Wednesday, November 07, 2007

เตรียมพร้อมใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

คนดีไม่ขายเสียง MV คนดีไม่ขายเสียง
รายละเอียดของการเลือกตั้งและพรรคการเมือง
หมายเลขพรรคการเมือง ส.ส.ระบบสัดส่วน ทั้งหมด 18 พรรค
ผู้สมัคร กทม. กรุงเทพฯ แบ่ง 12 เขตเลือกตั้ง เขตละ 3 คน รวม 36 คน ยอดผู้สมัครส.ส.เขตวันแรก รวม 18 พรรค 2,501คน
ข่าวการเลือกตั้ง2550
เปิดชื่อผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วนของพรรคการเมืองใหญ่
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศให้วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกา เพื่อสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนำไปสู่กระบวนการจัดตั้งรัฐบาล คณะรัฐมนตรี และสมาชิกวุฒิสภาต่อไป การเลือกตั้งครั้งนี้กำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 แบบ คือ (1) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และ (2) แบบสัดส่วน ซึ่งจะมีวิธีการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเท่ากับจำนวน ส.ส.ที่มีได้ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิ เช่น มี ส.ส.ได้ 1 คนก็กา X ได้ 1 เบอร์ มี ส.ส.ได้ 2 คนก็กา X ได้ 2 เบอร์ มี ส.ส.ได้ 3 คนก็กา X ได้ 3 เบอร์
2.การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ 1 พรรค หรือ กา X ได้ 1 เบอร์ (อ่านเพิ่มเติม)
กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง สส.แบบสัดส่วน
รัฐบาลย้ำเลือกตั้ง 23 ธ.ค. รายชื่อพรรคการเมืองในประเทศไทย
พรรคการเมืองที่มายื่นสมัครส.ส.ระบบสัดส่วนทั้งหมด 18 พรรค โดยมี 7 พรรคการเมือง ที่ส่งผู้สมัครครบทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยชาติพัฒนา ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย ความหวังใหม่ ส่วนพรรคที่ส่ง 4 กลุ่มจังหวัดมี 1 พรรค คือ เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรรคที่ส่ง 3 กลุ่มจังหวัด 2 พรรค คือ ประชาราช และประชากรไทย นอกจากนี้มีพรรคที่ส่ง 1 กลุ่มจังหวัด รวม 8 พรรค คือ พลังเกษตรกร รักเมืองไทย แรงงาน เกษตรกรไทย นิติศาสตร์ไทย พัฒนาประชาธิปไตย ดำรงไทย และชาติสามัคคี เมื่อรวมตัวเลขผู้สมัคร ปรากฎว่ามีทั้งสิ้น 740 คน โดย กกต.ได้รับค่าธรรมเนียมจากสมัครร วม 3.7 ล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวจะถูกนำเข้ากองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุน (อ่านรายละเอียด)
สื่อมวลชนกับข่าวเลือกตั้ง
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
สาระน่ารู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง 2550
การเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน ส.ส. 500 คน ส.ส.แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ แบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 400 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส.ได้ 1 คน รวมทั้งประเทศจึงมี ส.ส. 400 คน
หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรจำนวน ส.ส.เท่ากันอย่างสม่ำเสมอประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากันมีความเสมอ -ภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐี ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งแบบเดิมที่แต่ละเขตมี ส.ส.ไม่เท่ากัน บางเขตมี 1 คน บางเขตมี 2 คน หรือ 3 คน
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่ทุกคนพรรคการเมือง ต้องส่งบัญชีรายชื่อพรรคละไม่เกิน 100 คนเรียงลำดับไว้ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควบคู่กับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต