Friday, July 27, 2007

JK Rowling และ Harry Potter


เจ เค โรวลิ่ง (JK Rowling ) นักเขียนเจ้าของผลงานนวนิยายชุด"แฮร์รี่ พ็อตเตอร์"ที่เพิ่งเปิดตัวหนังสือ “แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ แอนด์ เดอะ เดธลี่ ฮัลโลวส์” ตอนที่ 7 โครงเรื่องหลักของนวนิยายชุดนี้เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับพ่อมดร้ายลอร์ดโวลเดอมอร์ และวางฉากหลักอยู่ที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ อ่านแล้ว ชวนติดตามอย่างยิ่ง
ผู้เขียนเป็นใคร
Quotation Pagesผู้เขียน Harry Potter
Profile
Biography
Interview author

Wednesday, July 25, 2007

เมื่อคนไทยไม่รักกัน

ความรัก ความสามัคคีของคนในชาติเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชาติอยู่รอด เราคงไม่อยากให้สภาพของการเอาชนะสำคัญกว่าการใช้เหตุใช้ผล เมื่อคนไทยไม่รักกัน ก็ถือว่าอันตราย
แต่เพราะเชื่อว่าคนไทยรักชาติ เราคงช่วยกันทำให้สังคมสงบ ร่มเย็นและน่าอยู่มากกว่านี้
เรารักชาติหรือรักใคร
เพลงพ่อของแผ่นดิน
เพลงถามคนไทย
เพลงถามคนไทย
สุรพล โทณวณิก(คำร้อง-ทำนอง)

หัวใจถูกแทงกี่ขั้ว ตามตัวถูกฟันกี่แผล
ปู่ไทยตายไปกี่คนแน่ ไทยจึงได้แผ่มาถึงแหลมทอง

กระดูกไทยกระเด็นไปกี่ท่อน เชิงตะกอนเผาไปกี่หน
คอขาดกันไปกี่คน ไทยทุกคนจึงได้ไทยครอบครอง

เสียเลือดกันไปเท่าไหร่ เสียใจกันไปกี่ครั้ง
น้ำตาของไทยไหลหลั่ง ทุกๆครั้งที่ถูกเฉือนขวานทอง

เข่นฆ่ากันทำไม เราเป็นคนไทยด้วยกันทั้งผอง
ไทยฆ่าไทย ให้ชาติอื่นครอง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร

ไทยฆ่าไทยให้ชาติอื่นครอง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร!!

Sunday, July 22, 2007

กีฬามหาวิทยาลัยโลก 8-18 สิงหาคม 2550

Opening ceremony August 8,2007
Universiade คืออะไร
Universiade เป็นภาษาอิตาเลียน มาจากคำว่า University + Olympiad หมายถึง กีฬาโอลิมปิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1959
The word “Universiade” comes from “university” and “Olympiad”, and means Olympic Games for students. The Universiade is an international sporting and cultural festival which is staged every two years in a different city and which is second in importance only to the Olympic Games
The Summer Universiade consists of 10 compulsory sports and up to three optional sports chosen by the host country.
The ten compulsory sports are Athletics Basketball Fencing Football Gymnastics Swimming Diving Water Polo Tennis Volleyball
ความเป็นมาของUniversiade
การแข่งขัน World Student Game ถือกำเนิดเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยนาย Jean Petitjean และในปีถัดมาได้จัดตั้งเป็น International Confederation of Student (I.C.S) มีการจัดประชุมขึ้นที่กรุงวอร์ซอ นครหลวงของโปแลนด์ มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของวงการกีฬายุคนั้น ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกอย่างก็ต้องหยุดชะงักลง แต่เมื่อสงครามสงบทางฝรั่งเศสก็ได้ฟื้น World University Games ขึ้นมาอีกครั้ง แต่ครั้งนั้นมีเพียงกลุ่มมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศตะวันตกไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่เข้าร่วม เนื่องจากภาวะสงครามเย็นนั่นเอง ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) เป็นปีกำเนิดของ FISU หรือสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก และถัดมาในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ.2500) ได้มีการแข่งขัน World University Sports Championship ขึ้น นับเป็นอีกก้าวที่มีความสำคัญและน่าจดจำยิ่ง เพราะในครั้งนี้มีทั้งมหาวิทยาลัยในกลุ่มโลกตะวันตกและตะวันออกรวมแข่งขันกันอย่างเสมอภาค ในปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ.2502) ได้มีการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกภายใต้ชื่อ Universiade ขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง Turin ประเทศอิตาลี และนับจากนั้น การแข่งขันกีฬาถูกจัดขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี

การอบรมอาสาสมัครกีฬามหาวิทยาลัยโลกฝ่ายประชาสัมพันธ์ ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม


พร้อมแล้ว กีฬามหาวิทยาลัยโลก

ขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษามาร่วมชมพิธีเปิด วันที่ 8 สิงหาคม 2550 ที่ สนามราชมังคลากีฬาสถาน และพิธีปิด วันที่ 18 สิงหาคม 2550 สนามแข่งขันมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน หมู่บ้านนักกีฬา และศูนย์ผู้สื่อข่าว อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
นักกีฬาฑูตUniversiadeมอบของที่ระลึก
ประชุมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก

กีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ณ รุงเทพมหานคร
ข้อมูลกิจกรรมสร้างกระแส
เพลงประจำการแข่งขัน
ประวัติกีฬามหาวิทยาลัยโลก
ฑูต Universiade คือ ใคร
ฑูต Universiade คือตัวแทนนักศึกษาของแต่ละสถาบัน ที่แต่ละสถาบันคัดเลือกให้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก ให้เป็นที่รู้จักในหมู่นิสิตนักศึกษา เป็นผู้แทนนักศึกษาในการประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชน และประชาชนรู้จัก ร่วมกับงานประชาสัมพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก




ประเทศเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก

1 26 ส.ค.-7 ก.ย.1959 เมืองตูริน ประเทศอิตาลี

2 25 ส.ค.-3 ก.ย.1961 กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย

3 30 ส.ค.-8 ก.ย.1963 เมืองพอร์ตโต อเลเกร ประเทศบราซิล

4 20-30 ส.ค.1965 กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี

5 27 ส.ค.-9 ก.ย.1967 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

6 26 ส.ค.-6 ก.ย.1970 เมืองตูริน ประเทศอิตาลี

7 15-25 ส.ค.1973 กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย

8 18-21 ก.ย.1975 กรุงโรม ประเทศอิตาลี

9 17-28 ส.ค.1977 กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย

10 2-13 ก.ย.1979 เมืองเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก

11 19-30 ก.ค.1981 กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย

12 1-12 ก.ค.1983 เมืองเอดมอนตัน ประเทศแคนาดา

13 24 ส.ค.-4 ก.ย.1985 เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น

14 8-19 ก.ค.1987 เมืองซาเกร็บ ประเทศยูโกสลาเวีย

15 22-30 ส.ค.1989 เมืองดุยส์บวร์ก ประเทศเยอรมัน

16 14-25 ก.ค. 1991 เมืองเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ

17 8-18 ก.ค.1993 เมืองบัฟฟาโล สหราชอาณาจักร

18 23 ส.ค.- 3 ก.ย.1995 เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

19 19-31 ส.ค. 1997 เมืองซิซิลี ประเทศอิตาลี

20 3-13 ก.ค. 1999 เมืองมายอร์กา ประเทศสเปน

21 22 ส.ค.-1 ก.ย. 2001 กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

22 21-31 ส.ค. 2003 เมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้

23 11-21 ส.ค. 2005 เมืองอิซเมียร์ ประเทศตุรกี

24 8-18 ส.ค. 2007 กรุงเทพฯ ประเทศไทย
2009 Winter Universiade • Harbin (CHN)
Summer Universiade • Belgrade (SRB)
2011 Winter Universiade • Erzurum (TUR)
Summer Universiade • Shenzhen (CHN)

การดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ.2550

1.Theme Song (เพลงหลักประจำการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ.2550)
คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้แต่งเพลงประจำการแข่งขันขึ้น โดยนำความหมายของ “All Become One” มาร้อยเรียงเป็นบทเพลง “ดวงดาวเป็นหนึ่งเดียว” และขับร้องโดยศิลปินรุ่นใหม่ โจ-ป๊อป และ ซินเดอเรลล่า โดยเพลงนี้เป็นเพลงสำหรับการแข่งขันทีม Cheer Leader ในกิจกรรม Campus Tour ด้วย ทั้งนี้ UBOC ได้เห็นชอบให้ใช้เพลง “ดวงดาวเป็นหนึ่งเดียว” เป็นเพลงหลักประจำการจัดการแข่งขันฯ ครั้งนี้แล้ว
2.กิจกรรมสร้างกระแส
.2.1 ทูต Universiade พบฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
- ทูต Universiade เข้ารับมอบสายสะพายและรับโอวาทพร้อมเหรียญที่ระลึกจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ณ ทำเนียบรัฐบาล
- ทูต Universiade นำ Mascot และ Wristband มอบแด่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550
- ทูต Universiade นำ Mascot และ Wristband มอบแด่ ประธาน คมช. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2550
2.2 ทูต Universiade พบสื่อมวลชน
- เข้าพบสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ และโทรทัศน์ รวม 18 แห่ง
- ให้สัมภาษณ์ในรายการ คืนนี้กับสายสวรรค์ ทาง TITV
- ให้สัมภาษณ์ในรายการ ชีพจรกีฬา ทางช่อง 5
- ให้สัมภาษณ์ในรายการ มองเมืองเหนือ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 จังหวัดเชียงใหม่
- ให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 และ Cable TV ท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก
- ให้สัมภาษณ์ในรายการวิทยุในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ วิทยุแห่งประเทศไทย FM. 93.25 วิทยุกองทัพภาคที่ 3 FM. 101.50 วิทยุเสียงสื่อสารมวลชน FM. 100 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 จังหวัดขอนแก่น และสถานีวิทยุ อสมท. 90.75 ขอนแก่น
- บันทึกเทปสัมภาษณ์ออกอากาศทาง ช่อง 11 จังหวัดสงขลา รายการ Time For Teen
- ให้สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุต่างๆ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อาทิ Modern Radio 96.5 U Radio FM. 101.25 City Radio FM.98.5 ดนตรีสีสัน FM.89.50 Zad Radio FM.107.75 We Love FM.92.0 Chat Zone FM.88.0
2.3 กิจกรรม Campus Tour และ มอบสื่อประชาสัมพันธ์ ( Poster ,Banner , T- shirt , Wristband , หมวก cap , Mascot )
- วันที่ 12 มิ.ย.50 แถลงข่าวกิจกรรม Campus Tour และปล่อยคาราวานการประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขันกีฬาฯ สู่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- วันที่ 13-14 มิ.ย.50 กิจกรรมมอบสื่อประชาสัมพันธ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 16 แห่ง
- วันที่ 18-21 มิ.ย.50 กิจกรรมมอบสื่อประชาสัมพันธ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ และจัดกิจกรรมสร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันฯ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วันที่ 25-28 มิ.ย.5 กิจกรรมมอบสื่อประชาสัมพันธ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจัดกิจกรรมสร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันฯ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วันที่ 2-5 ก.ค.50 กิจกรรมมอบสื่อประชาสัมพันธ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคใต้ และจัดกิจกรรมสร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันฯ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วันที่ 11-27 ก.ค.50 กิจกรรมมอบสื่อประชาสัมพันธ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร และจัดกิจกรรม สร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันฯ ที่มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 7 แห่ง
2.4งานแถลงข่าว
- วันที่ 3 เมษายน 2550 แถลงข่างครั้งที่ 1 เปิดตัวกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว จำนวนผู้เข้าร่วมงานกว่า 600 คน
- วันที่ 7 เมษายน 2550 แถลงข่าวครั้งที่ 2 การจับฉลากแบ่งสาย และ HOD Meeting ณ โรงแรมดุสิตธานี
- วันที่ 12 มิถุนายน 2550 แถลงข่าวครั้งที่ 3 กิจกรรมคาราวานและ Campus Tour “Universiade day” ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 แถลงข่าวครั้งที่ 4 ประกาศความพร้อม 100 % ของคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯทุกฝ่าย
- วันที่ 5 สิงหาคม 2550 แถลงข่าวการประชุมวิชาการ Universiade Conference ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
3.สื่อ Outdoor
3.1 Banner
- ขนาด 1X3 เมตร จำนวน 500 ผืน (ติดตั้งทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล) (งบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม)
- ขนาด 1X6 เมตร จำนวน 300 ผืน (ติดตั้งอาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ) (งบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม)
- ขนาด 1X3 เมตร จำนวน 1,600 ผืน (ติดตั้งสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ)
- ขนาด 2X3.8 เมตร จำนวน 2 ป้าย ติดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
- ขนาด 3X7 เมตร จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งหน้าคุรุสภา
- ขนาด 15X7 เมตร จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งหน้า สกอ.
- ขนาด 6X6 เมตร จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งหน้าโรบินสันสีลม ตรงข้าม รพ.จุฬา
- ขนาด 3X12 เมตร จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งหน้าโรบินสันสีลม ตรงข้ามโรงแรมดุสิตธานี
3.2Billboard
- ขนาด 12X26 เมตร 1 ป้าย ถนนวิภาวดีรังสิต
- ขนาด 15X46 เมตร 1 ป้าย ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ
- ขนาด 12X26 เมตร 1 ป้าย ถนนรัชดามุ่งหน้าอโศก
- ขนาด 7X12 เมตร 1 ป้าย สี่แยกพระราม 9
- ขนาด 8X20 เมตร 2 ป้าย ถนนวิภาวดีรังสิต
- ขนาด 10X25 เมตร 1 ป้าย ถนนประชานุกูล
- ขนาด 12X30 เมตร 1 ป้าย ถนนงามวงศ์วานขาเข้า ตรงข้าม The Mall
- ขนาด 10X15 เมตร 1 ป้าย ถนนวิภาวดีขาออก สุทธิสาร
- ขนาด 12X32 เมตร 1 ป้าย บนทางด่วนพระราม 9
- ขนาด 6X14 เมตร 1 ป้าย สี่แยกอโศก สุขุมวิท
- BTS City Light – Walk way ขนาด 1.8X1.2 เมตร จำนวน 5 ป้าย ณ สถานีสนามกีฬาและอนุสาวรีย์
- BTS City Light – Walk way ขนาด 1.2X2.7 เมตร จำนวน 2 ป้าย ณ สถานีสนามกีฬา
- BTS City Light – Walk way ขนาด 1.2X2.9 เมตร จำนวน 3 ป้าย ณ สถานีอนุสาวรีย์
3.3ยิง Laser Count Down ที่อาคารฐานเศรษฐกิจ ในเวลา 19.00-23.00 น. ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550
4.Media
4.1Radio Spot 30 sec. + พิธีกรกล่าวในรายการ
- เผยแพร่แล้ว 11,372 ครั้ง (ข้อมูลถึงวันที่ 30 มิ.ย.50) จากจำนวนทั้งหมด 21,385 ครั้ง
4.2TVC 15 sec.
- เผยแพร่แล้ว 252 ครั้ง (ข้อมูลถึงวันที่ 30 มิ.ย.50) จากจำนวนทั้งหมด 681 ครั้ง
- มีการ Tie-in ในรายการต่าง ๆ 64 ครั้ง อาทิ เรื่องเล่าเช้านี้ กีฬารอบสัปดาห์ โต๊ะข่าวกีฬา เป็นต้น
- มี Scoop เผยแพร่ 8 ครั้ง ในรายการกีฬารอบสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ออกอากาศวันเสาร์ เวลา 10.25-10.30 น.
4.3สื่อโรงภาพยนตร์ 30 sec.
- ฉายในโรงภาพยนตร์ในเครือ Major Cineplex และ EGV
- จำนวน 19 โรง ใน 7 สาขาทั่วกรุงเทพฯ
- เผยแพร่แล้ว 3,420 ครั้ง จากจำนวนเผยแพร่ทั้งหมด 7,735-10829 ครั้ง (ข้อมูลถึงวันที่ 28 มิ.ย.50)
- โฆษณาบน VDO Wall 16 สาขา ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 26,880 รอบ เผยแพร่แล้ว 8,960 ครั้ง (ข้อมูลถึงวันที่ 28 มิ.ย.50)
4.4 สารคดีสั้นเฉลิมพระเกียรติ King of Thailand King of Sports
- สารคดี ความยาว 1 นาที จำนวน 20 ตอน ออกอากาศ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท.
- ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 20 ตอน ทางช่อง 9 และ ช่อง 11 ช่วงฟุตบอลโลกเยาวชน ในเดือน ก.ค. 50
4.5 โฆษณาประชาสัมพันธ์โดยการตีพิมพ์ข้อความ การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ณ วันที่ 8-18 สิงหาคม 2550 บนซองใส่ตั๋วรถไฟ จำนวน 1.8 ล้านซอง

5.ของที่ระลึก
5.1 เสื้อยืดคอกลม 9,000 ตัว
5.2 เสื้อโปโล 2,000 ตัว
5.3 สายรัดข้อมือ 20,000 เส้น
5.4 ของที่ระลึก VIP 2,000 ชิ้น
5.5 เสื้อแจ็คเก็ต 1,000 ตัว
5.6 Mascot ตัวเล็ก 500 ตัว
6. สื่อสิ่งพิมพ์
6.1 Information Leaflet 220,000 ใบ (ผลิตไปแล้ว 140,000 ใบ)
6.2 Poster 50,000 ใบ
6.3 Main Brochure 20,000 ฉบับ
6.4 Media Rate Card 1,000 เล่ม และ CD 200 แผ่น
6.5 Media Guide 1,000 เล่ม และ CD 200 แผ่น
6.6 Daily News ตั้งแต่วันที่ 4 -19 สิงหาคม 2550
6.7 Bulletin 2 ฉบับ ฉบับละ 1,000 เล่ม
7.จัดทูตนักกีฬาวิ่งคบเพลิงในพิธีเปิด จำนวน 4 คน ได้แก่
7.1 แมน บุญศักดิ์ พลสนะ
7.2 วิว เยาวภา บุรพลชัย
7.3 ลีซอ ธีรเทพ วิโนทัย
7.4 ปิ๊ก ดนัย อุดมโชค
8.Press Center
8.1 Main Press Center
สถานที่ตั้ง : อาคาร SC (Social Complex) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
8.2 Sub Press Center
สถานที่ตั้ง : จำนวน 4 แห่ง
1. ราชมังคลากีฬาสถาน (ห้อง Press Center Zone W3)
2. RAMA GARDENS HOTEL (Main Press Hotel)
3. ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี (ห้อง Phoenix 1 – 2)
4. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ (อาคารอำนวยการ)
ระยะเวลาทำการ : วันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.
วันที่ 6 – 18 สิงหาคม 2550 ตลอด 24 ชั่วโมง
วันที่ 19 สิงหาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.
8.3การให้บริการก่อนการแข่งขัน
- จัดทำ Media Rate Card เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สื่อข่าวในการทราบข้อมูลค่าใช้จ่ายการเช่า/ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ สำหรับผู้สื่อข่าว
- จัดทำ Media Guide สำหรับแจกผู้สื่อข่าวเพื่อให้รับทราบข้อมูลที่จำเป็นเบื้องต้น
- ผู้สื่อข่าวทั่วโลกสามารถแจ้งความประสงค์หรือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ทาง
E-Mail : mpc@bangkok2007.com โดยจะมีทีมงานดูแลให้คำตอบทันที ทั้งนี้ โดยในทุกสัปดาห์จะ
ทำรายงานสรุปเสนอต่อ UBOC โดยแยกคำขอแต่ละประเทศและประเภทคำขอ
9.Information Center
9.1 Main Information Center (ขนาด 3X4 เมตร)
- จำนวน 4 จุด ณ ให้บริการ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และ สนามราชมังคลากีฬาสถาน
9.2 Sub Information Center (ขนาด 3X4 เมตร)
- จำนวน 28 จุด ให้บริการในสนามแข่งขันต่าง ๆ กว่า 13 แห่ง
10. การให้บริการข้อมูลสื่อมวลชน

Saturday, July 21, 2007

ไปลงประชามติ 19 สิงหาคม 2550

ไปลงประชามติ 19 สิงหาคม 2550
รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ http://www.parliament.go.th/ หรือ http://cda.parliament.go.th/
อ่านเนื้อหารัฐธรรมนูญใหม่ที่ สาระสำคัญ ควรอ่านก่อนวิจารณ์ จะได้เลือกตั้งกันตามระบอบประชาธิปไตย

สาระสำคัญรัฐธรรมนูญใหม่ เพิ่มอำนาจประชาชน-ลดอำนาจรัฐ
สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของบุคคล
รณรงค์ทุกโรงเรียนไปลงประชามติวันที 19 สิงหาคม 2550ส่วนวันที่ 20 สิงหาคมกำหนดให้เป็นวันหยุดชดเชย

Friday, July 20, 2007

การอ่านและประสบการณ์ผู้ใช้ห้องสมุด

"ข้าพเจ้าเป็นสุข และเชื่อว่า ใครก็ตามที่มีรสนิยมการอ่านหนังสือดี ย่อมทนต่อความเงียบเหงาในทุกแห่งได้อย่างสบาย"
เป็นคำกล่าวของมหาตมะ คานธี
มหาตมะ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi มักเรียกกันว่า Mahatma Gandhi) (2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 - 30 มกราคม ค.ศ. 1948) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดีย ท่านเป็นผู้นำคนสำคัญกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพของอินเดียจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร โดยใช้วิธีอหิงสา

พัฒนาการของห้องสมุดในต่างประเทศ
ประสบการณ์ ห้องสมุดประชาชนเยอรมัน
อ่านประสบการณ์ของคนรุ่นใหม่
ภาพห้องสมุดปรับปรุงใหม่ หลังประสบภันสึนามิ
บันทึกนักเดินทาง สารคดี
ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
แผนพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในฝัน
ห้องสมุด ศนอ.

Thursday, July 19, 2007

คู่มือการจัดการความรู้

ใครๆก็พูดถึงการจัดการความรู้
การจัดการความรู้คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (กพร.)
อ่านความหมายและองค์ประกอบของการจัดการความรู้
หลายคนถามหาคู่มือการจัดการความรู้ ลอง download จากเว็บไซต์นี้อ่านดู KM Handbook อีกเล่มเป็น Pdf file โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ หรือ แผนการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย
ดูตัวอย่างการจัดการความรู้ของ จังหวัดปราจีนบุรี

Wednesday, July 18, 2007

ฤา DOI จะมาแทนที่ ISBN

DOI ย่อมาจาก Digital Object Identifier เริ่มแพร่หลายมาได้ 9 ปี ในขณะที่ ISBN ใช้เป็นเลขประจำหนังสือมากว่า 40 ปี เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและการใช้ข้อมูลดิจิทัลแพร่หลายมากขึ้น แนวคิดในการกำหนดรหัสประจำไฟล์ดิจิทัล ที่เชื่อมโยงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้ อ่านคู่มือ DOI ที่ http://www.doi.org ข้อมูลในฐานข้อมูลออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ จึงนิยมขอรหัสประจำไฟล์ข้อมูลดิจิทัล เพื่อการปกป้องลิขสิทธิ์ และการทำธุรกิจ
ออนไลน์
คำถามที่ว่า DOI จะมาแทนที่ ISBN หรือไม่นั้น คำตอบคือ ไม่ เพราะ DOI เอื้อต่อการใช้งานร่วมกับ ISBN และมาตรฐานอื่น
ลองขอรหัส DOI สำหรับไฟล์ดิจิทัลได้ที่ Doieasylink.netโดยมีค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด
หรือจะมีองค์กรใดสมัครเป็น DOI registration agency (RA) เราคนไทยจะได้ขอรหัส DOI ได้ง่ายขึ้น ก็รอลุ้นให้ห้องสมุด TIAC หรือองค์กรที่มีความพร้อมสมัคร
8 RAs such as
Copyright Agency Limited* (Australia)
CrossRef* (USA)
mEDRA* (USA)
Nielsen BookData* (UK)
OPOCE* (Office of Publications of the European Union)
R. R. Bowker (USA)
TIB (German National Library of Science and Technology)*
Wanfang Data (china)
About DOI
DOI Handbook
RSS feeds for LIS Journals

Sunday, July 15, 2007

ห้องสมุดยุคใหม่กับบรรณารักษ์ใจดี



เพิ่งมีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี อยากบอกว่านอกจากสวนสวยแล้ว ห้องสมุดก็สวยไม่แพ้กัน เป็นต้นแบบของห้องสมุดขนาดกระทัดรัดได้ อย่างไม่น้อยหน้าต่างชาติ ต้องขอบคุณกรุงเทพมหานครที่สนับสนุนอาหารสมองของเยาวชนไทย ทราบว่ากำลังจะเปิดบริการอีกหลายแห่งทั่วกรุง ห้องสมุดต่างจังหวัดไม่ต้องไปดูงานที่ไหนไกล มาดูที่นี่ก็ได้ค่ะ บรรณารักษ์ใจดี
ห้องสมุดประชาชนในกรุงเทพมหานคร

Friday, July 13, 2007

ทักษะการรู้สารสนเทศ

ทักษะการรู้สารสนเทศหรือการเรียนรู้สารสนเทศ เป็นทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้
Information literacy weblog
UNESCO and Information Literacy
Too much information
Information literacy tutorials
Info.literacy research

Information literacy: Course Outline
Course: IBC 101 Course title: Access to Library and Information System
Number of credits: 3(2-2) Semester 1/2007
Day/Time: Tuesday (Lec.) 8.30-10.20 Room 1-404, Lab 10.30-12.20 (1-405)
Lecturer: Assoc.Prof.Dr.Namtip Wipawin (nwipawin@gmail.com)
Lecturer qualification: Ph.D.(Library and information Studies), Loughborough University of Technology, United Kingdom.
Office hour: Monday-Friday 9.00 A.M-4.30 P.M. (Central Library Floor 1)
Course Description: A study of the current state of information technology and development of study skills for higher education, in terms of the use of computer, electronic library, Internet in the information superhighway.
Prerequisite: -
Objectives: the primary objective of this course is to develop students who are aware of the complex nature of the information environment, and who can skillfully navigate their way through the information technology environment. This course will allow students :
1. to be able to identify information they need;
2. to be able to critically evaluate information they find;
3. to be able to organize information they find; and
4. to be able to use information effectively.
Teaching and learning activities:
1.Lecturer 2. Discussion 3.Computer lab.
Teaching and learning media:
1.Power point presentation and handouts. 2.Textbooks 3. Related websites
Topics & Schedule
Week Topics Activities
1 Data,Information, Knowledge, Wisdom Lecture/Discussion/Lab
2. Information Literacy Skills Lecture/Discussion/Lab
3. Sources of Knowledge : Libraries Lecture/Discussion/Lab
4 Reference Sources Lecture/Discussion/Lab
5 Online Catalog and Databases Lecture/Discussion/Lab
6 Report Writing and Citation Lecture/Discussion/Lab
7 Internet Lecture/Discussion/Lab
8 Midterm Midterm test
9 Search engine Lecture/Discussion/Lab
10 Evaluation Sources of Information Lecture/Discussion/Lab
11 Information Technology Lecture/Discussion/Lab
12 Information Systems Lecture/Discussion/Lab
13 Knowledge Management Lecture/Discussion/Lab
14 Copyright and Fair use Lecture/Discussion/Lab
15 Information Packages and Presentation Lecture/Discussion/Lab
Evaluation methods: Total 100 %
1. Assignment/Report/Class Participation 30%
2.Midterm examination 20%
3.Final examination 50%

Textbooks/Materials/References:
1.Wipawin,N.(2007) Access to Library and Information Systems.Bangkok: Sripatum University.
2.Anderson,E (1999) Learn Basic Library Skills. Canberra: DocMatrixPly.
3.Turban,E.(2001) Introduction to Information Technology. N.Y.: John Wiley and Sons.
4.Library website: http://library.spu.ac.thWeb Blog: http://dekkid.blogspot.com
5.University website: http://www.spu.ac.th

Requirement:
At least 80% of class attendance is required in order to take final examination.

Friday, July 06, 2007

สร้างเว็บบล็อกห้องสมุด

โครงการห้องสมุดช่วยห้องสมุด
ติดต่อ ทีมงานห้องสมุด บริการชุมชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ใครๆก็สร้างเว็บบล็อกได้ น่าสนใจทั้งนั้นเลย
ตัวอย่างเว็บบล็อก
ตัวอย่างการแนะนำหนังสือ
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์บ้าง
บล็อกคืออะไร
BlogBasic
ห้องสมุดดีๆมีที่ไหน : ห้องสมุดออกแบบดี
ห้องสมุด TCDC ห้องสมุดเฉพาะ: ต้องมีงบประมาณพอสมควร
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี
ห้องสมุด TK Park :ห้องสมุดประชาชน
บริษัทออกแบบห้องสมุด
ออกแบบห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดดีๆมีถมไป
ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ศูนย์การเรียนรู้
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ