Por Birthday at A.Mullica restaurant to celebrate 20 years old in 2550.
Happy Birthday Ple 2550 at home.
Sunday, November 27, 2005
คอมพิวเตอร์โรงเรียน
25 พฤศจิกายน 2548 18:44 น.
การตัดสินชี้ขาดของนายกรัฐมนตรี ให้เปิดประมูลคอมพิวเตอร์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แยก 10-15 ชิ้นส่วนหลัก ในที่ประชุมคณะกรรมการการดำเนินการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาประกอบเครื่องทั้งหมดนั้น สอดคล้องกับหลักการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน ซึ่งเชิดชูแนวคิดบริหารโดยซีอีโอ หรือให้ซีอีโอเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างยิ่ง
โครงการคอมพิวเตอร์ ศธ. ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ศธ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันศึกษารายละเอียดจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่อง ซึ่งคณะกรรมการ 5 ชุด เสนอแนวคิดที่เป็นไปได้ทั้งการจัดซื้อชนิดเครื่องประกอบให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 400 คน ส่วนโรงเรียนที่มีนักเรียนมากกว่านั้นให้นักเรียนอาชีวะประกอบเครื่อง
รวมถึงกระจายการจัดซื้อไปใน 5 ภูมิภาคหลัก สร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน และเป็นไปได้ในการขนส่ง แต่การประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (21) ซึ่งซีอีโอประเทศไทยพูดเพียงฝ่ายเดียว และชี้ขาดโดยไม่ต้องใช้ผลการศึกษาของทีมงานประกอบ แต่คงหลักการตามนโยบายเดิมที่ประกาศไว้ตั้งแต่แรก คือ แยกซื้อชิ้นส่วน ทั้งเจรจาตรงผู้ผลิต แล้วให้อาชีวะประกอบเครื่องทั้งหมด ซึ่งเสียงท้วงติงทั้งหลายไม่มีความหมาย
ในที่สุดแล้วความเสี่ยงจากการบริหารโครงการขนาดใหญ่ การจัดซื้อจำนวนมากในคราวเดียว ปัญหาความเข้ากันได้ของระบบ (Compatibility) การจัดส่งและรับประกันคุณภาพสินค้า และการตัดตอนผู้ประกอบในอุตสาหกรรม
คำพูดง่ายๆ ว่า "หมื่นบาทก็คงไม่เป็นไร" หากอาชีวะประกอบเครื่องแล้วเกิดความเสียหาย ทั้งที่เงินนี้คือภาษีของประชาชน แถมมีเด็กๆ นักเรียนตั้งตารออย่างเปี่ยมหวัง
อ่านต่อที่"คอมพ์ศธ.2.5 แสน" บทพิสูจน์การบริหารซีอีโอประเทศ
การตัดสินชี้ขาดของนายกรัฐมนตรี ให้เปิดประมูลคอมพิวเตอร์กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แยก 10-15 ชิ้นส่วนหลัก ในที่ประชุมคณะกรรมการการดำเนินการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาประกอบเครื่องทั้งหมดนั้น สอดคล้องกับหลักการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน ซึ่งเชิดชูแนวคิดบริหารโดยซีอีโอ หรือให้ซีอีโอเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างยิ่ง
โครงการคอมพิวเตอร์ ศธ. ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ศธ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันศึกษารายละเอียดจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่อง ซึ่งคณะกรรมการ 5 ชุด เสนอแนวคิดที่เป็นไปได้ทั้งการจัดซื้อชนิดเครื่องประกอบให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 400 คน ส่วนโรงเรียนที่มีนักเรียนมากกว่านั้นให้นักเรียนอาชีวะประกอบเครื่อง
รวมถึงกระจายการจัดซื้อไปใน 5 ภูมิภาคหลัก สร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน และเป็นไปได้ในการขนส่ง แต่การประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (21) ซึ่งซีอีโอประเทศไทยพูดเพียงฝ่ายเดียว และชี้ขาดโดยไม่ต้องใช้ผลการศึกษาของทีมงานประกอบ แต่คงหลักการตามนโยบายเดิมที่ประกาศไว้ตั้งแต่แรก คือ แยกซื้อชิ้นส่วน ทั้งเจรจาตรงผู้ผลิต แล้วให้อาชีวะประกอบเครื่องทั้งหมด ซึ่งเสียงท้วงติงทั้งหลายไม่มีความหมาย
ในที่สุดแล้วความเสี่ยงจากการบริหารโครงการขนาดใหญ่ การจัดซื้อจำนวนมากในคราวเดียว ปัญหาความเข้ากันได้ของระบบ (Compatibility) การจัดส่งและรับประกันคุณภาพสินค้า และการตัดตอนผู้ประกอบในอุตสาหกรรม
คำพูดง่ายๆ ว่า "หมื่นบาทก็คงไม่เป็นไร" หากอาชีวะประกอบเครื่องแล้วเกิดความเสียหาย ทั้งที่เงินนี้คือภาษีของประชาชน แถมมีเด็กๆ นักเรียนตั้งตารออย่างเปี่ยมหวัง
อ่านต่อที่"คอมพ์ศธ.2.5 แสน" บทพิสูจน์การบริหารซีอีโอประเทศ
Saturday, November 26, 2005
Thursday, November 17, 2005
Subscribe to:
Posts (Atom)