Monday, April 02, 2012

ประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ มสธ. กลุ่ม 2

วันที่ 28 มีนาคม-2 เมษายน 2555
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Sunday, February 19, 2012

ความจำเป็นในการสอนการอ่านและการเขียน

การสอนให้นักเรียนอ่านและเขียนได้ในระดับปฐมวัยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนทั้งในโรงเรียนและในชีวิต ถ้านักเรียนไม่ได้รับการสอนการอ่านและเขียนอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในอนาคต จึงจำเป็นต้องเน้นการให้ความสำคัญกับการอ่านและการเขียนของเด็กเป็นอันดับแรก
บทความ Learning to read and Write

Monday, August 29, 2011

IBC101 2011

IBC101 Access to Library and Information System
Contents:
Chapter 1 : Data, Information, Knowledge, Wisdom
Read this article :
1.Hierarchies of Understanding
2. Poor and good information
3.Sources of information , Primary sources, Graphic
Exercise 1 : The difference between Data, Information, Knowledge, Wisdom.
Learn more about Blogger: http://theedifier.com/blogging-blogger/
Blogger training http://www.lynda.com/Blogger-tutorials/essential-training-2004/113-2.html

Chapter 2 : What is Information Literacy?
Information Literacy Concept http://www.tttworkshop.net/sunumlar/serap_kurbanoglu/sunum1final.ppt
Big6 Skills http://pdtogo.com/files/Big%206%20PP.ppt
Big6 Skills with other standards http://www.janetsinfo.com/big6info.htm
IL Standards http://skil.stanford.edu/intro/research.html
Understanding Information Literacy http://unesdoc.unesco.org/images/0015/001570/157020e.pdf
IL Blog http://information-literacy.blogspot.com/2011/08/unesco-media-information-literacy.html Media and Information Literacy (in Thai) http://www.milthailand.org/

Exercise 2 :
1.Draw the concept mapping of your select report topic.
2.Identify the examples of Objective Facts and Subjective Opinions in your web blog.

Chapter 3 : Sources of knowledge : Libraries
SPU Library Collection http://librarytest.spu.ac.th/content/0/14800.php
What is a library? http://www.usg.edu/galileo/skills/unit03/libraries03_02.phtml
What is Library Classification? http://www.newworldencyclopedia.org/entry/Library_classification
Library of Congress Classification http://www.usg.edu/galileo/skills/unit03/libraries03_04.phtml
Library of Congress Classification System http://library.canterbury.ac.nz/infolit/tutorials/callnumbers3.shtml
Dewey Decimal Classification System http://library.canterbury.ac.nz/infolit/tutorials/callnumbers3.shtml
LC & DC http://en.wikipedia.org/wiki/Comparison_of_Dewey_and_Library_of_Congress_subject_classification

Library Catalog http://www.lib.washington.edu/uwill/research101/finding05.htm
Call numbers http://honolulu.hawaii.edu/legacylib/callno.html
Call numbers http://library.canterbury.ac.nz/infolit/tutorials/callnumbers2.shtml

Chapter 4 Reference sources
Reference collections
Lists of reference books
What is encyclopedia?
An encyclopedia or encyclopaedia is a book or series of books that contain general information about many topics or areas. The world encyclopedia comes from the Greek enkyklia paideia, which means "a general knowledge." The word has been in use for at least 500 years, and used in print for the first time in Encyclopaedia, or Knowledge of the World of Disciplines, which was published in 1559.

The first encyclopedia per se was written in the first century BC by Pliny the Elder with the help of his nephew. The work consisted of 37 volumes and covered everything from anthropology and human physiology to agriculture, painting, and pharmacology. (Source)
Classic encyclopedia
The World Factbooks
eReference sources
eReference resources
Reference sources in libraries
Encyclopedia.com

Chapter 5 Databases and Online Catalog
A database is a tool for collecting and organizing information. Databases can store information about people, products, orders, or anything else.
Databases Basics http://dotatmac.mcmaster.ca/db_basics/db_04_records.htm
Hotel Databases http://www.thocp.net/software/software_reference/databases.htm
Library Databases http://library.spu.ac.th/
OPAC (Online Public Access Catalog) http://linux01.crystalgraphics.com/view/3bc7e-YTA3M/Using_the_Librarys_Online_Catalog_flash_ppt_presentation

Chapter 6 Report Writing and Citation
Report Writing
How to write a report?
Components of Report Writing
Writing References
References : Examples
Citation
Citation styles

Chapter 7 Internet and Useful Websites
How Internet Infrastructure Works?
History of the Internet.
How the Internet works!

Chapter 8 Search engines
How search engines work?
Search engines

Chapter 9 Evaluation of information sources
Criteria
How to spot the fake website?
Evaluation in searching
Evaluation of Internet sources

Chapter 10 Information Technology
Information Age
Exhibition
History of Information Technology
Future vision of IT

Chapter 11 Information Systems
Conception of Information Systems

Chapter 12 Knowledge Management
Knowledge Management Basics

Chapter 13 Copyright and Fair Use
Copyright basics : fair use
Copyright and fair use

Chapter 14 Information Packages and Presentation
How to give a presentation?
How to make a good powerpoint?

IBC101 Class 2011
Akkarawat http://khunice.blogspot.com/
Angsuma http://annyzaazz.blogspot.com/
Attapol http://attapolyimchoy.blogspot.com/
Aoy http://aoy-kornkamon.blogspot.com/
Anny http://annyzaazz.blogspot.com/
Ananya http://anan-picnic.blogspot.com/
Anchalita http://dear-top.blogspot.com/
BewBoontun http://bewboontun.blogspot.com/
Bee http://barbebe.blogspot.com/
Build : Mananchaya http://muffinmuffy.blogspot.com/
Chanin http://chaninsic.blogspot.com/
Chutimar http://chutimar.blogspot.com/
Franco http://franco-alaniz.blogspot.com/
Grace http://gracejackson090.blogspot.com/
Gabril http://garbril.blogspot.com/
Ice/Natnicha http://gaemeci.blogspot.com/
Hand http://lvzt17.blogspot.com/
Jerry http://jerrywang-unknown.blogspot.com/
Kang http://kangtaiwan.blogspot.com/
Kittipong http://kittipong-pepe.blogspot.com/
Kyo http://my.opera.com/zhinkyo/blog, http://zhinkyo.blogspot.com/
Ken http://kencozmo.blogspot.com/
Khemisara http://rose-label.blogspot.com/
Laksameekorn http://thyoosuyusoo.blogspot.com/
Maleeya http://mareeya-leephuead.blogspot.com/
Mapring http://mapring-arjarayutt.blogspot.com/
Mayura http://miwmayura.blogspot.com/
Muttana http://debbiie-mutta.blogspot.com/
Natcha  http://natcha111.blogspot.com/
Natcha R. http://pingnatcha.blogspot.com/
Natnarin http://natnarin-chinwitee.blogspot.com/
Natta http://natta-smoodeye.blogspot.com/
Nguyen Kien Trung http://tarmpung.blogspot.com/
Nichanat http://babeblink.blogspot.com/
Noon Unchalee http://anchalee-y.blogspot.com/
Pit-arpa    http://pit-arpa.blogspot.com/                                                                       
Piyapong http://piyapong-sansniyakiat.blogspot.com/
Panchanit http://panchanityiewsawat.blogspot.com/
Phannupha Mook http://phannupha-mook.blogspot.com/
Preeyanut http://bear-bear01.blogspot.com/
Pueng http://puengkunpavee.blogspot.com/
Rada http://seasic.blogspot.com/
Rin  http://ongart-rin.blogspot.com/
Ronnarong http://kencozmo.blogspot.com/
Rose http://rose-label.blogspot.com/
Sangmukda   http://sangmukda.blogspot.com/
Saijai/Shin Shin Ku http://compeatam.blogspot.com/
Sirapob http://jpunn1.blogspot.com/
Sirilak http://bella-sirirak.blogspot.com/
Sudaporn http://noinaemgmailcom-nidnoi.blogspot.com/
Sunutcha http://bonus1992.blogspot.com/
Teerapat http://theerapatnp.blogspot.com/
Thitapa http://view-thitapha.blogspot.com/                                                                             
Thomas http://tomdrums4.blogspot.com/                          
Tookta http://barbie-ca.blogspot.com/
Yok http://yokkyzii.blogspot.com/
Yee http://yee-narumon.blogspot.com/
Yuttawit http://yuthawit.blogspot.com/
Wanthip-Jeep http://wanthip-jeep.blogspot.com/
Wanicha http://lunjeun-bee.blogsport.com/
Wannisa http://wannisa-mindmint.blogspot.com/
Worrarak http://worrarak.blogspot.com/
Wattana http://chaneeinter.blogspot.com/
Weena http://weenasic.blogspot.com/  
Ubonwan http://mai-maimini.blogspot.com/

Tuesday, July 26, 2011

ห้องสมุดสวยด้วยฝีมือคน

ห้องสมุดสวยๆด้วยฝีมือคน เป็นมรดกทางปัญญาของมวลมนุษยชาติ

เมื่อผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาสาระจากแหล่งข้อมูลในห้องสมุดได้ขนาดนี้  การอ่านช่วยเพิ่มพูนความรู้และจินตนาการ ก็เกินพอ
แหล่งข้อมูล : ส่วนหนึ่งของเอกสารการสัมมนาห้องสมุดสร้างสรรค์ด้วยผัสสะ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม วันที่ 21 กรกฎาคม 2554

Tuesday, June 14, 2011

กรณีศึกษาฟินแลนด์

รายงานผลโครงการฝึกอบรมทางวิชาการด้านการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนานวัตกรรมที่คิดค้นเองในท้องถิ่น : กรณีศึกษาของไทยและฟินแลนด์
วันที่ 23 สิงหาคม – 23 กันยายน 2553
ณ มหาวิทยาลัยแทมเปียร์(Tampere University) ประเทศฟินแลนด์

เนื้อหาสาระที่ได้จากการฝึกอบรม

1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่สังคมความรู้
ประเทศฟินแลนด์ใช้เวลา 30 ปีในการก้าวเข้าสู่สังคมความรู้และนวัตกรรม โดยใช้ระบบรัฐสวัสดิการ การพัฒนาระบบการศึกษาที่เน้นการพัฒนาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของผู้เรียน และระบบนวัตกรรมแห่งชาติในการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสังคม เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ นโยบายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการพัฒนาระบบงานวิจัยและพัฒนา โดยให้ทุนสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาแก่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจำนวนมาก เพื่อใช้ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาไปเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมและการผลิต การพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และการส่งออกที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาของคนในประเทศ จนทำให้ประเทศฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารนิวสวีคให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 จากการจัดอันดับของ 100 ประเทศ โดยการเปรียบเทียบตัวชี้วัดทางด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง ในโมเดลฟินนิชตามโปรแกรมสังคมสารสนเทศ (Information Society Program) เริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา หลังจากนั้นจึงพัฒนาเนื้อหาสารสนเทศสำหรับการเรียน (Content production) การพัฒนาการสอนครู (teacher training) และการพัฒนาการใช้สารสนเทศของผู้ใช้บนระบบเครือข่าย
นอกจากนี้ประเทศฟินแลนด์ได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมสารสนเทศ (Finnish model of the information society) ในปี พ.ศ. 2538 และ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541ได้พัฒนาแผนกลยุทธ์ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้และความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (national innovation system) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงเป็นอันดับต้นของโลก โมเดลฟินแลนด์ได้แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของระบบรัฐสวัสดิการกับความสามารถทางแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือประชากรฟินแลนด์ให้ความสนใจและมุ่งมั่นในการปรับใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงผลกระทบของเทคโนโลยีและการสื่อสารต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามโมเดลฟินแลนด์
จุดเด่นของการพัฒนาโครงการวิจัยในฟินแลนด์คือ การเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ การเผยแพร่ผลงานวิจัย การมีระบบประเมินผลที่ดี มีข้อมูลเชิงสถิติเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการเชื่อมโยงงานวิจัยจากหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยโครงการวิจัยขนาดใหญ่จะมีโครงการวิจัยขนาดเล็กที่เชื่อมโยงกัน แต่ละคณะในมหาวิทยาลัยจะมีผู้อำนวยการวิจัยที่เป็นผู้ประสานงานและกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานวิจัยร่วมระหว่างสาขา แต่ละงานวิจัยจะมีหัวหน้าโครงการและนักวิจัยอยู่ในทีม ซึ่งนักวิจัยแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานวิจัยคนละเรื่องที่สัมพันธ์กันในกลุ่มวิจัย เรียกว่า research group จะเห็นว่าในแต่ละคณะจะมีตำแหน่งนักวิจัยจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนางานวิจัยโดยเฉพาะ ทำให้มีบทความวิจัยที่นำลงเผยแพร่ในวารสารที่มีการอ้างอิง(impact factor)ปีละประมาณ 8,000 บทความ และมีการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ใหม่เฉลี่ยปีละประมาณ 2,000 รายการ
ตัวอย่างของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนวัตกรรมในฟินแลนด์เช่น Aalto University เป็นการรวม 3 ศาสตร์เข้าด้วยกัน ในลักษณะการทำวิจัยร่วมกันในด้านการออกแบบและศิลปะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านเศรษฐศาสตร์ โดยมีแผนในการก้าวเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก(world class university)ในอีก 10 ปีข้างหน้า
จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนานวัตกรรมคือความคิดใหม่หรือความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากสารสนเทศ ความรู้ ซึ่งมีทั้งสารสนเทศทั่วไป และสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ป้อนเข้าสู่อุปกรณ์รับข้อมูลโดยมีผู้รับและผู้ส่งข้อมูล คือสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการประมวลผลและสามารถแสดงผลออกมาตามคำสั่งที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์ การที่จะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้นั้น ต้องป้อนข้อมูลที่เป็นสารสนเทศและความรู้เข้าสู่ระบบสมองเพื่อให้เกิดการประมวลผลในการสร้างความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่ หากสารสนเทศเป็นปัจจัยนำเข้าของสังคมความรู้ นวัตกรรมก็เป็นเป้าหมายหรือผลลัพท์ของสังคมความรู้ ดังนั้นทุกประเทศจึงให้ความสำคัญกับการเป็นสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้เช่นเดียวกับที่องค์การยูเนสโก ได้ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันของสังคมสารสนเทศและความรู้ของประชาชน ไม่ให้เกิดช่องว่างทางสารสนเทศ (เช่นการมีห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ที่ดีในทุกชุมชน) และช่องว่างดิจิทัล (Digital divide) ส่วนสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่ระบบนวัตกรรมแห่งชาติส่วนใหญ่นั้นเป็นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ (scientific information) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา จึงจะเป็นสารสนเทศที่สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์จึงควรจะเข้าถึงได้ง่ายอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับสู่สังคม จึงกล่าวได้ว่าในสังคมสารสนเทศ สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะ (public goods) ที่ประเทศฟินแลนด์ให้ความสำคัญอย่างมากทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ

2.ด้านการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดการความรู้ในที่นี้ หมายถึง กระบวนการจัดเก็บความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในสังคมอย่างเป็นระบบ การจัดการระบบความรู้ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนานวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง สารสนเทศท้องถิ่นที่เป็นองค์ความรู้ของชุมชนที่ใช้การดำรงชีพและการพัฒนาสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี
หากมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดความรู้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและการพัฒนาเศรษฐกิจ
การจัดการความรู้ในประเทศฟินแลนด์มี 2 ส่วนคือ ส่วนที่จัดเก็บไว้ถ่ายทอดความรู้ในห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ และส่วนที่ถ่ายทอดความรู้ในระบบสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ส่วนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา และการแสดงพัฒนาการของภูมิปัญญาที่คนแต่ละรุ่น จะถ่ายทอดผ่านเอกสารและสิ่งของที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ของคนในแต่ละรุ่น มีอยู่ในห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศ มีสื่อการอ่านและแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ในทุกชุมชนเช่นในห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยมีจำนวนผู้ใช้ห้องสมุดเปอร์เซ็นต์สูงที่สุดของโลก ร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด เฉลี่ยเข้าใช้ห้องสมุด 11 ครั้งต่อปีและยืมทรัพยากรห้องสมุดอย่างน้อย 19 รายการ จากทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด 40 ล้านรายการ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย 20 แห่ง ห้องสมุดประชาชน 319 แห่ง ห้องสมุดสาขา 496 แห่ง และห้องสมุดเคลื่อนที่ 155 แห่ง และพิพิธภัณฑ์ที่แสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นมีจัดแสดงและเผยแพร่ในทุกๆเมืองที่สะท้อนความรุ่งเรืองหรือจุดเด่นของชุมชนในแต่ละด้าน รวมถึงการอนุรักษ์มรดกโลกในฟินแลนด์ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและท่องเที่ยว 7 แห่งได้แก่
• Verla Groundwood and Board Mill
• Fortress of Suomenlinna
• Petäjävesi Old Church
• Old Rauma
• Bronze Age Burial Site at Sammallahdenmäki
• Struve Geodetic Arc
• the Kvarken Archipelago
ส่วนการจัดระบบสารสนเทศที่เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตเช่น สถิติฟินแลนด์ เป็นการรวบรวมสารสนเทศทางเศรษฐกิจในทุกๆด้านเพื่อประโยชน์ในการวิจัยและวางแผนเพื่อการพัฒนา เป็นข้อมูลที่แสดงถึงพัฒนาการของประเทศในแต่ละด้าน รวมถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐและการเข้าถึงสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าการจัดการความรู้โดยการจัดการสารสนเทศในองค์การมีการจัดทำอย่างเป็นระบบ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย ถือเป็นกระบวนการเผยแพร่ความรู้ที่ชัดเจนและทั่วถึง
การที่ประเทศฟินแลนด์ก้าวมาถึงเป้าหมายของการพัฒนาได้นั้น มาจากมรดกทางการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น ยังมุ่นเน้นการอนุรักษ์และวัฒนธรรมของชาติที่มีเอกลักษณ์ ไม่ลอกเลียนแบบโมเดลการพัฒนาของชาติใด แต่ยึดมั่นในความเชื่อของการพัฒนาคุณภาพของคนตั้งแต่เกิด ได้แก่
ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เท่าเทียมกันในทุกโรงเรียน ที่เน้นความเข้าใจในการเรียนที่นำมา ใช้งานได้ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาคุณภาพของครู การดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ความสัมพันธ์ที่ดีของครูและผู้ปกครอง การใส่ใจในเด็กที่มีปัญหาในการเรียน การมีระบบการเรียนรู้ที่เน้นผลสัมฤทธ์หรือความเข้าใจในเนื้อหา โดยมี ตัวอย่าง เช่น
- การศึกษาของครู คนที่สอบเข้าเรียนวิชาครูเป็นกลุ่มนักเรียนมัธยมปลายที่เรียนดีที่สุดที่ต้องการประกอบอาชีพครูและมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู โดยรับนักศึกษาเพียงร้อยละ 10 ของผู้ที่มาสมัคร นักศึกษาเหล่านี้จะได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ความสามารถและภาวะผู้นำสูง สำหรับครูประจำชั้นในระดับประถม (class teacher) ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท เช่นเดียวกับครูประจำวิชาในระดับมัธยม (subject teacher)
- หลักสูตรการศึกษาและยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาจะมาจากระดับชาติ โรงเรียนและองค์กรบริหารท้องถิ่นมีอำนาจความรับผิดชอบที่จะพัฒนาวิธีการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น ครูเลือกหนังสือเรียนและเลือกวิธีการสอนได้เอง มีการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นเพื่อปรับปรุง ด้านการสอนอย่างเป็นระบบ วิชาที่เริ่มเรียนในระดับประถม 2 ปีแรกคือคณิตศาสตร์เบื้องต้นและภาษาประจำชาติ(คือภาษาฟินนิชหรือสวีดิช) เน้นทักษะการอ่าน การเขียนและเลขคณิต เมื่อเข้าใจภาษาดีแล้วในปีที่ 3 จึงเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ 1 ภาษาเช่นภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน เมื่อเรียนระดับประถทศึกษาปีที่ 5 จีงเลือกเรียนภาษาต่างประเทศได้อีก 1 ภาษา โดยเน้นทักษะความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
- การสอบประเมินผลนักเรียนโดยครูประจำชั้นเป็นการประเมินสิ่งที่ผู้เรียนแต่ละคนได้เรียนรู้ตามความถนัดของตนและดูความก้าวหน้าเพื่อช่วยชี้แนะให้ผู้เรียนปรับปรุงตัวเอง มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนรับผิดชอบในการประเมินตัวเอง รู้จักตัดสินใจ และเรียนรู้ที่จะวางแผนในชีวิตของตัวเอง ว่าควรจะเรียนต่อหรือประกอบอาชีพใด ดังนั้นจึงมีการสอบมาตรฐานระดับชาติเพียงครั้งเดียวในจบชั้นมัธยมปลายซึ่งเป็นการสอบเพื่อวัดการบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าสอบได้ตามเกณฑ์สามารถนำไปใช้ในการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันโปลีเทคนิค
- วัฒนธรรมการนับถือครูและให้ความสำคัญกับการศึกษา ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสงบและมีวินัยเอื้อต่อการเรียน นักเรียนเชื่อฟังตั้งใจเรียน ครูสอนให้นักเรียนมีบทบาทในการเรียนด้วยตนเอง และส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง โดยครูไม่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีความรู้และทักษะพื้นฐานเท่านั้น แต่คอยส่งเสริมให้นักเรียนสนใจใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
นอกจากนี้ยังเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ในกระบวนการการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการแก้ปัญหา การค้นหาสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีเทคนิค ดังนี้
- ทักษะการรู้สารสนเทศ (information literacy, e-Literacy หรือ transliteracy) ซึ่งเป็นความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในกระบวนการของการกำหนดประเด็นที่ศึกษา รู้วิธีการค้นหาสารสนเทศ รู้แหล่งข้อมูล รู้จักเลือกสารสนเทศที่ตรงกับเรื่องที่ศึกษา รู้จักประเมินผลสารสนเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ และนำมาสร้างเป็นความรู้ใหม่ การแทรกทักษะการรู้สารสนเทศในการปฐมนิเทศนักศึกษาและหลักสูตรวิชาการสัมมนาในทุกสาขาวิชา โดยมีแบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศ (Information literacy proficiency tests) ที่พัฒนาโดยแต่ละมหาวิทยาลัย
- การสอนแบบตั้งคำถาม (inquiry-based learning) ในการสอนทักษะการรู้สารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เป็นการสอนที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนหาคำตอบเอง จากการค้นคว้า การอ่าน และการเขียนตามความเข้าใจ และมีการทดสอบผ่านการเขียนที่เรียกว่าการเขียนจากการอ่านหนังสือ (literature exam) ทั้งนี้ทักษะการรู้สารสนเทศ ซึ่งรวมถึงทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) มีความหมายกว้างกว่าทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ict skill)
- การสอนและการสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยครู มีความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างเครื่องมือทางเทคโนโลยีเป็นส่วนสนับสนุนความเข้าใจในการเรียนและกระตุ้นความสนใจในการเรียน ปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาความสมดุลย์ระหว่างการสอนของครูและการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีในการสร้างความรู้ใหม่ของผู้เรียน
3.ด้านเครือข่ายความร่วมมือ
ประเทศฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในทุกด้าน เช่นเครือข่ายความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยที่มีนักวิจัยทำงานร่วมกันจำนวนมาก ทำให้การนำผลการวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัติทำได้จริงและเป็นรูปธรรม เช่นตัวอย่างของการวิจัยร่วมของมหาวิทยาลัยกับบริษัทโนเกียในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
จากการไปเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางวิชาการครั้งนี้ ภาควิชาสารสนเทศศึกษาของมหาวิทยาลัยแทมเปียร์ ได้มีหนังสือยินดีร่วมมือในการให้คณาจารย์และนักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตมาทำวิจัยระยะสั้น และความร่วมมือในการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยด้านสารสนเทศศาสตร์แก่นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตของแขนงสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รายงานสรุป โดย น้ำทิพย์ วิภาวิน

Monday, November 22, 2010

Monday, August 16, 2010

สินค้าส่งออกสำคัญ 15 รายการแรกของไทย ปี 2548-2552

สินค้าส่งออกสำคัญ 15 รายการแรกของไทย ปี 2548-2552
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
2 อัญมณีและเครื่องประดับ
3 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
4 แผงวงจรไฟฟ้า
5 ข้าว
6 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
7 เม็ดพลาสติก

8 เคมีภัณฑ์

9 ผลิตภัณฑ์ยาง

10 ยางพารา

11 น้ำมันสำเร็จรูป
12 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

13 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
14 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ
15 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าของไทย