ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายกฟ้อง ไม่เพิกถอนกฎหมายแปรรูป PTT
ศาลปกครองสูงสุดตัดสินปตท.โอนระบบท่อก๊าซคืนคลัง แต่ไม่เพิกถอนจากตลาดหุ้น
ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาว่า คุณสมบัติของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หลังการแปรรูป ปตท.เป็นบริษัทมหาชน ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงขั้นตอนในการแปรรูป ปตท. เป็นบริษัท มหาชน ก็ถูกต้องตามกฎหมายด้วยเช่นกัน (แหล่งข้อมูล)
จากแหล่งข้อมูลมติชน
เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษา คดีที่กลุ่มเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคยื่นฟ้องให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) 2 ฉบับที่ใช้ในการแปรรูปบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลา ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าพ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544ได้โอนอำนาจการเวนคืนที่ดินตามพ.ร.บ.การปิโตรเลียม ให้กับบริษัท ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลเอกชนทั้งที่อำนาจเวนคืนที่ดินเป็นอำนาจมหาชนของรัฐแม้ต่อมาคณะรัฐมนตรีจะออกพ.ร.ฎแก้ไขจำกัดอำนาจของบริษัท ปตท.ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานในการกำหนดอำนาจการเวนคืนที่ดินจะต้องตราเป็นพ.ร.บ.ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายบริหารให้การออกพ.ร.ฎ. ดังนั้นพ.ร.ฎ.ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับที่ดินที่มีการเวนคืนจากจังหวัดระยองจนถึงจังหวัดสมุทราปราการจำนวน 106 แปลง เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ เพื่อวางระบบท่อก๊าซเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐในการเวนคืนดังกล่าวที่ดินที่เวนคืนจึงเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดินเป็นที่ราชพัสดุ แต่บริษัท ปตท. มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนการจะโอนที่ดินไปให้บริษัท ปตท.ได้จะต้องตราเป็น พ.ร.บ.เท่านั้น ดังนั้นที่ดินดังกล่าวต้องอนกลับคืนให้เป็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งทางบริษัท ปตท.ก็ได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงค์ที่จะคืนที่ดินดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลังสำหรับกรณีโครงการขนส่งระบบท่อก๊าซทั้งหมด 3 โครงการ คือ ระหว่างบางปะกง-ราชบุรี, ชายแดนไทยพม่า-จ.ราชบุรี และ จ.ราชบุรี-อ.วังน้อย จ.อยุธยา เป็นการใช้อำนาจมหาชนในการวางท่อก๊าซเหนือที่ดินของเอกชน ซึ่งระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ต่างๆเป็นการสร้างติดตรึงกับที่ดินไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่ายระบบท่อก๊าซทั้งหมดจึงเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดินจึงต้องโอนให้เป็นทรัพยสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง
ส่วนพ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลา ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ศาลปกครองพิพากษาเห็นว่าการออกพ.ร.ฎ.ดังกล่าวเห็นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากคำพิพากษาดังกล่าว บริษัทปตท.ยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปได้ แต่ต้องโอนที่ดินและระบบท่อก๊าซให้กับกระทรวงการคลัง จากแหล่งข้อมูลมติชน
ยุคน้ำมันแพง!คนไทยควรเลือกใช้อะไร ข้อมูล ปตท.
คำสั่งศาลปกครอง กรณี ปตท.