25 พฤศจิกายน 2548 18:44 น.
การตัดสินชี้ขาดของนายกรัฐมนตรี ให้เปิดประมูลคอมพิวเตอร์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แยก 10-15 ชิ้นส่วนหลัก ในที่ประชุมคณะกรรมการการดำเนินการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาประกอบเครื่องทั้งหมดนั้น สอดคล้องกับหลักการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน ซึ่งเชิดชูแนวคิดบริหารโดยซีอีโอ หรือให้ซีอีโอเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างยิ่ง
โครงการคอมพิวเตอร์ ศธ. ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ศธ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันศึกษารายละเอียดจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่อง ซึ่งคณะกรรมการ 5 ชุด เสนอแนวคิดที่เป็นไปได้ทั้งการจัดซื้อชนิดเครื่องประกอบให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 400 คน ส่วนโรงเรียนที่มีนักเรียนมากกว่านั้นให้นักเรียนอาชีวะประกอบเครื่อง
รวมถึงกระจายการจัดซื้อไปใน 5 ภูมิภาคหลัก สร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน และเป็นไปได้ในการขนส่ง แต่การประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (21) ซึ่งซีอีโอประเทศไทยพูดเพียงฝ่ายเดียว และชี้ขาดโดยไม่ต้องใช้ผลการศึกษาของทีมงานประกอบ แต่คงหลักการตามนโยบายเดิมที่ประกาศไว้ตั้งแต่แรก คือ แยกซื้อชิ้นส่วน ทั้งเจรจาตรงผู้ผลิต แล้วให้อาชีวะประกอบเครื่องทั้งหมด ซึ่งเสียงท้วงติงทั้งหลายไม่มีความหมาย
ในที่สุดแล้วความเสี่ยงจากการบริหารโครงการขนาดใหญ่ การจัดซื้อจำนวนมากในคราวเดียว ปัญหาความเข้ากันได้ของระบบ (Compatibility) การจัดส่งและรับประกันคุณภาพสินค้า และการตัดตอนผู้ประกอบในอุตสาหกรรม
คำพูดง่ายๆ ว่า "หมื่นบาทก็คงไม่เป็นไร" หากอาชีวะประกอบเครื่องแล้วเกิดความเสียหาย ทั้งที่เงินนี้คือภาษีของประชาชน แถมมีเด็กๆ นักเรียนตั้งตารออย่างเปี่ยมหวัง
อ่านต่อที่"คอมพ์ศธ.2.5 แสน" บทพิสูจน์การบริหารซีอีโอประเทศ