Tuesday, February 23, 2010

ศิลปินแห่งชาติ 2552

รมว.วัฒนธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ประกาศผลการคัดเลือกศิลปินที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติใน 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพ.ศ.2552 มีรายชื่อดังต่อไปนี้

ศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง สาขาทัศนศิลป์ ด้านจิตรกรรม

นายองอาจ สาตรพันธุ์ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ สาขาทัศนศิลป์ ด้านประณีตศิลป์- แกะสลักเครื่องสด

นายวรนันท์ ชัชวาลทิพากร สาขาทัศนศิลป์ด้านภาพถ่าย

นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์

นายจตุพร รัตนวราหะ สาขาศิลปะการแสดง ด้านนาฏศิลป-โขน

นายอุทัย แก้วละเอียด สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทย

นางมัณฑนา โมรากุล สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทยสากล-คำร้อง

นายประยงค์ ชื่นเย็น สาขาศิลปะการแสดง ด้านดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน
รายละเอียด

คลังข้อมูลภาพศิลปินแห่งชาติ

Tuesday, February 16, 2010

เด็กไทยมีระดับเชาว์ปัญญาและพัฒนาการสมวัยต่ำลง?

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 2540-2552 เด็กไทยมีระดับเชาว์ปัญญาและพัฒนาการสมวัยต่ำลง โดยค่าเฉลี่ยลดลงจาก 91 เหลือ 88 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 90-110 และยังต่ำกว่าระดับ 104 ซึ่งเป็นระดับเชาว์ปัญญาของเด็กๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเมื่อแยกตามอายุพบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 72 เหลือเพียง ร้อยละ 67 และเด็กทารกอายุ 6-12 เดือน ร้อยละ 45 ได้รับอาหารไม่เหมาะสมตามวัย

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังระบุว่า เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนติดอาหารรสหวาน มัน เค็ม โดยในรอบ 3 ปีคือ 2547-2550 เด็กไทยกินขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเป็นประจำเพิ่มขึ้นถึง 1.8 และ 1.5 เท่าตามลำดับ และเด็กวัยเรียนกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้งที่ระดับที่เหมาะสมคือ ไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ

"ที่น่าตกใจคือ เด็กไทยซื้อขนมกินเฉลี่ย คนละ 9,800 บาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเพียงคนละ 3,024 บาทต่อปี พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน"

นพ.สมยศ กล่าวด้วยว่า กรมอนามัยคาดว่าในปี 2558 จะมีเด็กอ้วนสูงถึง 1 ใน 5 ของเด็กวัยก่อนเรียน และ 1 ใน 10 ของเด็กวัยเรียน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
อ่านรายละเอียด

สำหรับพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม จริยธรรม ทดสอบด้วยแบบวัด MITSEA (Modified Infant Toddler Social and Emotional Assessment) พบว่า ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เมื่อเทียบกับเด็กอเมริกัน เกือบครึ่งของเด็กไทยมีสมรรถนะทางอารมณ์และสังคมอยู่ในเกณฑ์ล่าช้ากว่าเด็กอเมริกัน และประมาณ 1 ใน 3 มีพัฒนาการด้านสัมพันธ์ใกล้ชิดอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเด็กอเมริกัน

นอกจากนี้ ด้านที่ต่ำกว่าเด็กอเมริกันชัดเจนคือ ด้านแรงจูงใจใฝ่สำเร็จ และได้สนใจความจดจ่อมีสมาธิ แต่ส่วนที่ดีกว่าเด็กอเมริกันคือ การชอบสังคม และความเห็นอกเห็นใจ ในเด็กอายุ 10 – 18 ปี มีคะแนนต่ำที่สุด คือ ความคิดสร้างสรรค์ การควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตระหนักรู้ในตนและการแก้ปัญหา เด็กที่อายุมากขึ้นจะอดออมน้อยลง มีพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ และไม่ละอายเกรงกลัวบาป เช่น การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส การลอกข้อสอบ การเล่นกับเด็กก็จะเกเร เด็กแอบหยิบของในร้านค้า

ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรอนามัยโลก ปี 2542 ระบุว่า เด็กปฐมวัยอายุ 1 และ 4 ใน 9 จังหวัดเป็นตัวแทน 4 ภาค ยกเว้นกรุงเทพฯ มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้ามากที่สุด รองลงมาคือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการปรับตัว
อ่านรายละเอียด