG 9969 ซิดนีย์ – อู่ตะเภา 16.40 22.00
TG 3169 เดลลี – อู่ตะเภา 00.05 05.35
TG 7959 ลอสแองเจลิส –อู่ตะเภา 21.30 06.30 / 4 ธ.ค.
TG 8821 พุทธคยา - อู่ตะเภา 14.45 19.35
TG 4109 สิงคโปร์ - อู่ตะเภา 18.25 20.25
สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะมีรถมาส่งที่ หน้าอาคาร 5 สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
เที่ยวบินขาเข้า ท่าอากาศยานภูเก็ต จำนวน 1 เที่ยวบิน
เที่ยวบิน เส้นทาง เวลาออก เวลาถึง
TG 9239 แฟรงก์เฟิร์ต - ภูเก็ต 20.55 13.05 / 3 ธ.ค.
ผู้โดยสารที่ต้องการสอบถามข้อมูลด้านบัตรโดยสารหรือสำรองที่นั่งหรือเปลี่ยนแปลงการเดินทาง
ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-356-1111 หรือสอบถามข้อมูลทั่วไป ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-545-4000 หรือ www.thaiairways.com แหล่งข้อมูล
สายการบินไทยแอร์เอเชีย
สายการบินไทยแอร์เอเชีย ประกาศเปิดเที่ยวบินพิเศษที่เดินทางออกจากจากสนามบิน 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ สนามบินนานาชาติภูเก็ต และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา
สำหรับตารางการบินนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม เป็นต้นไป
จากสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา
เที่ยวบินที่ เส้นทางบิน เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย
FD 4693 อู่ตะเภา - ภูเก็ต 17:50 21:35
FD 4694 ภูเก็ต - อู่ตะเภา 22:05 0:05
FD 4501 อู่ตะเภา - สิงคโปร์ 12:00 15:20
FD4502 สิงคโปร์ - อู่ตะเภา 15:50 17:10
FD4622 อู่ตะเภา - เซินเจิ้น 18:10 22:10
FD4623 เซินเจิ้น - อู่ตะเภา 22:40 0:40
FD4691 อู่ตะเภา - อ่องกง 13:00 16:45
FD4692 ฮ่องกง - อู่ตะเภา 17:15 19:15
FD4503 อู่ตะเภา - สิงคโปร์ 20:15 23:35
FD4504 สิงคโปร์ - อู่ตะเภา 0:05 1:25
จากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่
เที่ยวบินที่ เส้นทางบิน เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย
FD4150 เชียงใหม่ - สิงคโปร์ 8:00 12:00
FD4151 สิงคโปร์ - เชียงใหม่ 12:30 14:30
FD4232 เชียงใหม่ - อู่ตะเภา 15:00 16:10
FD4233 อู่ตะเภา - เชียงใหม่ 17:10 18:20
FD4571 เชียงใหม่-กัวลาลัมเปอร์ 09:50 12:35
FD4572 กัวลาลัมเปอร์-เชียงใหม่ 13:05 13:45
จากสนามบินนานาชาติภูเก็ต
เที่ยวบินที่ เส้นทางบิน เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย
FD4524 ภูเก็ต – สิงคโปร์ 9:50 12:35
FD4525 สิงคโปร์ – ภูเก็ต 13:05 13:45
FD4021 ภูเก็ต – อู่ตะเภา 12:30 13:50
FD4022 อู่ตะเภา – ภูเก็ต 14:50 16:10
FD4575 ภูเก็ต – กัวลาลัมเปอร์ 9:00 11:30
FD4576 กัวลาลัมเปอร์ - ภูเก็ต 12:00 12:30
ผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะสำรองที่นั่งออนไลน์ กรุณาไปที่ www.airasia.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรโดยสาร ณ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ที่หมายเลข +66 (0) 53 904 800-3 หรือ ศูนย์จำหน่ายบัตรโดยสาร สาขาประตูท่าแพ หมายเลข +66 (0) 53 234 645
สำหรับผู้โดยสารในจังหวัดภูเก็ต และบริเวณใกล้เคียง กรุณาติดต่อเคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรโดยสารประจำสนามบินนานาชาติภูเก็ต ที่หมายเลข+66 (0) 76 328 601-2 ได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 6.00 น. ถึง 10.00 น.
สำหรับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกเที่ยวบิน และมีความประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดินทาง กรุณาติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ หมายเลข +66 (0) 2 515 9999 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น สายการบินขอแนะนำให้ผู้โดยสารทุกท่าน ตรวจสอบข้อมูลการเดินทางล่าสุดด้วยตนเองที่ www.airasia.com ก่อนออกเดินทางมายังสนามบิน แหล่งข้อมูล
สำหรับตารางการบินนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม เป็นต้นไป
จากสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา
เที่ยวบินที่ เส้นทางบิน เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย
FD 4693 อู่ตะเภา - ภูเก็ต 17:50 21:35
FD 4694 ภูเก็ต - อู่ตะเภา 22:05 0:05
FD 4501 อู่ตะเภา - สิงคโปร์ 12:00 15:20
FD4502 สิงคโปร์ - อู่ตะเภา 15:50 17:10
FD4622 อู่ตะเภา - เซินเจิ้น 18:10 22:10
FD4623 เซินเจิ้น - อู่ตะเภา 22:40 0:40
FD4691 อู่ตะเภา - อ่องกง 13:00 16:45
FD4692 ฮ่องกง - อู่ตะเภา 17:15 19:15
FD4503 อู่ตะเภา - สิงคโปร์ 20:15 23:35
FD4504 สิงคโปร์ - อู่ตะเภา 0:05 1:25
จากสนามบินนานาชาติเชียงใหม่
เที่ยวบินที่ เส้นทางบิน เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย
FD4150 เชียงใหม่ - สิงคโปร์ 8:00 12:00
FD4151 สิงคโปร์ - เชียงใหม่ 12:30 14:30
FD4232 เชียงใหม่ - อู่ตะเภา 15:00 16:10
FD4233 อู่ตะเภา - เชียงใหม่ 17:10 18:20
FD4571 เชียงใหม่-กัวลาลัมเปอร์ 09:50 12:35
FD4572 กัวลาลัมเปอร์-เชียงใหม่ 13:05 13:45
จากสนามบินนานาชาติภูเก็ต
เที่ยวบินที่ เส้นทางบิน เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย
FD4524 ภูเก็ต – สิงคโปร์ 9:50 12:35
FD4525 สิงคโปร์ – ภูเก็ต 13:05 13:45
FD4021 ภูเก็ต – อู่ตะเภา 12:30 13:50
FD4022 อู่ตะเภา – ภูเก็ต 14:50 16:10
FD4575 ภูเก็ต – กัวลาลัมเปอร์ 9:00 11:30
FD4576 กัวลาลัมเปอร์ - ภูเก็ต 12:00 12:30
ผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะสำรองที่นั่งออนไลน์ กรุณาไปที่ www.airasia.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรโดยสาร ณ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ที่หมายเลข +66 (0) 53 904 800-3 หรือ ศูนย์จำหน่ายบัตรโดยสาร สาขาประตูท่าแพ หมายเลข +66 (0) 53 234 645
สำหรับผู้โดยสารในจังหวัดภูเก็ต และบริเวณใกล้เคียง กรุณาติดต่อเคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรโดยสารประจำสนามบินนานาชาติภูเก็ต ที่หมายเลข+66 (0) 76 328 601-2 ได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 6.00 น. ถึง 10.00 น.
สำหรับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกเที่ยวบิน และมีความประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดินทาง กรุณาติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ หมายเลข +66 (0) 2 515 9999 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น สายการบินขอแนะนำให้ผู้โดยสารทุกท่าน ตรวจสอบข้อมูลการเดินทางล่าสุดด้วยตนเองที่ www.airasia.com ก่อนออกเดินทางมายังสนามบิน แหล่งข้อมูล
Monday, December 01, 2008
พันธมิตรสลายการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล
เมื่อเวลา 14.00 น.นายสุชาติ ศรีใส เจ้าหน้าที่กองทัพธรรม กล่าวปราศรัยบนเวทีพันธมิตรว่า ขอสลายการชุมนุมที่ทำเนียบอย่างเป็นทางการ และขออโหสิการกระทำใดๆ และคำพูดที่ดูหมิ่นดูแคลนเจ้าที่เจ้าทาง และขอให้ผู้ชุมนุมไปถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นอนุสรณ์ก่อนออกจากทำเนียบรัฐบาล และขอให้ไปสมทบกันที่สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศที่ทำเนียบ กลุ่มผู้ชุมนุมต่างเก็บข้าวของ รวมถึงของมีค่าอย่างทีวี พัดลม เพื่อย้ายออกจากทำเนียบ นอกจากนี้ยังมีการเก็บเต้นท์บางส่วน โดยได้มีการประกาศบนเวทีว่า จะไม่มีการถ่ายทอดสดบนเวทีที่ทำเนียบรัฐบาลอีกแล้วแหล่งข้อมูล
พระจันทร์ยิ้ม ดีใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศที่ทำเนียบ กลุ่มผู้ชุมนุมต่างเก็บข้าวของ รวมถึงของมีค่าอย่างทีวี พัดลม เพื่อย้ายออกจากทำเนียบ นอกจากนี้ยังมีการเก็บเต้นท์บางส่วน โดยได้มีการประกาศบนเวทีว่า จะไม่มีการถ่ายทอดสดบนเวทีที่ทำเนียบรัฐบาลอีกแล้วแหล่งข้อมูล
พระจันทร์ยิ้ม ดีใจ
ตั้งไบเทค บางนาเป็นศูนย์เช็คอิน 24 ชม.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ตั้งไบเทค บางนาเป็นศูนย์เช็คอิน 24 ชม.สำหรับชาวต่างชาติเพื่อไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินอู่ตะเภาแล้ว ผู้โดยสารชาวต่างชาติสามารถตรวจสอบเส้นทางและการเดินทางว่าจะมาใช้บริการได้ที่ไบเทคได้หรือไม่ที่สายการบินที่ให้บริการหรือโทร 0-2749 3974 ,0-2749 39 82 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ทอท.ได้นำเครื่องเอ็กซเรย์สัมภาระ จำนวน 4 ตัวมาเปิดบริการที่ไบเทค รวมทั้งนำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้บริการเช่นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสายพานลำเลียง
แหล่งข้อมูล
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งขอความร่วมมือ ผู้โดยสารที่มีกำหนดการเดินทาง หลังวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ยังไม่ต้องสำรองที่นั่งใหม่ จนกว่าสนามบินจะเปิดให้บริการตามปกติ เนื่องจากขณะนี้มีผู้โดยสารที่จำเป็นจะต้องเดินทางกลับประเทศตกค้างจำนวนมาก แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งขอความร่วมมือ ผู้โดยสารที่มีกำหนดการเดินทาง หลังวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ยังไม่ต้องสำรองที่นั่งใหม่ จนกว่าสนามบินจะเปิดให้บริการตามปกติ เนื่องจากขณะนี้มีผู้โดยสารที่จำเป็นจะต้องเดินทางกลับประเทศตกค้างจำนวนมาก แหล่งข้อมูล
Subscribe to:
Posts (Atom)